คุณควร เพิ่มลูกเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊ค หรือไม่? ทำไมลูกไม่รับแอด ?
“การเพิ่มเป็นเพื่อน” ไม่ใช่คำที่เป็นที่รู้จักกันมากนักก่อนที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่ชื่อว่า “เฟสบุ๊ค” จะเกิดขึ้นมาในยุคโลกดิจิตอล มีผู้ใช้จำนวนมาก และ ดังระเบิดเถิดเทิงในขณะนี้ การสำรวจในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีก่อนพบว่า พ่อแม่เกือบครึ่งที่มีลูกในวัยสนใจโลกดิจิตอล ซึ่งอาจจะอายุน้อยเพียงแค่ 7 ปี พยายามหลายครั้งที่จะ เป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คกับลูก แต่ไม่สำเร็จ อันที่จริงแล้วมีเพียง 52% ของเด็ก ๆ เท่านั้นที่บอกว่าได้ตอบรับคำขอการเป็นเพื่อนในสังคมออนไลน์ สรุปแล้วเราควร เพิ่มลูกเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊ค หรือไม่
เหมือนมีตัวตนลับ ๆ ในโลกออนไลน์
มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้กล่าวไว้ว่า เด็กบางคนบอกว่าการให้พ่อแม่เป็นเพื่อนบนเฟสบุ๊คก็เหมือนให้กุญแจเข้าไปอ่านสมุดบันทึกออนไลน์ เมื่อ คุณตอบรับคำขอเป็นเพื่อนแล้ว คน ๆ นั้นจะสามารถเห็นทุกอย่างเกี่ยวกับคุณ นอกเสียจากว่าคุณจะมีความรู้มากพอที่จะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้
เด็ก ๆ มักจะโพสต์รูปภาพตัวเอง และ เพื่อน ๆ พูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เข้าร่วม ไปจนถึงเรื่องเด็กหนุ่มหล่อคนนี้ และ งานเลี้ยงเมื่อสุดสัปดาห์นั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ไม่อยากให้พ่อแม่รู้ เด็ก ๆ บางคนรู้สึกปั่นป่วนเมื่อเห็นคำขอเป็นเพื่อนจากพ่อแม่ตัวเอง จนถึงขั้นเลิกเล่นเฟสบุ๊คไปเลย หรือ ไปสร้างบัญชีลับ ๆ ด้วยชื่อปลอมเพื่อ ให้สามารถเล่นเฟสบุ๊คได้โดยไม่ต้องถูกพ่อแม่ตามเจออีก
ถ้าคุณยังไม่เชื่อ ยังมีกลุ่มในเฟสบุ๊คประมาณว่า “ให้พ่อแม่อยู่ห่างเฟสบุ๊ค” หรือ “แว๊ก แม่ฉันอยู่บนเฟสบุ๊ค” ด้วยนะ
คำขอเป็นเพื่อนถูกปฏิเสธ
มีความคิดความเห็นมากมายว่าคุณควรเพิ่มลูกคุณเป็นเพื่อนบนเฟสบุ๊คหรือไม่ บทความหนึ่งในเดอะ วอล สตรีท เจอร์นอลแนะนำว่าอย่าทำเช่นนั้น เพราะ จะเป็นการเสียเวลา และ น่าอายเปล่า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกเป็นวัยรุ่นซึ่งมักจะต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้นในระดับหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้สมควรได้รับเต็ม ๆ เฉกเช่นผู้ใหญ่ก็ตาม
เป็นธรรมดาสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่อยากจะปกป้องเลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเอง แต่ ในฐานะพ่อแม่คุณก็ต้องเข้าใจด้วยว่าลูกต้องการชีวิตของตัวเองเช่นกัน และ โลกดิจิตอลก็มอบสิ่งนี้ให้กับลูกของคุณได้ในขณะที่ยังอยู่ในครอบครัวอยู่ ดังนั้นการไปเพิ่มลูกคุณเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คจึงเป็นเหมือนการเข้าไปทำลายโลกใบน้อย ๆ ในเรื่องความเป็นส่วนตัว คุณต้องจำไว้ว่า การตัดสินใจว่าจะเพิ่มลูกคุณเป็นเพื่อนบนเฟสบุ๊ค สุดท้ายแล้ว ก็เป็นการตัดสินใจส่วนตัวคุณเองที่คุณต้องตรึกตรองให้ดี
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ : ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป
หากลูกคุณยังอายุน้อยคงจะมีปัญหาเรื่องการรับเป็นเพื่อนน้อยกว่า และ นี่จะเป็นโอกาสที่ดีที่ คุณจะแสดงให้ลูกได้เห็นถึงตัวอย่างการใช้อินเตอร์เนทที่ดี เช่น คุณต้องไม่มีรูปตอนตัวเองเมาเละ หรือ มีโพสต์ที่ไม่เหมาะสมในหน้าเฟสบุ๊คคุณเอง ถ้าลูกคุณโตแล้ว หรือ เป็นวัยรุ่น การเพิ่มลูกคุณเป็นเพื่อนบนเฟสบุ๊คอาจจะช่วยให้ลูก ๆ ได้ทำความคุ้นเคยกับ ระบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของเฟสบุ๊คที่ค่อนข้างจะซับซ้อน
อย่าน้อยใจไปถ้าสุดท้ายแล้ว ลูกคุณปฏิเสธคำขอเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ ลองจับเข่าคุยกันกับลูกดีกว่าว่าการเป็นพลเมืองในโลกอินเตอร์เนทที่ดีนั้นเป็นอย่างไร
[stextbox id=”info”]
วิธีการช่วยให้ลูกคุณใช้เฟสบุ๊คอย่างปลอดภัย
- แนะนำให้ลูกคิดให้ดีว่าจะแบ่งปันอะไร กับ ใครโดยตั้งค่าผู้ที่สามารถเห็นโพสต์ได้
- ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้รัดกุม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างอยู่ในการตั้งค่าแบบส่วนตัว
- สอนลูกให้เลือกการตั้งค่าที่ลูกสามารถเห็นทุกสิ่งอย่างที่โดนแท็ก (รวมถึงรูปภาพ) ก่อนที่แท็กเหล่านั้นจะปรากฏบนหน้าเฟสบุ๊คของลูก
- ตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง รวมถึงการแท็กรูปภาพ
- บอกลูกว่าอย่าโพสต์ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน เพราะ อาจมีพวกแอบมอง (Stalker) ตามอยู่รอบ ๆ
- กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับตัวลูกเองว่าอะไรเหมาะสมสำหรับการโพสต์ ห้ามโพสต์รูปเซ็กซี่ รูปตัวเองกำลังดื่มเหล้า หรืออะไรก็ตามที่จะก่อผลเสียให้กับตัวเองได้ในอนาคต
- สอนลูกให้คิดให้ดีก่อนจะโพสต์สเตตัสอะไร หรือ แสดงความเห็นอะไรบนโพสต์ของเพื่อน
- เตือนลูกว่าเมื่อใดก็ตามที่ลูกโพสต์อะไรไปแล้วมันก็จะเหมือนคำพูดที่ออกจากปากเราไป
- ถ้าลูกสงสัย หรือ ไม่แน่ใจในโพสต์ใดก็ตาม ลบทิ้งเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้โพสต์เหล่านั้นกลับมาทำร้ายเราได้ในอนาคต
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อ เสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะ เราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : debatewise
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
8 วิธีที่เฟสบุ๊คอาจทำลายชีวิตแต่งงานของคุณได้
บทความใกล้เคียง: รับมือกับอารมณ์วัยรุ่น
บทความแนะนำ: ตั้งกฎให้ลูกเชื่อฟัง