ลูกช็อก ลูกชัก ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ต้องทำอย่างไร

ลูกช็อก ลูกชักในวัยเด็กเป็นภัยใกล้ตัว ที่ไม่มีคุณแม่ท่านไหนอยากให้เกิดขึ้น ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว  เป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกช็อก ลูกชักในวัยเด็กเป็นภัยใกล้ตัว ที่ไม่มีคุณแม่ท่านไหนอยากให้เกิดขึ้น ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว เป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้าอาการชักที่เกิดนั้น เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่าโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู อาการชักที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือชั่วคราว ยังไม่แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก แต่มีหลายสาเหตุที่ทำให้ ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัวแต่ ถ้าคุณแม่มีความรู้และศึกษาข้อมูลไว้ก่อน เมื่อเกิดเหตุการณ์ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ขึ้น คุณแม่ทั้งหลายจะได้เตรียมความพร้อมรับมือได้ค่ะ

โรคชัก ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของโรค

จากการศึกษาที่ผ่านมา ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ในเด็กเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกิดจากอาการไข้ ในเด็กอายุระหว่างอายุ 6 เดือน – 6 ปี เป็นช่วงที่ต้องระวัง เมื่อมีไข้อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้ พบได้ประมาณ 3% ของเด็กในช่วงอายุนี้ โดยที่ลักษณะอาการชักมักจะเป็นทั้งตัว คือจะมีอาการชักเกร็งทั้งตัว หรือจะมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัวก็ได้ ซึ่งจะเกิดในระยะแรกของการมีไข้ และอาการชักจะหยุดเองในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที ส่วนใหญ่จะมีประวัติชักจากคนในครอบครัว ซึ่งในเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสียจะพบความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ และมีการสูญเสียเกลือแร่มาก หรือได้รับสารเกลือแร่ขนาดที่ไม่เหมาะสม หรือมากกว่าที่ต้องการก็เป็นหนึ่งสาเหตุ และ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจาก การกระทบกระเทือนที่ศรีษะ รวมถึงการติดเชื้อของระบบประสาท เช่น ภาวะสมอง หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการชักในเด็ก

เรามาดูอาการและลักษณะของการชัก จะได้คอยสังเกตุอาการของลูกน้อยได้ค่ะ

เนื่องจากอาการชักอาจเกิดได้หลายรูปแบบ มักจะเข้าใจว่า การชักจะต้องเป็นแบบกระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว แต่ ในความเป็นจริง อาการชักอาจจะมีหลายลักษณะเช่นกัน เช่น อาการเหม่อลอยชั่วขณะ หมดสติทันทีร่วมกับอาการตัวอ่อน กระตุกเป็นครั้งคราว เกร็งผวา มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วขณะ โดยที่ไม่มีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม อาการเฉพาะที่ เช่น อาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ที่เป็นทันทีและเกิดในช่วงสั้นๆ

เมื่อทราบลักษณะอาการแล้ว มาทราบอันตรายจากการชัก

ในระหว่างที่เกิดอาการชักที่เป็นแบบทั้งตัว และมีอาการหมดสติร่วมด้วย อาจจะก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงกับร่างกายส่วนต่างๆ ได้ โดยเฉพาะศรีษะ เกิดการสำลักซึ่งอาจจะอุดกั้นหลอดลม เป็นผลทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ข้อควรระวังมากๆ คือถ้าเกิดนานมักจะควบคุมยาก และอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนอื่นๆ ได้ ขณะเกิดอาการชักที่เป็นทั้งตัว โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองนั้นน้อยมากดังนั้น ความเชื่อเมื่อก่อน ที่ว่าเมื่อเกิดอาการชักแล้วจะต้องพยายามงัดปาก หรือสอดใส่วัสดุใดๆ เข้าไปในปาก เพื่อป้องกันการกัดลิ้นนั้นไม่ถูกต้อง ในความเป็นจริงแล้ว การพยายามทำสิ่งดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตราย ทั้งแก่เด็กที่กำลังชักและผู้ที่กระทำค่ะ

ดังนั้นคุณแม่ควรทราบ การปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเกิดอาการชัก

สติคือเรื่องที่สำคัญที่สุดค่ะ ผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ต้องตั้งสติให้มั่นจัดท่าให้เด็กอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยจากการชัก

อาการชักจากการเป็นไข้
  1. ลักษณะอาการชักจากไข้สูง

เด็กจะเริ่มไม่สบาย โดยอาจมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระบ่อย ซึมลง มีไข้สูง และชัก ลักษณะที่ชักคือตัวแข็งเกร็ง มือเท้ากระตุก ตาเหลือก กัดฟันแน่น น้ำลายฟูมปาก ไม่รู้สึกตัว อาจมีอาเจียนหรือปัสสาวะ อุจจาระขณะที่กำลังชัก โดยอาการชักมักจะกินเวลาไม่เกิน 15 นาที แต่ในรายที่ชักอยู่นาน ใบหน้า ริมฝีปาก และมือเท้า จะเขียวจากการขาดออกซิเจน

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever หรือ dengue shock syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม flavivirus และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ

  1. อาการของไข้เลือดออกในเด็ก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก (ระยะไข้สูง)

ระยะนี้มักไม่ค่อยมีอาการจำเพาะ เด็กจะมีไข้สูงและเป็นหลายวัน (ประมาณ 5-6 วัน) โดยอาจมีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในช่วงฤดูไข้เลือดออก หากลูกมีไข้สูงหลายวัน คุณพ่อคุณแม่ควรนึกถึงการติดเชื้อไข้เลือดออกด้วยเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์ ไม่ควรพยายามรักษาเอง และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร รวมถึงเลือดไม่แข็งตัวเมื่ออาการของไข้เลือดออกเป็นรุนแรงถึงขั้นระยะช็อกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย อาจเสี่ยงกับอาการช็อกได้)

ผู้ป่วยมักมีไข้มาแล้วหลายวัน อาการทั่วไปจะดูเพลียมากขึ้น อาจมีอาการปวดเมื่อยตัวมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหน้า-ฝ่ามือ-ฝ่าเท้าดูแดงๆ ในช่วงนี้เด็กบางคนอาจพูดคุยได้ดี แต่ก็ยังต้องคอยตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ บ่อยๆ ร่วมกับดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไปเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละช่วงของวัน ในบางรายอาจมีอาการท้องอืดมากขึ้น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลงเป็นอุณหภูมิปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าเด็กกำลังจะหายจากไข้เลือดออกแล้ว ทั้งๆ ที่เด็กอาจกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่จะมีความรุนแรงตามมาในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ก็ได้

  • ระยะฟื้นตัว

เป็นระยะหลังไข้ลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองที่เคยซึมรั่วไปอยู่ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ จากนั้นในอีก 48-72 ชั่วโมงต่อมาจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่าหายเป็นปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มมีความอยากอาหารบ้าง อาการปวดท้องและท้องอืดจะดีขึ้น รู้สึกมีแรงมากขึ้น มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าโดยไม่มีการลอกตัวของผิวหนัง

  1. ชักในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อ

มาดูอาการชักในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อ อาการชักที่เกิดจากไข้สูงในเด็ก โดยที่สาเหตุของไข้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อในสมอง หรือความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่หรือจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และไข้ออกผื่น หรือการติดเชื้อจากไวรัสต่างๆ เป็นต้น โดยสามารถพบได้ร้อยละ 2-5 ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 15 ปีค่ะ

การปฐมพยาบาลเด็กเบื้องต้น จากอาการชัก

  • การปฐมพยาบาลเด็กที่กำลังชัก
  • จับให้นอนตะแคง ไม่หนุนหมอน หันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
  • คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  • ห้ามใช้ช้อนหรือวัตถุอื่นๆ หรือนิ้วมืองัดปาก และห้ามป้อนยาหรือน้ำทางปาก ในขณะที่เด็กไม่รู้สึกตัว
  • เช็ดตัวด้วยน้ำจากก๊อกประปา หรือน้ำอุ่น ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์
  • นำเด็กส่งโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าสาเหตุของการชักเกิดจากไข้สูง หรือจากสาเหตุอื่นๆ เช่นการติดเชิ้อในสมองซึ่งต้องรักษาที่ต้นเหตุด้วย
  • การปฐมพยาบาลเด็กที่มีไข้สูง
  • รับประทานยาลดไข้กลุ่ม พาราเซตามอลได้ ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
  • เช็ดตัวด้วยน้ำประปาหรือน้ำอุ่น
  • ขณะเช็ดตัว ควรปิดพัดลม หรือปิดเครื่องปรับอากาศ

สำหรับวิธีการเช็ดตัว ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดใช้ผ้าขนหนูขนาดเล็กชุบน้ำให้ชุ่มพอสมควร แล้วเช็ดชโลมให้ทั่วตั้งแต่ใบหน้าลำคอลำตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แขนและขา ทำซ้ำหลายๆครั้ง ขณะที่เช็ดตัวให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำที่บริเวณหน้าผาก รักแร้ และขาหนีบไว้ด้วย ถ้าปลายมือ ปลายเท้าเย็น ควรใช้น้ำอุ่นประคบ กรณีไข้ไม่ลดลงควรไปพบแพทย์

ขั้นตอนการรักษาเมื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาล

  1. เนื่องจากการชักจากไข้นั้นพบเจอได้ง่ายกว่าอาการชักรูปแบบอื่น แพทย์จะรักษาสาเหตุของไข้ก่อน ว่าเป็นไข้ชนิดไหนนะคะ และให้ยาเพื่อหยุดอาการชักพร้อมกันไปด้วย ถ้ามีอาการชักซ้ำบ่อยจะแนะนำให้ใช้ยาป้องกันการชักซ้ำ ซึ่งให้เฉพาะเวลาที่มีไข้ ที่ใช้เวลานี้คือยา DIAZERAM ให้เวลามีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ซึ่ง การให้ยาป้องกันการชักระยะยาวจะให้ในผู้ป่วยที่ชักบ่อยมาก หรือชักนานในแต่ละครั้ง โรคลมชัก แพทย์จะให้ทานยากันชัก โดยให้กินยาสม่ำเสมออย่างน้อย 2 ปี หลังจากการชักคร้งสุดท้อย เมื่อสามารถควบคุมอาการได้จะค่อยๆ ลดยาและหยุดยาลงภายใน 3-6 เดือน การชักจากสาเหตุอื่นๆ ให้การรักษาตามสาเหตุ

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะนี้

  • อาการชักจากไข้นี้พบว่า มีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีประวัติชักจากไข้จะมีโอกาสชักจากไข้สูงมากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติชักจากไข้
  • โดยทั่วไปแล้ว การชักจากไข้สูงไม่ได้ทำให้เกิดสมองพิการ เด็กจะมีความสามารถในการเรียนและสติปัญญา (IQ) เหมือนเด็กทั่วไป
  • การเกิดชักซ้ำจากไข้ โดยทั่วไปแล้วโอกาสเกิดการชักซ้ำพบร้อยละ 30 และมักเกิดภายใน 2 ปีแรก
  • การป้องกันการชักซ้ำ เมื่อเริ่มมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้แล้วมาพบแพทย์ ส่วนการให้ยากันชักอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลและผู้ปกครองต้องเข้าใจวิธีการบริหารยากันชักอย่างถูกต้อง

ที่มา : sukumvithospitalmanarom

บทความประกอบ : ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?

เมื่อเด็กมีอาการชักเรื้อรัง อาการชักที่เกิดนั้น เรียกว่า โรคลมชัก หรือลมบ้าหมู

การดูแลเมื่อเด็ก เกิดอาการชัก

อาการชักที่เกิดนั้น เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่าโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู โรคลมชัก เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้เป็นพ่อแม่ ที่ประสบปัญหาลูกเป็นโรคลมชัก กังวลว่าลูกจะต้องทนใช้ชีวิตอยู่กับอาการชักที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ และที่สำคัญกลัวว่าจะเป็นอันตรายถึงชีวิตน้อยๆ ของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของโรคลมชัก เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของคลื่นไฟฟ้าสมองที่ออกมาจำนวนมากพร้อมๆ กันทีเดียว จึงทำให้มีอาการแสดงของโรคลมชักเกิดขึ้น

  • ทำไมจึงเป็นโรคลมชักในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยทั่วไปพบว่าสาเหตุของโรคลมชักมักมาจากปัจจัยที่สำคัญคือ กรรมพันธุ์ หรือการที่สมองเคยได้รับภยันตรายต่างๆ มาก่อน เช่น จากภาวะขาดออกซิเจนในระหว่างขณะคลอด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ การติดเชื้อของระบบประสาท และเด็กบางรายที่มีความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่กำเนิด เด็กที่เป็นโรคลมชักจากสาเหตุเหล่านี้ มักจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองผิดปกติตามมาด้วย นอกจากนี้สภาพแวดล้อมบางอย่างก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น แสงไฟ วูบๆ วาบๆ เป็นจังหวะ ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง

  • เรามาดูว่าโรคลมชักมีอาการอย่างไร เพื่อสังเกตุอาการของลูกน้อย

จากการศึกษาพบว่า อาการชักมีหลายชนิด ชนิดที่เกิดบ่อยในเด็กคือ อาการชักทั้งตัว เวลาชักจะเกร็งกระตุกนาน 2-3 นาที โดยตัวเองไม่รู้ตัว จำเหตุการณ์ไม่ได้ คนทั่วไปมักเรียกอาการชนิดนี้ว่า “ลมบ้าหมู”

“ชักเหม่อ” เป็นอีกหนึ่งอาการชักที่ไม่ควรมองข้าม เป็นครู่เดียวไม่เกิน 30 วินาทีก็หาย บางรายมีอาการชักเฉพาะที่แบบรู้ตัว เช่น มีอาการกระตุกที่แขน ขา หรือหน้า ผู้ป่วยจะรู้ตัวและบอกเล่าอาการได้ บางรายอาการชักเป็นแบบทำอะไรซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายมีอาการชักหลายรูปแบบได้ หลังชักผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มึนงง ต้องการพักผ่อนที่มากกว่าเดิม

การวินิจฉัยโรคลมชักสำหรับผู้ที่เห็นเหตุการณ์

ข้อมูลการชักของผู้เห็นเหตุการณ์หรือคนใกล้ชิดสำคัญที่สุด เพราะว่าผู้ป่วยที่มีอาการชักบางรายไม่รู้สึกตัว ดั้งนั้นคนที่เห็นเหตุการณ์ต้องสังเกตรายละเอียดว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้าง มีอาการขณะตื่นหรือหลับ มีอาการนานเท่าไหร่ หลังจากมีอาการผู้ป่วยเป็นอย่างไรมีการกระพริบตา เคี้ยวปาก พูดพึมพำ เกร็ง กระตุกอวัยวะส่วนไหน และต้องดูให้แน่ใจว่าคนไข้รู้สึกตัวหรือไม่

ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก การวินิจฉัยโรคลมชักนอกจากประวัติและการตรวจร่างกายแล้ว ยังมีเครื่องมือต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) เพื่อช่วยสนับสนุนการวินิจฉัย

ขั้นตอนการรักษา

ผู้ป่วยประมาณ 70-80% สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ปัจจุบันโรคลมชักส่วนหนึ่งสามารถรักษาได้ ตามมาตรฐานทั่วไปจะรักษาโดยการใช้ “ยากันชัก” ผู้ป่วยต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ แต่ก็มีบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อยา ปัจจุบันผู้ป่วยโรคลมชักบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่จะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อดูว่าผู้ป่วยเหมาะสมที่จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดหรือไม่ แล้วหากเข้ารับการผ่าตัดจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกรายค่ะ

เรามาดูอาการช็อกในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไรและรักษาได้อย่างไร

การช็อก มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายระทึกขวัญ เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือโศกนาฏกรรม ย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนทางจิตใจจนอาจเกิดภาวะ “ตกใจ”และ”หวาดกลัว” กลายเป็นคนตกใจง่ายจากเสียงดัง ขาดสมาธิและมักจะมีอาการเงียบ สับสน งง อารมณ์เฉยชา ขาดการตอบสนอง หากไม่ได้รับการเยียวยา ดูแลหลังเกิดเหตุการณ์อันเลวร้ายในทันที ไม่เป็นผลดีกับเด็กอย่างแน่นอน

อาการช็อกในเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการร่วมด้วย คือ อาการซึมเศร้า

อาการที่ปรากฏจะมีซึมเศร้าใน 2 สัปดาห์แรก เช่น ไม่ร่าเริง เบื่อหน่าย ท้อแท้ ขาดความสุข เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ สมาธิสั้น หมดแรง เหนื่อยหน่าย คิดว่าตัวเองเป็นภาระผู้อื่น เบื่อชีวิต คิดมาก อยากตายและคิดฆ่าตัวตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลต่อการเรียนหรือพัฒนาบุคลิกภาพใน ระยะยาวอย่างแน่นอน ผู้ใหญ่ต้องดูแลให้เขารู้สึกปลอดภัย มั่นคง จนค่อยๆ ดีขึ้น ทุกคนต้องช่วยกันให้ ความช่วยเหลือเขา ส่วนเด็กที่มีลักษณะกังวลมากๆ ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่ออาการทางจิตเวช เรียกว่า Posttraumatic Stress Disorder (PTSD) ซึ่งตรงนี้เป็นภาวะที่รุนแรง มีลักษณะตื่นตระหนกและตกใจง่าย เหมือนได้ยินเสียงอะไรที่ทำให้ตกใจก็จะตกใจอย่างง่าย

วันนี้ขอนำเสนอวิธีรับมือกับอาการช็อกอย่างถูกวิธีเพื่อช่วยเหลือเด็กโดยพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด ควรปฏิบัติดังนี้

1. ควรหาญาติหรือคนที่สนิทสนมคอยปลอบ ในกรณีที่เด็กสูญเสียพ่อแม่ เช่น ญาติพี่น้องที่สนิทสนมที่ยังเหลืออยู่ หรือคุณครูหรือใครก็ได้ที่เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัยได้มากขึ้น

2. พร้อมให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ประคับประคองจิตใจของเขา เช่น เขาอยากเล่าอะไร ให้เขาเล่าตามความต้องการของเขาหรือเขาจะเล่าในเรื่องของความสูญเสีย

3. สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไม่ควรถามเด็กในเรื่องที่เกิดขึ้นแบบซ้ำๆ เพราะบางครั้งผู้ใหญ่จะให้เด็กเล่าเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ วนไปวนมา ถ้าเด็กมีจิตใจค่อนข้างอ่อนไหวจะเกิดเป็นแผลที่ลึกมากขึ้น แทนที่จะเยียวยากลับกลายเป็นเกิดบาดแผลขึ้นมาแทนที่

4. ข้อควรระวัง ไม่ควรห้ามว่าอย่าไปพูดถึง อย่าไปสนใจหรืออย่าเสียใจ พร้อมเข้าหาเด็กด้วยท่าทีที่พร้อมจะเข้าใจ เพราะเป็นการปิดกั้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเช่น ตอนนี้หนูคิดยังไง รู้สึกยังไง ถ้าเด็กอยากพูด ผู้ใหญ่ต้องฟัง เมื่อเด็กได้รับความเป็นมิตรและความห่วงใยจากคนที่เข้าไปหาจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกว่ามีคนที่พร้อมจะช่วยเขาหรือเป็นที่พึ่งให้กับเขาอยู่ข้างๆ

5. เบี่ยงเบนประเด็นและความคิดของเขา ทำให้เขามีอารมณ์ที่สนุกสนาน ร่าเริงมากขึ้น ด้วยการเล่นหรือทำกิจกรรมที่สนุกสนานเพื่อสร้างความสุขและสามารถแสดงอารมณ์ผ่านกิจกรรมนั้นๆ เช่น การวาดรูป การปั้นดินน้ำมันนั่นเอง

6. สำหรับเด็กโตอาจสอนในเรื่องของการผ่อนคลาย เช่น เมื่อไรที่เขาเกิดความเครียด กลัวหรือวิตก ให้ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกการหายใจ

มาถึงตรงนี้แล้วเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงได้รับข้อมูลมากพอที่จะประคองสติยามที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ไม่ว่าจะอาการ ลูกช็อก ลูกชัก ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ไม่ว่าอาการรูปแบบไหนถ้าเป็นไปได้เราคงไม่อยากให้เกิดขึ้นจริงไหมคะ ดังนั้นอีกวิธีทางที่สำคัญคือการใกล้ชุดกับลูกน้อยให้ได้มากที่สุด และคอยสังเกตุอาการลูกน้อยอยู่ตลอดเวลาค่ะ คิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ

ที่มา : manaromvejthani

บทความประกอบ : ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล แบบไหนคุ้มค่าที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง :

ป้องกัน ลูกชัก จากไข้สูงทำอย่างไร ?

ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด

ไข้ชัก น่ากลัวแค่ไหน เรื่องจริงที่คุณแม่อยากบอกต่อ

บทความโดย

Thippaya Trangtulakan