ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากอะไร อาการเป็นยังไง แล้วอันตรายแค่ไหน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำว่า “ ติดเชื้อในกระแสเลือด” เป็นคำที่ฟังดูแล้ว ออกจะอันตรายและน่ากลัว แต่การติดเชื้อในกระแสเลือด มีข้อมูลที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่านั้น มาดูสาระ ความรู้ เกี่ยวกับการ ติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ดูน่ากลัวนี้กัน ว่ามันมีสาเหตุมาจากอะไร อาการเป็นอย่างไร แล้วมันอันตรายแค่ไหน?

 

ติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร?

การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะการติดเชื้อในเลือด ที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยผู้ที่ป่วยจากการติดเชื้อ ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จากนั้นแบคทีเรียจะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดการอักเสบในร่างกาย และทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน ส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ เมื่อร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ อวัยวะต่าง ๆ จะล้มเหลว ซึ่งกว่าครึ่งของผู้ป่วย เสียชีวิตจากภาวะอวัยวะล้มเหลว

การติดเชื้อ มักเกิดขึ้นในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ของร่างกาย แล้วทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการติดเชื้อ หรือ พิษของเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมีอันตรายต่อชีวิตในที่สุด

 

 

สาเหตุของการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

1. การติดเชื้อในร่างกาย

การติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากการติดเชื้อในส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกาย ซึ่งแบคทีเรียจะเข้าสู่กระแสเลือด และเกิดการแตกตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เกิดการติดเชื้อจากอวัยวะในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ตับติดเชื้อ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ปอด
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • การติดเชื้อบริเวณท้อง

 

2. การติดเชื้อจากภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาล

อีกสาเหตุหนึ่ง คือการติดเชื้อจาก ภาวะแทรกซ้อน ในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แล้วมีความเกี่ยวข้องกับการผ่าตัด หรือ หัตถการ ก็มีความเสี่ยงถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • ผู้ได้รับการบาดเจ็บจนเกิดแผล
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ
  • ผู้ที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • ผู้ที่ฉีดสเตียรอยด์
  • ผู้ที่ต้องสวนปัสสาวะ หรือ สอดท่อเข้าไปในหลอดเลือดดำ
  • ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • เด็กทารก หรือ เด็กเล็ก
  • คนชรา

 

อาการติดเชื้อในกระแสโลหิต

การติดเชื้อในกระแสโลหิต ผู้ป่วยมักมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หนาวสั่น มือเท้าเย็น
  • มีไข้สูง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงขึ้น จนอาจจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • หายใจถี่ หายใจเร็ว
  • ชีพจรเต้นเร็ว

หากไม่ได้รับการรักษา อาการอาจมีความทวีรุนแรงขึ้น และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • สมองตื้อ สับสน คิดอะไรไม่ออก
  • รู้สึกตัวน้อยลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ผิวหนังมีจุดแดง และผื่นอาจลุกลามใหญ่ขึ้นเป็นวงกว้าง
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • เลือดไม่ไหลเวียน อาจเกิดอาการช็อก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

1. การตรวจอาการทั่วไป

แพทย์จะทำการตรวจอาการเบื้องต้นทั่วไป ประกอบกับการดูประวัติการรักษา เช่น การวัดระดับความดันเลือด อุณหภูมิ ชีพจร และสัญญาณสุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด

2. การตรวจเลือด

แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจ เกี่ยวกับ การเกิดลิ่มเลือด การทำงานของตับ การทำงานของไต ออกซิเจนในเลือด ระดับเกลือแร่ในร่างกาย เป็นต้น

3. การตรวจสารคัดหลั่ง

แพทย์จะทำการตรวจน้ำมูก หรือ เสมหะ หากผู้ป่วยมีน้ำมูกหรือเสมหะ แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่าง โดยการตรวจวินิจฉัยจากแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

4. การตรวจสารคัดหลั่งจากบาดแผล

หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บ หรือ มีแผลติดเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งจากบาดแผล เพื่อช่วยในการจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อการรักษาที่ตรงจุด และได้ประสิทธิภาพ

5. การตรวจด้วยการสแกน

วิธีนี้ จะช่วยให้แพทย์ตรวจสภาพอวัยวะต่าง ๆ บริเวณที่มีการติดเชื้อ โดยการตรวจสามารถทำได้ ดังนี้

  • เอกซ์เรย์ : ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด ควรได้รับการเอกซ์เรย์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นสภาพของปอดมากยิ่งขึ้น
  • ซีทีสแกน : จะใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ลำไส้ ตับอ่อน หรือไส้ติ่ง ซึ่งแพทย์จะนำภาพเอกซ์เรย์เพื่อให้เห็นภาพรวมในโครงสร้าง ของอวัยวะต่าง ๆ
  • อัลตราซาวด์ : จะใช้ในผู้ป่วย ที่มีการติดเชื้อที่ถุงน้ำดี หรือ รังไข่ ซึ่งแพทย์จะทำการใช้คลื่นเสียง เพื่อช่วยสร้างภาพออกมา
  • เอ็มอาร์ไอ : การตรวจด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอ จะช่วยระบุบริเวณที่ติดเชื้อในเนื้อเยื่ออ่อนได้ ซึ่งแพทย์จะใช้คลื่นวิทยุ และแม่เหล็กไฟฟ้า ในการประมวลภาพ และสแกนโครงสร้างของอวัยวะต่าง ๆ

 

การรักษาติดเชื้อในกระแสเลือด

หากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันที โดยต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และพักฟื้นร่างกายที่หน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก ซึ่งการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สุขภาพร่างกาย อายุผู้ป่วย และ ความสามารถในการรับยารักษา โดยปกติแล้ว การรักษาประกอบด้วย การรักษาด้วยยา การดูแลตามอาการ และการผ่าตัด ดังนี้

 

1. การรักษาด้วยยา

แพทย์จะทำการให้ยาฆ่าเชื้อ ในกลุ่มเชื้อโรคที่สงสัยก่อน จากนั้นจะนำเลือดไปตรวจเพื่อหาเชื้อที่ชัดเจน แล้วจึงจะทำการปรับยา และการรักษา โดยยาที่ใช้ในการรักษา มีดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ยาปฏิชีวนะ

ในผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ครอบคลุมหลายประเภท เพราะแพทย์อาจไม่สามารถระบุประเภทของเชื้อ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ โดยผู้ป่วยรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

 

  • การให้ยาทางหลอดเลือดดำ

แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการ และให้ยาทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วย เพื่อทำการรักษาระดับความดันเลือด ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะการขาดน้ำ และไตล้มเหลว ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีนี้ ภายใน 1-2 วันหลังจากเข้ารับการรักษา

 

  • ยาเพิ่มความดันโลหิต

ผู้ป่วยที่ยังมีความดันโลหิตต่ำ แพทย์ต้องให้ยาเพิ่มความดันโลหิต โดยยาจะช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้กลับมาปกติ

 

2. ดูแลผู้ป่วยตามอาการ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มีปัญหาด้านการหายใจ จำเป็นต้องต่อท่อหรือใส่หน้ากากช่วยหายใจ

 

3. การผ่าตัด

ผู้ป่วยติดเชื้อ ที่มาสาเหตุมาจากการเป็นแผลลุกลาม อาจต้องทำการผ่าตัดเอาหนองออก หรือ ผู้ป่วยรุนแรง จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออกไป และ รักษาเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายที่ยังอยู่

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

 

1. ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด

ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย หรือ ภาวะดีไอซี อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อ เกิดภาวะเลือดในหลอดเลือดแข็งตัว โดยจะมีการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดตามร่างกาย

 

2. ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ภาวะนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะเมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับออกซิเจน และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงปอดไม่เพียงพอ ทำให้ปอดเกิดความเสียหาย และเกิดภาวะหัวในล้มเหลวเฉียบพลันได้

 

3. ต่อมหมวกไตล้มเหลว

ต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ผลิตอะดรีนาลีน สเตียรอยด์ และสารสื่อประสาทอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจทำให้การทำงานของต่อมหมวกไต เกิดการล้มเหลวได้

 

4. อวัยวะทำงานผิดปกติ

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้ว จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เช่น หัวใจ ปอด ไต เป็นต้น

 

การป้องกันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือด มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งใครที่มีความสงสัยว่าได้รับเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันที การป้องกันสามารถทำได้ ดังนี้

  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
  • หมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ
  • ระมัดระวัง เมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ

การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะอันตราย ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะภาวะนี้มีความรุนแรง และอันตรายถึงชีวิต อย่าชะล่าใจ ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเมื่อสงสัยว่ามีอาการ

 

ที่มาข้อมูล : 1 2

บทความที่น่าสนใจ :

โรคกรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร รักษายังไงไม่ให้เป็นอีก?

ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค

โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้เป็นอย่างไร โรคภูมิแพ้สามารถรักษาได้อย่างไร สาเหตุของโรคภูมิแพ้คืออะไร?

บทความโดย

Waristha Chaithongdee