ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ตรวจครรภ์ได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อคุณแม่มือใหม่เฝ้ารอคอยการมาของลูกน้อยอย่างใจจดใจจ่อ จนกระทั่งเริ่มรู้สึกตัวว่า ร่างกายของตนเองนั้นเปลี่ยนไป อาจจะไม่มากนักสำหรับคุณแม่ที่เริ่มมีอายุครรภ์ 2 สัปดาห์ แต่ก็ยังมีลักษณะบางอย่างที่ยังพอให้เราได้สังเกตได้ค่ะ ดังนั้นเราว่าเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะว่า ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร และเราควรที่จะปฏิบัติตัวอย่างไรกันบ้าง

 

การสังเกตระยะไข่ตก

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เราจะเริ่มนับตอนถึงจะรู้ว่าเรานั้น ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ หรือกี่สัปดาห์แล้ว ทางสูตินรีแพทย์นั้น เขาเริ่มนับการตั้งครรภ์ ตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ซึ่งจะถูกประเมินว่า เป็น 1 หรือ 2 สัปดาห์ก่อนที่คุณแม่จะตั้งท้องนั่นเอง

โดยทั่วไปผู้หญิงเรามักจะมีรอบเดือนในช่วงระยะ 28 วัน ดังนั้น โอกาสที่ไข่ตก จะอยู่ที่วันที่ 15 นั่นเอง ซึ่งเกณฑ์นี้ เป็นการกะเกณฑ์โดยรวม เพราะโดยปกติแล้ว ผู้หญิงแต่ละคน จะมีช่วงระยะของรอบเดือนไม่เท่ากัน ดังนั้นการสังเกตตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ

 

วิดีโอจาก : drnoithefamily

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์

อย่างที่เกริ่นมาในข้างต้นว่า การตั้งครรภ์ในระยะแรกนั้น อาการต่าง ๆ ที่เคยได้ยินมา อาจจะยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่เมื่อครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่สอง ในช่วงสัปดาห์นี้ การใช้เครื่องตรวจสอบการตั้งครรภ์นั้นสามารถตรวจสอบได้แล้วค่ะ แม้ผลที่ออกมา จะยังไม่สามารถแสดงผลออกมาได้ชัดเจนนัก เนื่องจากระดับฮอร์โมนยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่ก็ยังมีอาการให้ได้สังเกตบ้างเล็กน้อย ดังนี้

 

1. จะมีมูกออกมาจากช่องคลอด

หลายคนอาจจะกังวลใจเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งลักษณะของมูกนั้น แต่จะมีลักษณะใส ลื่น และยืดได้ คล้าย ๆ กับไข่ขาวดิบ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่าตกขาวนั่นเอง

มูกที่ออกมานั้น เป็นตัวช่วยให้เชื้ออสุจิเดินทางเข้าไปหารังไข่ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น จะพบว่ามูกมักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้ไข่ตก ซึ่งเป็นภาวะปกติของร่างกาย หากแต่ ถ้ามูกที่ออกมานั้น มีสีเข้ม หรือมีกลิ่น ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วนค่ะ

2. ปวดท้องน้อย หรือปวดท้องส่วนล่าง

โดยมากอาการนี้ มักจะเกิดช่วงระหว่างกลางของรอบเดือน เป็นช่วงระหว่างการตกไข่ หรือประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่ประจำเดือนจะมา อาจจะทำให้ตัวคุณแม่ รู้สึกปวดจี๊ดด้านใดด้านหนึ่งของท้องน้อย ซึ่งศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า Mittelschmerz

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. มีความต้องการทางเพศสูงขึ้นในบางคน

โดยมากช่วงระยะไข่ตกนี้ ร่างกายจะปรับเปลี่ยนฮอร์โมน ให้เกิดความรู้สึกของการอยากมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นกว่าปกติ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเหมือนกันทุกคนไป

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น

อุณหภูมิของคุณจะเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อคุณตกไข่ โดยจะเกิดการตั้งครรภ์ซักระยะ แล้วจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้นภายในร่างกาย

5. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังส่งผลถึงอารมณ์ได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 1-3 เดือน ที่ส่วนใหญ่ต้องเจอ!

 

6. คลื่นไส้ หรืออาเจียน

ในระยะนี้ การรับรู้กลิ่นจะไวขึ้นกว่าเดิม ทำให้จะเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เกิดความรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้  แต่อาการนี้ จะเริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 – 9

 

7. รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

เนื่องจากร่างกายมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น ก็เหมือนกับระบบภายในมีการใช้พลังงานอย่างมหาศาลในการสร้างทารก ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายที่หนัก จนทำให้เรารู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่ายกว่าเดิม ในบางราย อาจจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืด เป็นลมได้ในระยะแรก ๆ

8. ประจำเดือนขาด

เมื่อเราสังเกตได้ว่าประจำเดือนขาด โดยมากจะถูกนับเป็นการตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ระยะนี้ หากต้องการตรวจการตั้งครรภ์เบื้องต้น ก็จะสามารถทำได้ ซึ่งอาจจะเห็นผลได้ไม่ชัดเจนมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของระดับเอสโตรเจนในร่างกาย

 

9. ปัสสาวะบ่อยขึ้น

ในช่วงนี้จะเริ่มมีปัสสาวะเพิ่มขึ้น จะมีลักษณะการปัสสาวะแบบกะปริดกะปรอย แต่จะบ่อย และถี่ หลายครั้งอาจจะสร้างความน่ารำคาญให้กับตัวคุณแม่พอสมควร แต่จะเป็นลักษณะนี้เรื่อย ๆ เนื่องจาก เมื่อมดลูกเริ่มมีการขยายตัว ก็จะเริ่มบีบพื้นที่ของกระเพาะปัสสาวะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10. หน้าอกเริ่มขยาย และมีอาการเจ็บบริเวณหัวนม

ในระยะนี้หน้าอกจะเริ่มขยายขึ้น จะรู้สึกเจ็บช่วงหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณหัวนม โดยเฉพาะเวลาที่สวมใส่เสื้อชั้นใน จะทำให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองมากยิ่งขึ้นกว่าปกติ อาการนี้จะเป็นช่วง 1 – 2 เดือนแรก หลังจากนั้น อาการจะเริ่มบรรเทาลง แล้วจะมารู้สึกเจ็บอีกที ช่วงใกล้คลอด

11. มีเลือดออกเล็กน้อย

ประมาณวันที่ 5 – 10 ของการปฏิสนธิ จะมีเลือดไหลซึมออกมาเล็กน้อย แต่ไม่ใช่การมาของประจำเดือน โดยเลือดนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก การฝังตัวของไข่ ในผนังมดลูก นั่นเอง

12. ท้องอืด

เมื่อร่างกาย เริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์ จะมีการปรับเพื่อเก็บกักอาหาร เพื่อนำไปเลี้ยงตัวอ่อน (ทารก) จึงส่งผลให้ ระบบย่อยอาหาร อาจจะทำงานช้าลง จนทำให้เกิดลมในท้อง และท้องอืด ในระยะนี้ บางคนจะรู้สึกว่า ท้องเริ่มยื่นออกมา แต่ความเป็นจริงแล้ว การที่ท้องยื่นออกมานั้น ไม่ได้เกิดจากตัวอ่อน แต่หากเป็นลมในท้องที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการ ครรภ์เป็นพิษ เป็นอย่างไร สาเหตุของครรภ์เป็นพิษคือ?

 

 

ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ได้หรือไม่

สำหรับคุณแม่ที่เป็นกังวลจนอยากจะเข้ารับการตรวจอัลตราซาวนด์นั้น โดยมากทางแพทย์จะไม่นิยมตรวจให้ เนื่องจาก การตรวจอัลตราซาวนด์ ในระยะนี้ จะยังไม่สามารถเห็นถึงตัวอ่อนได้แต่อย่างใด

เนื่องจากขนาดของไข่ที่มีการปฏิสนธินั้น จะมีขนาดที่เล็กกว่าเกล็ดพริกไทยที่ถูกบดแล้ว การจะทำอัลตราซาวนด์ เพื่อสังเกตตัวอ่อนในครรภ์ จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว แต่ในระยะนี้ คุณแม่สามารถใช้วิธีการจดสถิติ เพื่อเป็นการคำนวณการตั้งครรภ์แทน หรือสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันก็จะช่วยได้ค่ะ

 

สิ่งที่ควรทำในการตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 2

  1. มองหาสัญญาณที่บอกว่าตกไข่
  2. มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวัน เมื่อใกล้ช่วงไข่ตก
  3. กินวิตามินที่สามารถช่วยในเรื่องของการตั้งครรภ์ ร่วมกับกรดโฟลิกทุกวัน

 

อุปกรณ์การตรวจการตั้งครรภ์

ทุกวันนี้นอกจากชุดอุปกรณ์สำหรับตรวจการตั้งครรภ์ ที่มีทั้งแบบจุ่ม แบบปัสสาวะผ่าน หรือแบบหยดแล้ว เนื่องจากคุณแม่ยังมีครรภ์ที่อ่อน บางครั้งการตรวจด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ อาจจะไม่สามารถบอกผลได้อย่างชัดเจนในช่วงต้น ดังนั้น การเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับคุณแม่ทั้งหลาย ที่ต้องการทราบผลที่ชัดเจน

แต่หากคุณแม่ไม่สะดวก และไม่มั่นใจในการตรวจเลือดเพื่อทดสอบ ก็ยังสามารถใช้ ที่ตรวจครรภ์ดิจิทัล ที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการตรวจการตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถบอกถึงอายุการตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้อีกด้วย โดยเครื่องตรวจครรภ์นี้ จะสามารถแสดงผลได้ถึง 4 แบบด้วยกัน คือ ไม่ท้อง, ท้อง 1-2 สัปดาห์, ท้อง 2-3 สัปดาห์ และท้อง 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยหน้าจอ จะสามารถแสดงผลอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง โดยเราสามารถถ่ายรูปเก็บไว้ เพื่อนำไปยืนยัน หรือประกอบข้อมูล เพื่อทำการฝากท้อง หรือพบแพทย์

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณยังรู้สึกไม่มั่นใจในการตรวจครรภ์ด้วยตัวของคุณเอง ก็สามารถไปที่คลินิก หรือโรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจครรภ์ด้วยวิธีอื่น ๆ ได้เช่นกัน และหากทราบผลว่าคุณตั้งครรภ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่วงระยะครรภ์อายุเท่าใดก็ตาม การฝากครรภ์ที่เร็วที่สุด เป็นสิ่งจำเป็น เพราะยิ่งฝากครรภ์ได้เร็ว ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ของคุณ ก็จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และตัวเราเองก็สามารถระมัดระวังทั้งเรื่องอาหาร และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมเช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร สามารถอัลตราซาวนด์ได้หรือไม่

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

อาการเหมือนคนท้อง แต่ไม่ท้อง คุณแม่เคยเป็นกันไหม

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการคนท้อง 2 สัปดาห์ ได้ที่นี่!

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ เป็นไงบ้างคะ เริ่มแพ้ท้องรึยัง

ที่มา : healthline, mamastory

บทความโดย

Arunsri Karnmana