เซ็บเดิร์มคืออะไร เซ็บเดิร์มมีอาการอย่างไรบ้าง รวมความรู้เกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เซ็บเดิร์ม คืออะไร เซ็บเดิร์มมีอาการอย่างไรบ้าง รวมความรู้เกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม

 

โรคเซ็บเดิร์ม ( Seborrheic Dermatitis ) เป็นภาวะผิวหนังทั่วไปที่ส่งผลต่อหนังศีรษะของคุณเป็นหลัก ทำให้เกิดเป็นขุย ผิวหนังแดง และรังแคที่ดื้อดึง โรคผิวหนังอักเสบจากไขมัน Seborrheic ยังสามารถส่งผลกระทบต่อบริเวณที่มีความมันของร่างกาย เช่น ใบหน้า ด้านข้างของจมูก คิ้ว หู เปลือกตา และหน้าอก โรคเซ็บเดิร์มอาจหายไปโดยไม่ต้องรักษา หรือคุณอาจต้องรักษาหลายครั้งก่อนที่อาการจะหายไป และโรคเซ็บเดิร์มอาจจะกลับมาในภายหลังได้ การทำความสะอาดทุกวันด้วยสบู่ และแชมพูสูตรอ่อนโยนสามารถช่วยลดความมัน และการสะสมของผิวที่ตายแล้วได้

 

เซ็บเดิร์ม คืออะไร

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยมากปรากฎในลักษณะผื่นแดง คัน และเป็นสะเก็ดรัังแคบนหนังศีรษะ ส่วนตามบริเวณร่างกายเองก็สามารถที่จะขึ้นได้เช่นกัน บริเวณที่มักจะเกิดจะเป็นส่วนที่มีความมัน เช่น ใบหน้า หน้าอก หลัง เป็นต้น ทั้งนี้ โรคเซ็บเดิร์มอาจจำให้เกิดการสับสนกับโรคสะเก็ดเงิน อาการภูมิแพ้ หรืออีสุกอีใสได

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม นอกจากบริเวณศีรษะที่พบได้บ่อยแล้ว โรคเซ็บเดิร์มยังสามารถที่จะเป็นตามผิวหนังบริเวณที่มีความมันได้ เช่น ใบหน้า รอบ ๆ จมูก เปลือกตา รวมไปถึงบริเวณลำตัว ได้แก่ ข้อพับ แขนขา กลางหน้าอก รอบสะดือ สะโพก และขาหนีบ โดยอาจจะสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ผิวหนังเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาว หรือสีเหลือง หรือว่ามีสะเก้ดแข็งบนหนังศีรษะ ใบหน้า ใบหู หน้าอก รักแร้ ถุงอัณฑะ หรือตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ผิวหนังมีอาการตกสะเก็ดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มเส้นผม คิ้ว หนวด หรือเครา
  • มีอาการเปลือกตาอักเสบ มีการแดง หรือมีสะเก็ดแข็งติดผิวหนัง
  • มีอาการคัน แดง ผิวหนังลอกเป็นขุยสีขาว หรือสีเหลือง และผิวดูมัน
  • อาจมีอาการปวด หรือคันร่วมด้วย

 

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์มทางแพทย์ยังไม่สามารถที่จะระบุถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดได้ แต่ได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พันธุกรรม
  • ความเครียด
  • เชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
  • สภาพอากาศที่เย็นและแห้ง
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางชนิด รวมทั้งการใช้ยารักษาโรค

อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการเกิดเซบเดิมไม่ได้มาจากการไม่รักษาความสะอาดหรืออาการภูมิแพ้แต่อย่างใด โดยมีโอกาสเกิดกับทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 30-60 ปีได้มากกว่าวัยอื่น ๆ และยังพบในเพศชายได้บ่อยกว่าเพศหญิง รวมถึงผู้ที่มีผิวมัน นอกจากนี้การเจ็บป่วยจากโรคหรือภาวะใด ๆ ต่อไปนี้ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเซบเดิม

  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและโรคทางจิต เช่น โรคพาร์กินสัน และภาวะซึมเศร้า
  • ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอลง เช่น ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรคตับอ่อนอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง และมะเร็งบางชนิด
  • โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน เช่น เบาหวาน
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคการกินผิดปกติ
  • โรคลมชัก
  • โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • สิว
  • ยารักษาโรคบางชนิด
  • การเกา ครูดข่วน หรือการได้รับบาดเจ็บของผิวหน้า
  • ติดสุรา

 

การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

เซบเดิมเป็นโรคที่บางครั้งอาจหายไปได้เอง แต่บางครั้งเมื่อเป็นก็คงอยู่ได้ยาวนานเป็นเวลาหลายปี ผู้ที่เป็นเซบเดิมอาจเริ่มจากการลองรักษาด้วยตนเอง เช่น การดูแลผิวพรรณหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการหรือหาซื้อยาตามร้านขายยา ซึ่งก็อาจต้องทดลองใช้หลากหลายผลิตภัณฑ์จึงจะเห็นผลดีขึ้น ทั้งนี้ประสิทธิภาพของครีม แชมพู โลชั่น หรือยาแต่ละชนิดยังขึ้นอยู่กับประเภทของผิว ความรุนแรงของอาการ และผิวหนังบริเวณที่เกิดความผิดปกติ และแม้จะรักษาจนหายดีแล้วก็มีโอกาสกลับไปเป็นอีกครั้งได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปัจจัยเสี่ยง

มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคผิวหนังอักเสบจากไขมัน ซึ่งรวมถึง:

  • ภาวะทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น โรคพาร์กินสันและภาวะซึมเศร้า
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น พบในผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตับอ่อนอักเสบจากแอลกอฮอล์ และมะเร็งบางชนิด
  • การฟื้นตัวจากสภาวะทางการแพทย์ที่ตึงเครียด เช่น หัวใจวาย
  • ยาบางชนิด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อหิวาตกโรค แบคทีเรียตัวร้ายที่ไม่ใช่แค่อาการท้องเสีย เช็คอาการและวิธีรักษา

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคระบาด อดีต ปัจจุบันและอนาคต เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคระบาด

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mayoclinic , pobpad

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kittipong Phakklang