คำราชาศัพท์ หมวดกริยา คำราชาศัพท์เกี่ยวกับพระอิริยาบถต่าง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำราชาศัพท์นั้น เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้ในการแบ่งตามชั้นวรรณะของบุคคล นับว่าเป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพ ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ ข้าราชการ และสุภาพชน ก็จะมีคำที่ใช้แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราได้รวบรวม คำราชาศัพท์ หมวดกริยา คำราชาศัพท์เกี่ยวกับพระอิริยาบถต่าง ๆ มาฝากไว้เป็นเกร็ดความรู้กันค่ะ มาลองดูกันว่าคุณรู้จักคำเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนกันนะ

 

 

คำราชาศัพท์ หมวดกริยา

คำราชาศัพท์ คำอ่าน ความหมาย
พระราชดำรัส พระ – ราช – ชะ – ดำ – รัด คำพูด
ตรัส ตรัด พูด
เสด็จพระราชดำเนิน สะ – เด็ด – พระ – ราด – ชะ – ดำ – เนิน เดินไปที่ไกล ๆ
เสด็จลง… สะ – เด็ด – ลง – … เดินทางไปที่ใกล้ ๆ
พระราชนิพนธ์ พระ – ราด – ชะ – นิ – พน แต่งหนังสือ
พระกาสะ  พระ – กา – สะ ไอ
พระสรวล พระ – สวน หัวเราะ
ปรมาภิไธย ปะ (ปอ) – ระ – มา – พิ – ไท ลงลายมือชื่อ
ทรงสัมผัสมือ ทรง – สัม – ผัด – มือ จับมือ
พระเกษมสำราญ พระ – กะ – เสม – สัม – ราน สุขสบาย
พระปินาสะ พระ – ปิ – นา – สะ จาม
พระราชโองการ พระ – ราด – ชะ – โอง – กาน คำสั่ง
พระราโชวาท พระ – รา – โช – วาด คำสั่งสอน
พระราชประสงค์ พระ – ราด – ชะ – ปะ – สง อยากได้, ต้องการ
พระราชปฏิสันถาร พระ – ราด – ปะ – ติ – สัน – ถาน ทักทายปราศรัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม 70 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยมักเข้าใจผิด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำราชาศัพท์เกี่ยวกับพระอิริยาบถต่าง ๆ

คำราชาศัพท์ คำอ่าน ความหมาย
สรงพระพักตร์ สง – พระ – พัก ล้างหน้า
ชำระพระหัตถ์ ชำ – ระ – พระ – หัด ล้างมือ
เสด็จประพาส สะ – เด็ด – ปะ – พาด ไปเที่ยว
พระราชปุจฉา พระ – ราด – ปุด – ฉา ถาม
ถวายบังคม ถะ – หวาย – บัง – คม ไหว้
พระบรมราชวินิจฉัย พระ – บะ – รม -ราด – วิ – นิด – ไฉ ตัดสิน
ทอดพระเนตร ทอด – พระ – เนด ดู
พระราชทาน พระ – ราด – ชะ – ทาน ให้
พระราชหัตถเลขา พระ – ราด – ชะ – หัด – ถะ – เล – ขา เขียนจดหมาย
ทรงเครื่อง ซง – เครื่อง แต่งตัว
ทรงพระอักษร ซง – พระ – อัก – สอน เรียน, เขียน, อ่าน
ประทับ ประ – ทับ นั่ง, อยู่
ทรงยืน ซง – ยืน ยืน
บรรทม บัน – ทม นอน
กริ้ว กิ้ว โกรธ

 

คำราชาศัพท์ควรรู้

คำราชาศัพท์ คำอ่าน ความหมาย
ประชวร ประ – ชวน ป่วย
ประสูติ ประ – สูด เกิด
ทูล ทูน บอก
เสวย สะ – เหวย กิน
ถวาย ถะ – หวาย ให้
โปรด โปรด รัก, ชอบ
ทรงม้า ซง – ม้า ขี่ม้า
ทรงดนตรี ซง – ดน – ตรี เล่นดนตรี
กันแสง กัน – แสง ร้องไห้
สรวล สวน หัวเราะ
ประชวร ประ – ชวน ป่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม 52 คำทับศัพท์ภาษาไทย ใช้กันเยอะ ใช้กันบ่อย เขียนถูกหรือเปล่า ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กฎการใช้คำราชาศัพท์ในหมวดกริยา

  1. การใช้คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์ที่มีคำว่า “ทรง” ตามด้วย คำกริยา หรือคำนาม จะมีความหมายถึง กษัตริย์ หรือเทพเจ้า เช่น ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร ก็จะเป็นคำที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน ในขณะที่ทรงหงส์ จะหมายถึง พระพรหม ทรงโค หมายถึง พระอิศวร ดังนั้นคำราชาศัพท์นิยามได้ว่า เป็นการใช้กับเทพ และสมมติเทพ นั่นเอง
  2. การเปลี่ยนไปใช้คำกริยาราชาศัพท์ที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเติมคำใด ๆ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน เสวย สรง โปรด ทอดพระเนตร กริ้ว พระราชทาน ประทาน ประชวร บรรทม สิ้นพระชนม์ สวรรคต เสวย ประทับ พระราชทาน เป็นต้น
  3. การเปลี่ยนคำกริยาด้วยการประกอบคำว่า “ทรง” นำหน้า เช่น ทรงเล่น ทรงออกกำลังกาย ทรงพักผ่อน ทรงพระประชวร ทรงพระสรวล เป็นต้น
  4. คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
    • ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง เช่น เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
    • ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง เช่น ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์
  5. คำที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด ประทับ เป็นต้น
  6. คำว่า “ไป” “มา” “กลับ” “เข้า” “ออก” “ขึ้น” “ลง” จะใช้คำว่า “เสด็จ” นำหน้า เช่น เสด็จพระราชดำเนินกลับ เสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น

 

แม้จะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก และคำศัพท์ต่าง ๆ ก็แตกต่างจากที่เราใช้ทั่วไป แต่ก็ยังเป็นคำที่พวกเราคนไทย ควรรู้จักและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในการกล่าวถึงบริบทต่าง ๆ โดยเฉพาะเรามักจะได้พบเจอคำศัพท์เหล่านี้ เมื่อรับชมข่าวพระราชสำนัก ในแต่ละวันนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ คำราชาศัพท์ที่ควรเรียนรู้

50 คำศัพท์ภาษาไทย ที่คนไทยมักเขียนผิด และลูกควรเรียนรู้ไว้ก่อน

เทคนิคการจำ “กริยา 3 ช่อง” พื้นฐานภาษาอังกฤษที่สำคัญสำหรับเด็กประถม

ที่มา : lifestyle.campus-star.com, digitalschool.club

บทความโดย

Arunsri Karnmana