พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก อันไหนทำได้ อันไหนต้องห้าม

สิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก มีอะไรบ้าง มาไขคำตอบไปกับคุณหมอได้เลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแรกกังวลเหลือเกิน กลัวว่าทำโน่นทำนี่แล้วจะแท้ง! ไม่ต้องกลัวไปนะคะ คุณหมอมีคำแนะนำ พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก อันไหนทำได้ อันไหนต้องห้าม เป็นคำเตือนให้แม่ท้องระมัดระวังตัว และคำแนะนำในการดูแลสุขภาพให้ดี

พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง ของแม่ท้อง

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้สารเสพติด

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร การแท้งบุตรยังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถอ่านต่อได้ในบทความ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ลูกหลุดเกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมีหลายอย่าง ปัจจัยส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกัน หรือแก้ไขได้ เช่น อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น หรือในบางครั้งอาจไม่พบปัจจัยเสี่ยงในคุณแม่ที่แท้งบุตรเลย (โดยเฉลี่ยอาจพบการแท้งบุตรตามธรรมชาติได้ถึงร้อยละ 10-15)

การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร

  1. ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
  2. ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติ หรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
  3. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  4. ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
  5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ระมัดระวังอย่าให้ลื่นล้ม หรือมีอะไรมากระแทกท้อง ทุบท้องตอนท้อง

ท้องอ่อนห้ามกินอะไร อาหารที่แม่ท้องไตรมาสแรกต้องเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอก และแฮม, ชา และกาแฟ, น้ำอัดลม ซึ่งอาหารเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกในครรภ์
  • อาหารที่คนท้องห้ามกินเด็ดขาดคือ สมุนไพรบางชนิด เช่น ดอกคำฝอย ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ทำให้ตกเลือด คาโมมายล์ สามารถทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานมาก และควรปรึกษาแพทย์ก่อนด้วย
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค

แม่ท้องไตรมาสแรกต้องห้าม

บทความ : คลิปทารกตัวสั่นรุนแรง ลูกติดยาตั้งแต่เกิด เพราะแม่ท้องเสพยาไงล่ะ

ในบุหรี่นั้น มีสารที่เป็นอันตรายกับร่างกายทั้งของแม่ และทารกมากถึง 4,000 ชนิด และมี 60 ชนิด ที่เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท ส่งผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการตายในวัยทารก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมได้อีกด้วย

  • การดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วนด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น

แอมเฟตามีนและอนุพันธ์ ได้แก่ เมตแอมเฟตามีน (ยาไอซ์ สปีด) และ 3,4-เมทิลีนไดออกซีเมตแอมเฟตามีน (ยาอี Ectasy) จะส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กิจกรรมของคุณแม่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

สามารถทำได้ตามปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่อาจมีการกระแทก, การกระโดด และการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ดังนั้น คุณแม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิค, โยคะ และอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย

  • การมีเพศสัมพันธ์

ในการตั้งครรภ์ที่ปกติการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ดังนั้น ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย

อาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดเสียดมดลูกได้ เช่นเดียวกันกับการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน การทำงานไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

  • การทำงานในที่ทำงาน หรือทำงานบ้าน

ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือสิ่งที่อันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง, สารระเหย, โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี, รังสีจากที่ทำงาน เป็นต้น

  • ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าหากแม่ท้องมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ปวดท้องตลอดเวลา, เลือดออก หรือมีภาวะแท้งคุกคาม ให้หยุดกิจกรรมทุกอย่าง นอนพักผ่อนให้มาก และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

_________________________________________________________________________________________

source :kidshealth.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการคนท้องที่พบบ่อยในไตรมาสแรก

10 สิ่งที่คุณแม่ท้องแรกควรรู้และปฏิบัติ

คลอดก่อนกําหนดเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามคนท้องอ่อน ได้ที่นี่!

ข้อห้ามคนท้องอ่อน มีอะไรบ้างคะ กิจกรรมอะไรที่ไม่ควรทำบ้างคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา