ระบบหายใจ โรคระบบหายใจอาการเป็นอย่างไร วิธีรักษา ระบบ หายใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระบบหายใจ คือ เป็นระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายของเราจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกของร่างกายเข้าสู่ร่างกาย และขับเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูกหลอดลม ปอด กล้ามเนื้อกระบังลม และกระดูกซี่โครง

ที่มาของรูป : www.photha.ac.th

  • ปอด เป็นอวัยวะที่มีลัษณะคล้าย ๆ กับฟองน้ำ ปอมประกอบไปด้วย ถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถูกเหล่านั้นสามารถยืดหยุ่นได้และหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกของทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างปอดจะเป็นตำแหน่งของหัวใจ ปอดซีกขวาจะมีลักษณะที่ใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย โดยที่ปอดทั้งสองข้างทำงานเหมือนกันคือการฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง โดยการที่ถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O) ออก แล้วเติมออกซิเจน (O2) เข้าไป
  • จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย และทำให้รับรู้กลิ่นต่าง ๆ ภายในรูจมูกจะมีขนเล็ก ๆ บาง ๆ ทำหน้าที่ในการกรองฝุ่นละออง และเยื่อเมือกหนาอยู่คอยดักจับเชื้อโรค และประสาทสัมผัสคอยรับกลิ่นอยู่ อากาสเมื่อเราสูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูก แล้วจะลงเข้าสู่คอหอย ลิ้นไก่ จะช่วยในการปิดโพรงจมูก และช่องปากเพื่อไม่ให้อากาศนั้นไหลย้อนกลับ
  • กระบังลมและซี่โครง เป็นกลไกในการหายใจ ขณะที่ปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณที่มาก โดยที่สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง เพื่อที่จะให้กระบังลมหดตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือขณะกระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออกนั้นเอง
  • หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วของปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศ และออกจากปอด ที่ใหญ่ที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง

โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ

โรคของระบบทางเดินหายใจ และมีองค์ประกอบอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ที่มีผลต่อการหายใจ ไปดูว่ามีโรคไหนกันบ้าง

  • โรคถุงลมโป่งพอง (Ephysema) 

โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่ที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพองที่พบบ่อย ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นอาจขึ้นจากการสูดดมสิ่งที่เป็นสารพิษเข้าไป เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ

  • โรคปอดจากการทำงาน

โรคปอดดำ (Anthracosis) เกิดจากการสะสมของผงถ่านคาร์บอนในปริมาณที่มากจนเกินไป ซิลิโคซีส เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นของซิลิคอนไดออกไซด์เข้าไป ซิลิกา สารประกอบชนิดหนึ่ง  สูตรเคมีคือ  SiO2 จุดหลอมเหลว  1,700 oC จุดเดือด  2,230 oC เป็นของแข็งไม่มีสี มีโครงสร้างผลึก 5 รูปแบบในธรรมชาติอยู่ในรูปแบบของทราย

  • โรคหืด 

โรคของหลอดลมที่มีการตีบ หรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก โรคหืด มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หลอดลมที่มีการตีบ หรืออุดตันเป็น ๆ หาย ๆ การตีบ หรืออุดตันเกิดจาก กล้ามเนื้อหลอดลมหดตัว เยื่อบุมีอาการบวม มีการอักเสบ และมีเสมหะมาก

2. มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมร่วมด้วย

3.หลอดลมมีสภาพไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ควันต่าง ๆ กลิ่นที่แรง มีสารก่อภูมิแพ้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระบบการไหลเวียนเลือดของเด็กทารก เป็นอย่างไร?

กลไกการทำงานของ ระบบหายใจ

  • การหายใจเข้า (Inspiration)

กระบังลมจะเคลื่อนที่ต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเคลื่อนที่สูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดน้อยลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมของปอด

  • การหายใจออก (Expiration)

กระบังลมจะเคลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเคลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลม และออกมาทางจมูกสิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้า และ ออกคือ ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด  ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ในเลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลง เช่น การนอนหลับ ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในเลือดสูงจะทำให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
การหมุนเวียนของแก๊ส เป็นการแลกเปลี่ยน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และ แก๊สออกซิเจน เกิดขึ้นที่บริเวณถุงลมปอด ด้วยการแพร่ของแก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และแก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารในเซลล์ของร่างกาย ทำให้ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคเกี่ยวกับระบบประสาท และสมอง มีโรคอะไรบ้าง มาเช็คอาการกัน!

แหล่งที่มา : (1), (photha)

บทความโดย

chonthichak88