ก่อนหน้านี้ เคยมีงานวิจัยหนึ่งบอกเอาไว้ว่า ในทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์โลก สามารถมีชีวิตยืนยาวได้นานที่สุด อยู่ที่ราว ๆ 120 ปี แต่มีการศึกษาใหม่ ที่วิเคราะห์ชีวิตของมนุษย์ จากผลการวิจัยเม็ดเลือด กลับได้ข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยค้นพบว่า มนุษย์ สามารถมี อายุขัย ได้ยาวนานที่สุดถึง 150 ปี
ทีมนักวิจัยจากบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ เจโร (Gero) จากประเทศสิงคโปร์ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัย ในวารสารเรื่อง Nature Communications โดยระบุว่า คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ ยืนยาวได้มากสุด ราว ๆ 120 – 150 ปี และไม่สามารถเกินไปกว่านี้ได้ เนื่องจากความสามารถในการซ่อมแซม ฟื้นฟู ของเซลล์ที่มีผลต่อร่างกายได้หมดไป ในช่วงอายุดังกล่าว
ทีมวิจัย ได้ทราบถึงขีดจำกัดของมนุษย์ ด้วยการวิเคราะการตรวจนับผลเม็ดเลือด ของประชากรต่างวัย จำนวน 500,000 คน ในประเทศ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และรัสเซีย เพื่อศึกษาสัดส่วน ระหว่างเม็ดเลือดขาวสองชนิด กับความแตกต่างของขนาดเม็ดเลอดแดง ที่ร่างกายได้ทำการผลิตออกมา ซึ่งหมายความว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดงจะยิ่งปรากฎเด่นชัดมากขึ้น เช่นเดียวกับผมขาว หรือผมหงอก ของวัยชรา
ผลการวิจัยบอกว่า ความสามารถในการฟื้นตัวจากสภาวะที่ป่วยไข้ หรืออาการบาดเจ็บของคนเรา จะหมดไปเมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 120 – 150 ปี อย่างไรก็ตาม การมีอายุขัยที่ยืนยาวมากขึ้น ไม่ได้สัมพันธ์กับเรื่องการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งทีมวิจัย ได้ทำการแนะว่า จะต้องมีการศีกษาต่อไป ถึงช่วงอายุยาวนาน ที่คนเราจะอยู่ได้ และยังมีสุขภาพที่ดีด้วย
ปัจจุบันเจ้าของสถิติโลก ที่มีอายุยืนยาวมากที่สุด ได้แก่คุณทวดหญิง ชาวฝรั่งเศส ที่มีชื่อว่า จานน์ แกลมองต์ ซึ่งเธอเสียชีวิตลงในวัย 122 ปี 164 วันนั่นเอง อายุขัยของคนเรา แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และการดูแลสุขภาพร่างกาย อย่างไรก็ตาม การมี อายุขัย ที่ยืนยาว ไม่ได้สำคัญไปกว่าการมีสุขภาพที่ดี เพราะหากคุณมีอายุยืนยาว แต่สุขภาพไม่แข็งแรง เราก็คงไม่อยากอยู่เป็นแน่
ที่มาข้อมูล : bbc.com
บทความที่น่าสนใจ :
วิจัยชี้ ! หลังหายโควิด เกินกว่าครึ่งมีอาการผิดปกติระยะยาว
มีลุ้น ! วิจัยไทยชี้ ! เลือดจาก ตัวเงินตัวทอง อาจใช้รักษาโรคโควิดได้
รู้ก่อนปลอดภัยก่อน!! อาหารจากกัญชา ให้โทษหรือมีประโยชน์กันแน่