ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความรุนแรงในครอบครัว ปัจจุบันก็ยังพบเห็นได้อยู่บ่อย ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะเลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลความรุนแรง เลี้ยงแบบไม่ใช้ความรุนแรงเลี้ยงอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ มาดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความรุนแรงในครอบครัว คือ

การทำร้ายร่างกาย จิตใจ บังคับข่มเหงที่เกิดจากคนในครอบครัว และมาจากหลาย ๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การติดการพนัน สุรา ยาเสพติด หรือความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น สร้างความเจ็บปวดต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่โดนกระทำ

บาดแผลทางร่างกายที่เกิดจากความรุนแรงสามารถรักษาให้หายดีขึ้นได้ แต่บาดแผลที่อยู่ในจิตใจใช้เวลานานหลายเดือน หลายปีกว่าบาดแผลนั้นจะหายไป หลายคนที่ผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวอาจเกิดภาวะป่วยทางจิตรุนแรง หรือที่เรียกกันว่า โรค PTSD เป็นภาวพจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูกทำร้ายร่างกาย ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่เจอเหตุการณ์ด้วยตัวเอง และทางอ้อม

 

หยุด ! ความรุนแรงในครอบครัว

1. หยุด!!!ทำร้ายจิตใจ

ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงการตีเพียงเดียวนะคะ  ยังมีความรุนแรงที่เรียกว่า  ทำร้ายจิตใจ อีกด้วย  เช่น  เลี้ยงลูกลำเอียง รักพี่หรือรักน้องมากกว่า  การใช้คำพูดกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  เช่น  ลูกเก็บมาเลี้ยง  หรือเกิดมาทำไม เกิดมาแล้วทำให้พ่อแม่ลำบาก  คำพูดเช่นนี้จะสะสมในจิตใจจนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ  คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก  นานวันเข้าลูกจะแสดงออกด้วยการกระทำที่รุนแรง  แรกเริ่มอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อนานวันเข้าจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น ๆ ต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ปล่อยปละละเลย

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยนึกถึงกันสักเท่าไร การไม่มีเวลาให้ลูกหรือแม้จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่ค่อยเอาใจใส่ลูกเท่าใดนัก  อาจจะเหนื่อยจากงานหรือเรื่องส่วนตัวทำให้พ่อแม่หมกมุ่นสนใจแต่ตัวเอง จนลืมไปว่าลูกก็ต้องการความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกอยู่กับโลกโซเชียล เล่นเกมคอมพิวเตอร์  ดูซีดี ดูการ์ตูนซึ่งอาจจะแฝงความรุนแรง โดยที่เด็กยังไม่รู้จักกลั่นกรองว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี  อาจจะจดจำมาและรับสิ่งนั้นไปใช้โดยขาดการไตร่ตรอง

 

3. การเลี้ยงดูที่ดี คือ วัคซีน ป้องกันความรุนแรง

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัคซีน” แน่นอนว่าย่อมหมายถึงการป้องกัน  เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูลูกพ่อแม่ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงสิ่งแวดล้อมทัศนคติของพ่อแม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของลูก เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยความรักและความเข้าใจเมื่อโตขึ้นเด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมและมีอารมณ์ที่มั่นคง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมของลูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างและการทำงานของสมอง หากเด็กถูกเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง สมองจะเรียนรู้การกระทำที่รุนแรงการถูกปล่อยปละละเลยจากพ่อแม่  ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเงียบเหงา ขาดความรัก  จึงทำให้มองโลกในแง่ลบได้

 

ทางออกของปัญหาการใช้ความรุนแรง  ควรเริ่มจากอะไร ?

1. เตรียมตัวเองให้พร้อม 

คำว่าเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนจะสร้างครอบครัว ไม่ใช่หมายถึง เรื่องเงินทองเท่านั้น แต่ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะถ้ามีลูกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้วางแผนในการมีลูกคนต่อไป อาจสร้างความปัญหาให้กับคุณพ่อคุณแม่เองและลูกอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. อย่าให้ลูกรู้สึกว่า “ ขาดความรัก ”

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูกของตนเองอยู่แล้ว แต่ความรักนั้นหากไม่แสดงออกลูกก็คงไม่รู้  ที่สำคัญความรักไม่ใช่การให้สิ่งของหรือเงินทอง หรือที่เรียกว่า  ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกอยากได้อะไรตามใจ สิ่งนั้นไม่ถูกต้องแน่ ๆ ที่สำคัญเมื่อลูกขึ้นจะทำให้เขาปรับตัวเข้ากับสังคมยาก ขาดความอดทน และรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยหากไม่ได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้จะหวนกลับมาทำร้ายลูกในอนาคตต่อไป  รักลูกแสดงออกด้วยการพูดคุยให้คำปรึกษา ให้เวลาแก่ลูก  ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เมื่อมีเวลาว่าง ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยจะดีที่สุดค่ะที่สำคัญความรักของพ่อแม่ต้องมีความยืดหยุ่นบนหลักเหตุและผลไม่ควรปล่อยให้ทำตามใจตนเองไปทุกอย่าง

 

3. เหตุผล VS อารมณ์

คงไม่มีเด็กคนไหนชอบให้พ่อแม่ใส่อารมณ์ดุด่าว่ากล่าวตนเองอย่างแน่นอน ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยที่อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง อาจจะมีอาการดื้อซนให้เห็นอยู่บ่อย ๆ  บางครั้งเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น ตี หยิก ดึง เมื่อเขารู้สึกไม่พอใจ ทำให้คุณพ่อคุณแม่อาจเกิดอารมณ์โมโหไม่พอใจในการกระทำของลูก อย่านะคะ!!! อย่าตีลูก

แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผล  เพื่อให้ลูกรู้ว่าตนเองควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละคะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้เสียก่อน แทนที่จะตีก็ให้พาลูกออกไปจากสิ่งนั้น เช่น หากลูกอยากได้ของเล่นแล้วลงไปนอนดิ้นกับพื้น แทนที่จะตีก็สงบอารมณ์ลงก่อน แล้วค่อยอธิบายกับลูก เมื่อลูกได้เห็นท่าทีที่อ่อนโยนของพ่อแม่ต่อเขาลูกจะเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อเขา และเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ถือเป็นปลูกฝังสิ่งดี ๆ นั้นให้กับลูกต่อไป โดยลูกได้เรียนรู้ผ่านการกระทำของพ่อแม่นั่นเอง

 

4. พ่อแม่ คือต้นแบบที่สำคัญ

ลูกในวัยที่พร้อมจะเรียนรู้จากการเลียนแบบจากคนใกล้ตัว แน่นอนว่า ก็คือคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีต่อกันที่มีต่อลูกรวมถึงสมาชิกในครอบครัว  ทุกอย่างเปรียบได้กับฉากละคร ลูกจะซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวเขา หากพ่อแม่มีจิตใจที่เอื้ออาทรรักสัตว์ลูกก็จะจดจำและทำตาม หากพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ลูกก็จะทำตามได้ไม่ยากตรงกันข้ามหากพ่อแม่ชอบมีปากมีเสียงลงไม้ลงมือลูกก็จะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ทำเช่นกัน

 

5. เลี้ยงลูกด้วยความรักและอาทร

ปัจจุบันนี้การแข่งขันมีสูงในสังคมของเราแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ในวัยอนุบาลยังต้องสอบแข่งขันแย่งที่เรียนกันเลย แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสวนกระแสด้วยการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น   แม้วันนี้ลูกอาจจะไม่เข้าใจ  แต่อย่างน้อยการเริ่มต้นสั่งสอนตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งเหล่านี้จะสั่งสมอยู่ในจิตใจของลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ เพราะพื้นฐานที่ดีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ลูกดีงามไปพร้อมกับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะเห็นว่าความรุนแรงแม้จะเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา หรือผ่านสื่อมาให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เราสามารถสร้างเกราะป้องกันความรุนแรงนั้นได้ด้วยความรักและความเข้าใจกันภายในครอบครัว เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อลูกของเราและเพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไปค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

พ่อแม่ที่ตีลูก ดุด่าลูก ใส่อารมณ์กับลูก ระวังลูกโตไปเป็นเด็กเสียคน ไร้วินัย

หยุดดุด่าลูก ขู่ลูกว่าไม่รัก คำพูดต้องห้ามของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก

 

ที่มา : Sahavicha Thaichildrights