เลี้ยง ลูกแฝด ยังไง? ไม่ให้เขารู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบ และทำให้เขารู้สึกได้ว่าเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยง ลูกแฝด ยังไง? ไม่ให้เขารู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีลูกแฝด แล้วอยากรู้ว่าเราควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบ และทำให้เขารู้สึกได้ว่าเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องกลัวการโดนเปรียบเทียบ และกลัวว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เป็นสิ่งที่ผิดและไม่ดี บอกเลยว่าไม่ต้องเป็นกังวลใจไป เพราะวันนี้แอดจะพาคุณพ่อคุณแม่มาแก้ปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

เข้าใจความแตกต่างของ “ลูกแฝด”

 

(รูปจาก freepik.com)

 

การเลี้ยง ลูกแฝด แน่นอนว่าต้องมีการเปรียบเทียบเกิดขึ้นภายในบ้าน โดยเฉพาะครอบครัวไหนที่มีหลายคน ก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความหนักใจขึ้นมาหน่อย ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น เราก็ต้องพยายามเข้าใจในความแตกต่างของลูก ดังนี้

บทความที่น่าสนใจ : พ่อแม่เป็น LGBTQ แล้วลูกจะเป็นไหม ? เลี้ยงลูกฉบับ LGBT

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. แฝดต้องได้รับความรักเท่ากัน

อย่างที่รู้กันดีว่าไม่ว่าจะเด็กคนไหนก็อยากให้พ่อกับแม่รักทั้งนั้น อาจจะเคยได้ยินว่าเด็กที่เป็นแฝดกันเขาจะมีความรักกันแบบมากกว่าพี่น้องปกติ เพราะเขาเกิดมาด้วยสายใยที่ผูกพัน บอกเลยว่าไม่เสมอไป เพราะแฝดเขาก็เหมือนกับเด็กคนอื่นทั่วไป ดังนั้น สำหรับคนไหนที่มีลูกแฝดเราจะต้องใส่ใจเขามากเป็นพิเศษ เพราะต้องเลี้ยงลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน  โดยสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามนั่นคือ เราต้องแสดงความรักกับลูกทั้งสองคนเท่า ๆ กัน หมั่นดูแลเอาใจใส่ลูกทั้งสองคน ซึ่งอาจจะถามความต้องการของเขาทั้งสองคน โดยที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญแค่คนใดคนหนึ่ง รวมถึงเมื่อเวลาใครคนใดคนหนึ่งทำผิด เราไม่ควรเอาคนใดคนหนึ่งมาเปรียบเทียบเพื่อให้อีกคนดูแย่

 

2. แฝดกันความชอบอาจไม่เหมือนกัน

แน่นอนว่า เลี้ยงลูกแฝด นั้น แต่ละคนมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ซื้อของให้ลูก สำหรับคนที่มีลูกแฝดอาจจะคิดว่าเขาเป็นแฝดกันเราก็ต้องเลือกซื้ออะไรที่เหมือน ๆ กัน ให้ใส่อะไรที่คล้าย ๆ กันสิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจผิด และทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อกับแม่ลำเอียงหรือรักลูกไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น เราควรหมั่นสังเกตลูก ดูว่าลูกแต่ละคนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรือถ้ากรณีที่ลูกมีสิ่งของบางอย่างที่ชอบคล้าย ๆ กัน  เราก็อาจจะสอนให้เขาทั้งสองคน รู้จักแบ่งบันและใช้ของร่วมกันได้ เพราะสิ่งนี้จะช่วยสอนให้เขาทั้งสองคนเป็นเด็กที่รู้จักแบ่งปันและมีน้ำใจมากขึ้นตามไปด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. แฝดกันนิสัยไม่เหมือนกัน

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเป็นแฝดกันจะต้องมีอะไรที่คล้าย ๆ กัน ซึ่งก็อาจจะรวมถึงนิสัยด้วย บอกเลยว่าไม่ใช่เสมอไป เพราะถึงแม้เขาจะเป็นแฝดกันหรือเกิดในเวลาเดียวกัน ก็ใช่ว่าเขาจะต้องมีนิสัยที่เหมือนกันได้ ดังนั้น เราไม่ควรที่จะไปจำกัดความที่ว่าแฝดพี่ต้องมีนิสัยแบบนี้ หรือแฝดน้องต้องมีนิสัยแบบนี้ แต่เราควรที่จะดูแลเอาใจลูกทั้งสองให้เท่า ๆ กันมากกว่า ถึงแม้เขาทั้งสองจะมีนิสัยที่แตกต่างกัน เราก็ควรที่จะดูแลเขาทั้งคนให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งรู้สึกได้ว่าพ่อกับแม่รักลูกไม่เท่ากันนั่นเอง

 

4. แฝดกันไม่ได้ตัวติดกันตลอด

อีกหนึ่งสำคัญที่เกิดขึ้นได้บ่อยกับคำพูดที่ว่าเป็นแฝดกันตัวต้องติดกันตลอด ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความเชื่อที่ผิดมากๆ และสิ่งนี้อาจจะทำให้เขาเกิดความรำคาญได้ เพราะด้วยความที่เด็กแต่ละคนเขามีความชอบและมีสิ่งที่อยากทำแตกต่างกัน ดังนั้น เขาก็อาจจะต้องแยกย้ายกันไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองสนใจและอยากจะทำ เราจึงไม่ควรที่จะกระทำหรือใช้คำพูดแบบนี้กับลูกๆ  เช่น คำพูดที่พูดว่า “เป็นแฝดกันทำไมไม่รู้ว่าอีกคนไปไหน” เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เขาเบื่อและรำคาญไม่เราได้ ดังนั้น  ถ้าเราไม่อยากให้ลูกรู้สึกแบบนี้กับเรา ทุกครั้งที่เราคุยหรือถามลูกเราจะต้องมีเหตุผลในการคุยกับเขาด้วย โดยอาจจะใช้คำว่า “น้องไปไหน เราเห็นบ้างไหม” แทนการพูดใส่อารมณ์นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. แฝดกันการรับรู้อาจจะไม่เท่ากัน

อีกหนึ่งข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเพราะคุณพ่อคุณแม่กำลังเลี้ยงลูกแฝด เราไม่ควรที่จะเอาเขาทั้งสองคนมาเปรียบเทียบกัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการเรียน แน่นอนว่าเมื่อลูกของเราได้เกรดเยอะเราก็ต้องดีใจเป็นเรื่องปกติ แต่ในความดีใจนั้นเราก็ต้องมีเหตุผลด้วย ไม่ใช่ว่าเราชื่นชมลูกคนที่ได้เกรดดีและเรียนเก่ง แต่เรากลับต่อว่าและดุลูกคนที่เขาได้เกรดน้อยกว่า บอกเลยว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกเปรียบเทียบ และทำให้เขาขาดความมั่นใจในตัวเอง และสิ่งนี้ก็จะอาจจะทำให้เขาเป็นเด็กที่มีปม รู้สึกเครียด และกดดันตัวเอง ดังนั้นเราก็ควรที่จะยินดีและให้กำลังกับลูกทั้งสองคนเท่า ๆ กัน ทำให้เขารู้สึกมีแรงบันดาลและพร้อมพัฒนาตัวเองให้เก่งมากขึ้น

เสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูก

 

(รูปโดย master1305 จาก freepik.com)

 

1. ต้องแสดงความรักให้ลูกเห็น

เมื่อไหร่ที่เขาทำอะไรผิดพลาด หรือมีเรื่องที่ไม่สบายใจอะไร เราควรอยู่เคียงข้างลูก แสดงให้เขาเห็นถึงความรักและรับรู้ได้ว่า ไม่ว่าเขาจะตกอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม เขาก็ยังมีพ่อกับแม่ที่คอยอยู่ข้าง ๆ และคอยให้กำลังใจที่ดีกับเขาอยู่เสมอ

 

2. รับรู้ถึงความรู้สึกของลูก

เราต้องคอยสังเกตพฤติกรรมหรือคอยสังเกตลักษณะท่าทางของลูกว่า เขามีปัญหาอะไรหรือมีเรื่องไม่สบายใจอะไรหรือเปล่า และเมื่อไหร่ที่เขารู้สึกไม่สบายใจ เราควรที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาและแชร์ความรู้สึกดี ๆ ให้กับลูก ทำให้เขารู้สึกสบายใจและกล้าที่จะเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเขาให้เราฟังได้

บทความที่น่าสนใจ : พฤติกรรมพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

3. รู้จักกล่าวคำชื่นชมลูก

เมื่อไหร่ที่ลูกทำเรื่องที่ดีหรือทำในสิ่งที่ถูกต้อง เราควรที่จะชื่นชมเขาบ้าง เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่เป็นเรื่องที่ดี และน่าชื่นชม สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เขารู้สึกดีและนับถือความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่ไม่ควรชมลูกบ่อยจนเกินเหตุเพราะลอาจส่งผลจะทำให้เขาเกิดการหลงตัวเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก

การที่เราคอยแนะนำและคอยสอนลูกทำในสิ่งที่ถูกต้องมันเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ แต่จะยิ่งดีเพิ่มขึ้นไปอีกถ้าเราเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกของเราด้วย เพราะนอกจากคำพูดที่เราจะสอนลูกให้เป็นคนดีได้แล้วนั้น การกระทำก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยสอนลูกของเราให้เป็นเด็กดีได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ลูกโตมาเป็นเด็กแบบไหนเราก็ควรจะต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบนั้น

 

5. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูก

อย่างที่รู้กันดีว่าไม่มีใครเกิดมาแล้ว ไม่เคยเรื่องอะไรผิดพลาดเลย รวมถึงเด็กด้วยเช่นกัน ดังนั้น อาจมีบางเรื่องที่เขาลงมือทำแล้วไม่ได้ตามที่หวัง เขาก็อาจจะเกิดความผิดหวังและเสียใจ ไม่กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่ เราก็อาจจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกมากขึ้น คอยแนะนำทางเลือกที่ดีให้กับลูก ให้เขากล้าที่จะลุกขึ้นสู้ใหม่อีกครั้ง

 

6. สอนให้ลูกคิดบวก

ข้อนี้สำคัญมาก ๆ  เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเขารู้จักคิดบวกหรือมองโลกในแง่ดี เขาก็จะผ่านปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านี้ไปได้ พร้อมกับมีกำลังใจและพลังในการเริ่มต้นและทำสิ่งใหม่มากขึ้น แม้จะเคยทำอะไรผิดพลาดมาแล้วก็ตาม เขาและนอกจากนี้เขายังสามารถเป็นกำลังใจที่ดีและเป็นพลังบวกให้กับคนรอบข้างได้เข่นกัน

 

7. ห้ามเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นเด็ดขาด

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อกับคุณแม่ไม่ควรทำเป็นอย่างมากนั้นคือการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราเอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่น สิ่งนี้จะทำให้เขาอาจจะเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเองและไม่เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง

 

(รูปโดย master1305 จาก freepik.com)

 

ดังนั้น ไม่ว่าเราจะมีลูกแฝดหรือมีลูกสักกี่คน เราก็ควรที่จะดูแลเขาให้เป็นอย่างดี คอยตักเตือนและแนะนำด้วยเหตุผลลูกเมื่อเขาทำในสิ่งที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง และคอยชื่นชมเมื่อเขาทำในสิ่งที่ดี และที่สำคัญไม่ว่าลูกเราจะเป็นเด็กที่มีนิสัยอย่างไรก็ตาม เชื่อเลยว่า ถ้าเราดูแลและคอยอยู่เคียงข้าง คอยให้กำลังใจเขาในวันที่เขามีปัญหา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้ลูกของเราเป็นเด็กที่มีความมั่นใจในตัวเอง และเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะครอบครัวไหนที่มี ลูกแฝด หรือลูกหลายคน เราก็ควรต้องลูกแลมากเป็นพิเศษ เพื่อไม่มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ : 200 ชื่อลูกแฝด ชื่อแฝดชายหญิง ชื่อลูกแฝดชายชาย ชื่อลูกแฝดหญิงหญิง 2021

เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

กินกล้วยแฝดได้ลูกแฝดจริงหรือ ความเชื่อโบราณที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้

ที่มา : 1,

บทความโดย

Tidaluk Sripuga