คุณแม่ต้องรู้!! 5 วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนอนุบาล

กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ เด็กเล็กอายุ 1 – 6 ปี เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อในโรงเรียนอนุบาล สูง เนื่องจากเด็กอยู่ร่วมกันหลายๆ คน หากมีเด็กคนใดคนหนึ่งไม่สบาย โรคเหล่านั้นจะแพร่กระจายสู่เด็กคนอื่นๆ ง่ายและรวดเร็วมาก แม่ๆ จะสังเกตได้ว่า เมื่อลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลจะเจ็บป่วยบ่อย ๆ จึงควรมีความรู้ความเข้าใจในการ ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ เป็นอย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนอนุบาล

โรคติดเชื้อในโรงเรียนอนุบาล ที่มีการประกาศเฝ้าระวัง มีอยู่ด้วยกัน 5 โรค คือ โรคมือ เท้า ปาก, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคอีสุกอีใส, โรคตาแดง และโรคท้องร่วง โรคเหล่านี้เกิดขึ้นง่าย สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการสัมผัสทางกาย ทางการหายใจ ใช้ของใช้และของเล่นร่วมกัน วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ มีดังนี้

ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ด้วย ภูมิคุ้มกัน เกราะป้องกันสุดแกร่งของเด็กวัยอนุบาล

การปกป้องลูกน้อยด้วยภูมิคุ้มกัน คือเกราะป้องกันโรคร้ายในวัยอนุบาลที่มีประสิทธิภาพสูง เพราะถ้าเด็กๆ แข็งแรงจากภายใน แม่ก็คลายกังวลได้ว่าลูกจะไม่เจ็บป่วยง่าย เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคสูงอย่างในโรงเรียน แม่ๆ สามารถ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยวิธีที่หลากหลาย รวมทั้งการดูแลโภชนาการ การให้นม รวมทั้งอาหารที่เสริมจุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG  และ  Prebio 1 (พรีไบโอวัน) ซึ่งคือใยอาหารที่มาจากธรรมชาติโอลิโกฟรุกโตสและอินนูลิน

ทำไมต้อง LGG และ Prebio 1 (พรีไบโอวัน)  ดีต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไร ?

ระบบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญร่างกายของมนุษย์ ดังนั้นร่างกายจึงมีกลไกในการสร้างภูมิคุ้มกันค่อนข้างซับซ้อน ทว่ามีประสิทธิภาพสูง โดยภายในลำไส้ของลูกรัก จะมี จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG อาศัยอยู่ โดยเจ้าจุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส แรมโนซัส  นี้ มีหน้าที่ปกป้องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม ซึ่งมักรุกล้ำมาในร่างกายผ่านทางเยื่อบุลำไส้และเยื่อบุทางเดินหายใจ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการ สร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาทำลายเชื้อโรคนั้น ก่อนที่จะทำอันตรายต่อเยื่อบุ

อาหารโปรดของ จุลินทรีย์ LGG มีชื่อว่า Prebio 1 (พรีไบโอวัน) ซึ่งคือใยอาหารที่มาจากธรรมชาติโอลิโกฟรุกโตสและอินนูลิน พบมากในผักและผลไม้ทั่วไป เมื่อเด็กๆ กินเข้าไป ผัก ผลไม้จะผ่านการย่อย และเคลื่อนผ่านสู่ลำไส้ เราเรียก ใยอาหารจากธรรมชาติ ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ LGG นี้ว่า พรีไบโอติก (Prebiotic)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เห็นได้ว่าการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ต้องอาศัยทั้ง LGG และ Prebio 1 (พรีไบโอวัน) ดังนั้น คุณแม่ควรดูแลให้ลูกรัก ดื่มนม ที่มีทั้ง LGG และ Prebio 1 (พรีไบโอวัน) เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ลูกมีสุขภาพดี ก็มีโอกาสการเรียนรู้ เล่น และลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ  ได้มากกว่าเด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

นอกจากนี้มีวิธีการปกป้องลูกน้อยด้วยภูมิคุ้มกันที่ดี เช่น

ให้ลูกได้ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ทารก กินนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกรัก เพราะนมแม่เป็นเสมือน วัคซีนหยดแรก ๆ ที่อุดมด้วยสารภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย หรือหากเจ็บป่วยจะหายเร็ว นอกจากนั้น แม่สามารถเสริมให้ลูกดื่มนมที่มีจุลินทรีย์มีประโยชน์ ควบคู่ไปกับการกินอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

2. การให้ลูกฉีดวัคซีน เพื่อให้ลูกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ แม่ควรพาเด็กๆ ไปรับวัคซีนพื้นฐาน ได้แก่ วัคซีน BCG, วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (HBV), วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก- ไอกรน (DTwP), วัคซีนป้องกันโปลิโอ (OPV), วัคซีนป้องกันโรคหัด – หัดเยอรมัน – คางทูม (MMR) และ วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE) ให้ครบตามกำหนด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี เข้ารับวัคซีนเสริมทันที เมื่อมีการประกาศเตือนโรคระบาด และให้ลูกฉีดวัคซีนเลือก (ถ้ารับค่าใช้จ่ายได้)  จะช่วยลดโอกาสป่วยหรือลดความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดกับลูกได้

สอนให้ลูกรู้จักล้างมือให้ติดเป็นนิสัย เพื่อสร้างวินัย และ ป้องกันเชื้อโรคด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3ล้างมือบ่อยๆ ฝึกฝนลูกรักให้รู้จักล้างมือด้วยน้ำสะอาด สบู่ หรือเจลล้างมือ เป็นประจำ โดยเฉพาะก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของ โรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาล

4. ไม่ใช้ของร่วมกัน ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม จาน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ออกจากกัน โดยใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการระบุชื่อ หรือทำสัญลักษณ์ ให้ชัดเจน และกำชับลูกไม่ให้หยิบของคนอื่นมาใช้ เพื่อ ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดต่อ ที่อาจเกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพียงเท่านี้ เราก็สามารถ ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วค่ะ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : healthychildren.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

PSTD โรคทางใจในเด็ก

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเล็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team