7 ขั้นตอน สอนลูกกลับบ้านเอง ให้ปลอดภัย สอนลูกให้จำที่อยู่บ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คงถึงเวลาแล้ว ที่ลูกจะต้องเดินทางกลับบ้านด้วยตนเอง เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกด้วย สอนลูกกลับบ้านเอง จะต้องทำอย่างระมัดระวัง และมีความรอบคอบ ทำแบบไหนบ้าง เรามีแนวทางมาช่วย ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มฝึกลูกรักไปพร้อม ๆ กัน

 

สอนลูกกลับบ้านเอง ตอนลูกอายุเท่าไหร่ ?

เนื่องจากการกลับบ้านด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กที่มีผู้ปกครองไปรับตลอดเวลา ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องคำนึงถึงช่วงอายุที่เหมาะสมของลูก โดยเลือกในช่วงที่ลูกสามารถเรียนรู้ จดจำ และสื่อสารพูดคุยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ ซึ่งช่วงอายุ 9 -10 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงไม่ประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป เป็นช่วงที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามจะต้องฝึกการกลับบ้านด้วยตนเองให้มั่นใจเสียก่อน ซึ่งเราจะแนะนำในหัวข้อต่อไป นอกจากนี้ผู้ปกครองไม่ควรให้ลูกกลับบ้านด้วยตนเอง กรณีที่วันนั้นมีการทำกิจกรรม หรือเป็นการเดินทางกลับบ้านในช่วงหัวค่ำ หรือกลางคืน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกหายไปต้องทำยังไง และสิ่งพ่อแม่ที่ควรสอนลูก หากเกิดพลัดหลงกัน

 

6 ขั้นตอนสอนลูกกลับบ้านเอง ที่ต้องทำเพื่อความปลอดภัย

หากลูกอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสมแล้ว ผู้ปกครองก็สามารถที่จะฝึกให้เดินทางกลับบ้านด้วยตนเองได้ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ผู้ปกครองควร สอนลูกจำที่อยู่บ้าน ว่าอยู่เลขที่ไหน ซอยอะไร เขตไหน และเพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้ปกครองสามารถเขียนลงในกระดาษ หรือป้ายชื่อ ให้ลูกเก็บรักษาเอาไว้ หรือเขียนใส่กระดาษแล้วให้ลูกถ่ายรูปเก็บเอาไว้ก็ได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. คอยพูดคุยตลอดเมื่อรับลูกกลับบ้าน

ก่อนที่จะให้ลูกกลับบ้านด้วยตนเองนั้น จะต้องเริ่มจากการฝึกโดยทั่วไปก่อน ซึ่งทำได้ไม่ยาก ระหว่างนี้ที่ผู้ปกครองยังคงรับลูกกลับบ้านเองอยู่ ให้คอยพูดคุยตลอดทางว่าจำสถานที่ตรงนี้ได้ไหม ผ่านอะไรมาบ้าง โดยเฉพาะลงรถจุดไหน ขึ้นรถจุดไหน และรถที่ขึ้นสายอะไรบ้างที่ขึ้นได้ เป็นต้น ผู้ปกครองควรพูดคุยกับลูกอยู่ตลอด เมื่อเวลาผ่านไป อาจเปลี่ยนจากการชวนคุย ชวนจำ ให้ลองถามลูกดูบ้างว่า ต่อไปขึ้นรถสายอะไรบ้าง ลงตรงไหน พออยู่บนรถก็ถามว่าตรงนี้เราลงไหม ลงไปแล้วไปขึ้นตรงไหนต่อ เป็นต้น

 

2. สอนการแก้ปัญหาเบื้องต้น

ปัญหาโดยทั่วไปที่ลูกมักเจอมีหลายอย่าง เช่น ขึ้นรถสายผิด หรือขึ้นถูกแต่ลงผิดป้าย ไปจนถึงปัญหาด้านความปลอดภัยของเด็กที่เดินทางคนเดียว เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ปกครองต้องให้ความรู้พื้นฐานกับลูก เพื่อให้ลูกสามารถรับมือได้ด้วยตนเอง เช่น เมื่อลงผิดป้าย หรือขึ้นรถผิดหากเป็นรถเมล์ให้ถามพนักงานเก็บเงิน หากเป็นรถไฟให้ถามพนักงาน ณ จุดนั้น หรือหากมีคนแปลกหน้ามาคุยด้วย ก็ไม่ควรคุยด้วย มีคนชวนไปที่อื่นก็ไม่ควรตามไป หรือมีอะไรฉุกเฉินก็ให้มองหาตำรวจ หรือตะโกนดัง ๆ เป็นต้น

 

3. จำลองปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อฝึกแก้ปัญหา

หลังจากที่สอนลูกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่อาจเจอระหว่างเดินทางกลับบ้านเอง การฝึกฝนเป็นเรื่องที่ดี มากกว่าการให้ลูกไปเจอประสบการณ์จริงเป็นครั้งแรก ผู้ปกครองสามารถฝึกได้ด้วยการสมมุติเหตุการณ์ขึ้นมา ให้คุณแม่แสดงเป็นคนแปลกหน้าเข้ามาหาลูก แล้วให้คุณพ่อแสดงเป็นตำรวจที่อยู่ห่างออกไป เพื่อให้ลูกลองแก้ปัญหา โดยผู้ปกครองคอยแนะนำว่าถูกหรือไม่ หากทำแบบนั้นแบบนี้จะทำให้เกิดผลเช่นไร หรือการจำลองสถานการณ์ว่าตอนนี้ลูกขึ้นรถผิด จะทำอย่างไรดี โดยให้คุณพ่อ และคุณแม่แสดงเป็นคนที่บอกทางไม่เหมือนกัน แล้วดูว่าลูกจะตัดสินใจหาคำตอบที่ถูกต้องได้อย่างไร เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

4. ให้อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเด็ก

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคนี้ คือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ลูกใช้ติดต่อได้ทุกเวลาที่ลูกต้องการความช่วยเหลือ หรือเจอปัญหา ผู้ปกครองควรบันทึกเบอร์โทรสำคัญเอาไว้ เช่น เบอร์ผู้ปกครอง, เบอร์ญาติหรือบุคคลที่ไว้ใจได้ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับเส้นทางกลับบ้านของลูก ไปจนถึงเบอร์โทรตำรวจ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ผู้ปกครองไม่ควรพลาด เช่น นกหวีด เอาไว้สำหรับให้ลูกพกติดตัวกรณีต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น มีคนแปลกหน้ามายุ่งด้วย ก็ให้ลูกเป่านกหวีด ซึ่งดังกว่าเสียงของลูกตะโกนแน่นอน เสียงนกหวีดจะทำให้บุคคลอื่นในพื้นที่หันมาสนใจ ถือเป็นการเอาตัวรอดสำหรับเด็กวิธีหนึ่ง

 

5. เขียนข้อมูลการติดต่อผู้ปกครองให้ลูกเก็บไว้

ข้อมูลการติดต่อของผู้ปกครองทั้งชื่อนามสกุลของลูก ชื่อผู้ปกครอง เบอร์ของผู้ปกครอง และที่อยู่บ้าน เอาไว้ให้ลูกใช้ยามจำเป็น เช่น เมื่อลูกหลงทางให้หาตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง เพื่อใช้ข้อมูลรับการช่วยเหลือ เป็นต้น เราแนะนำว่าให้จดบันทึกข้อมูลเอาไว้มากกว่า 1 ทาง เช่น ถ่ายรูปข้อมูลไว้ในโทรศัพท์ และเขียนลงกระดาษบันทึกที่เคลือบกันน้ำอย่างดี เพื่อป้องกันข้อมูลหายไปพร้อม ๆ กับโทรศัพท์ เป็นต้น

 

6. ช่วงแรกให้ติดต่อกันไว้ตลอด

หากลูกมั่นใจว่าตนเองสามารถกลับบ้านเองได้แล้ว หรือผู้ปกครองสังเกตว่าจำทางได้แน่นอน ก็ให้ลูกลองเดินทางกลับบ้านด้วยตนเอง โดยในช่วงแรก ๆ ผู้ปกครองควรติดต่อลูกอยู่ตลอดเวลา เราแนะนำให้ใช้การโทรคุยกันผ่านโทรศัพท์มือถือตลอดการเดินทาง เพื่อสอบถามว่าลูกถึงไหนแล้ว ขึ้นรถสายอะไร ลงที่ไหน หรือเมื่อลูกมีปัญหาจะสามารถสอบถามผู้ปกครองได้โดยตรงในทันทีนั่นเอง

 

 

หากติดต่อลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร ?

  • นำรูปของลูกไปตรวจสอบ และสอบถามพื้นที่กลับบ้านที่ลูกควรเดินทางผ่าน เช่น จุดขึ้นรถ หรือจุดลงรถ โดยให้ถามคนที่ปักหลักในพื้นที่ เช่น ร้านค้าต่าง ๆ ระหว่างนั้นให้พยายามโทรติดต่อลูกว่าติดต่อได้หรือไม่
  • หากหาลูกแล้วไม่เจอเบาะแสข้อมูล และไม่สามารถติดต่อได้ ไม่ต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมง สามารถเดินทางไปแจ้งความเอาไว้ก่อน เพื่อปรึกษาเจ้าหน้าที่ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา เบอร์โทรติดต่อ 080-775-2673
  • รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ และคอยติดตามเรื่องอยู่ตลอด ๆ ระหว่างนี้ควรพยายามติดต่อหาลูกตลอด และด้วยยุคนี้เป็นยุคออนไลน์ การโพสต์ตามหาลูกก็เป็นสิ่งที่ควรทำมาก เพราะโพสต์คนหายมักได้รับการแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก

 

การสอนให้ลูกเดินทางกลับบ้านด้วยตนเอง เป็นเรื่องที่วันหนึ่งก็ต้องเกิดขึ้น คงไม่สามารถไปรับไปส่งลูกได้ตลอด เพราะวันหนึ่งเขาก็ต้องอยู่ให้ได้ด้วยตนเอง และการเดินทางเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเจอไม่ว่าจะตอนเด็ก หรือตอนโตเป็นผู้ใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 เทคนิคสอนลูกให้เอาตัวรอดจากโลกที่เรียกว่าอยู่ยาก

ตกน้ำ ตกเรือต้องทำยังไง วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ

วิธีสอนลูกเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถ พ่อแม่อย่ารอให้สายเกินไป…แล้วค่อยคิดได้ (มีคลิป)

ที่มา : saferide4kids, parents

บทความโดย

Sutthilak Keawon