คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ต้องทำอย่างไร คนท้องกี่เดือนห้ามเดินทางไกล

คนท้องเดินทางไกลได้ไหม คนท้องเดินทางไกลอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องอ่อน ๆ เดินทางได้ไหม ต้องนั่งรถยนต์นานๆ อันตรายหรือเปล่า ซ้อนรถมอเตอร์ไซต์ได้ไหม

คุณแม่หลายคนมักจะเกิดความกังวล เมื่อจะต้องเดินทางไกล คนท้องเดินทางไกลได้ไหม คำถามนี้มักจะวนเวียนอยู่ภายในหัว จนหลายคนเลือกที่จะอยู่กับบ้าน แต่มันก็น่าเบื่อจนเกินไป หากจะออกไปเที่ยวพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศ ก็จำเป็นจะต้องนั่งรถ ขึ้นเครื่องบิน แล้วจะเดินทางยังไงให้ปลอดภัย แล้วอายุท้องเท่าไหร่ถึงจะสามารถเดินทางไกลได้อย่างปลอดภัยกันนะ

 

คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ?

โดยปกติแล้วไม่มีข้อห้ามในการเดินทางสำหรับคนท้อง แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่ทุกเรื่องดูจะเป็นความวิตกกังวลไปซะหมด นั่นเป็นเพราะเป็นห่วงความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่คุณแม่บางคน ก็ยังคงมีปัญหาของอาการแพ้ท้อง วิงเวียนศีรษะ จนอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอาการแท้งได้

สำหรับการเดินทางไกล ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด จะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 6 – 28 สัปดาห์ หรือในช่วงไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์นั่นเอง ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของตัวคุณแม่ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญอีกด้วย

 

สตรีมีครรภ์ต้องคำนึงถึงก่อนการเดินทาง

  • การเดินทางในครั้งนั้น ๆ จะต้องมีความปลอดภัยต่อครรภ์ของคุณ ไม่ผาดโผน การเดินทางไม่ขรุขระ หรือเกิดการสะเทือนมากจนเกินไป
  • สำหรับคุณแม่ท้องอ่อน หรือคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องของปากมดลูก ต้องมั่นใจว่าสุขภาพของคุณพร้อมกับการเดินทางในครั้งนี้ เพราะหากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ อาจจะทำให้คุณแม่เกิดอาการแท้งลูกได้ ในช่วงของการเดินทาง
  • คุณควรจะต้องมีเพื่อนร่วมเดินทาง ที่สามารถดูแลคุณได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อคุณตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน ไม่ว่าจะเป็นอาการหน้ามืด อาการกระตุก อาการเหนื่อยหอบ โดยเฉพาะหากคุณจะต้องเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะด้วยตัวของคุณเอง จำเป็นจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

 

คนท้องนั่งรถยนต์อย่างไรให้ปลอดภัย

การนั่งรถเดินทางไกลคนท้องสามารถทำได้ แต่คุณแม่ต้องบริหารเท้าบ้าง เพื่อลดความปวดเมื่อย และอาการบวมบริเวณเท้า หรือทางที่ดีก็ควรจะหยุดพักรถตามปั๊ม และลงมาเดินยืดเส้นยืดสายบ้างสัก 5 – 10 นาที ทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง สำหรับวิธีการนั่งรถอย่างปลอดภัย คุณแม่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • ปรับท่านั่งให้สบายมากที่สุด โดยปรับเลื่อนพนักพิงไปด้านหลังในลักษณะกึ่งเอนนอน แล้วใช้หมอนหนุนหลัง และรองคอ เพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้า
  • คาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธี ทุกครั้งที่เดินทาง โดยมีขั้นตอนตามนี้
    • แนวทแยงคาดผ่านร่องอกไปตามแนวโค้งของท้อง
    • ปรับสายเข็มขัดนิรภัยให้กระชับ ไม่บิด หรือเป็นเกลียว เพื่อป้องกันแรงกระชาก ที่จะทำให้เกิดอันตรายได้
    • แนวนอนอยู่บริเวณใต้ท้อง เหนือต้นขา และกระดูกเชิงกราน
    • ใช้หมอนใบเล็ก รองบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง แล้วจึงคาดเข็มขัดนิรภัย
    • ห้ามคาดทับบริเวณหน้าท้องโดยตรง
  • ตรวจสอบระยะห่างของพวงมาลัยรถ และครรภ์ กรณีที่ตัวคุณแม่จะต้องเป็นผู้ขับรถด้วยตัวเอง สิ่งที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือระยะห่างระหว่างครรภ์ และพวงมาลัยรถ เพราะหากระยะใกล้ จนเกิดการกดทับ ก็จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ด้วยเช่นกัน และยังเป็นอันตรายอย่างมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพราะโอกาสในการกระแทกโดนกับพวงมาลัยอย่างรุนแรงก่อนสายคาดจะเริ่มทำงานในการรั้งตัว จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อครรภ์ได้เช่นกัน

 

ทางเลือกใหม่ เข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ยังคงมีความกังวลกับสายคาดในระบบเก่า ๆ ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้น สายคาดสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ โดยเปลี่ยนจากการคาดผ่านบริเวณลำตัว ซึ่งจะมีผลกับการกดทับครรภ์ของคุณแม่ สายคาดแบบใหม่ จะเป็นลักษณะของการคาดผ่านบริเวณต้นขา ซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกันกับการคาดชูชีพ ทำให้ตัวคุณแม่จะรู้สึกปลอดภัยมากกว่า เพราะอาจจะไม่มั่นใจว่า สายคาดแบบคาดผ่านบริเวณลำตัว จะมีการเลื่อนขึ้นแล้วมากดทับครรภ์ โดยไม่รู้ตัวหรือไม่ นอกจากราคาไม่แพง แถมยังเป็นอุปกรณ์เสริม ที่สร้างความมั่นใจให้คุณแม่ได้มากยิ่งขึ้นกับการเดินทางได้อีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 88 คนท้องใช้รถสาธารณะ อย่างไรให้ปลอดภัย

 

คนท้องขึ้นเครื่องบินอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อแม่ท้องนั่งเครื่องบิน ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายที่หลวมสบาย ใส่ถุงน่องที่มีความกระชับ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากข้อเท้าไปยังหัวใจ และปอดของคุณ ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ขา และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของร่างกายคุณแม่ค่ะ แต่การนั่งเครื่องบินของคนท้องมีกฎระเบียบอยู่ ดังนั้น ขึ้นแม่ควรศึกษาก่อนเดินทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  • คนแม่ต้องมีอายุครรภ์ประมาณ 35 – 36 สัปดาห์ ต้องแจ้งแก่สายการบิน (แต่ละสายการบินอาจมีกฎระเบียบที่ไม่เหมือนกัน แนะนำให้สอบถามจากสายการบินที่คุณจะเดินทางค่ะ)
  • ขอจดหมายรับรองจากแพทย์ที่ดูแลคุณสำหรับการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 28 อาทิตย์ขึ้นไป ก่อนขึ้นเครื่องบิน
  • อาจมีการเรียกตรวจสุขภาพก่อนเดินทาง ถ้าคุณอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ก่อนการเดินทาง
  • หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่จุดหมายปลายทางที่คุณจะไปกรณีเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
  • ศึกษาข้อมูลประกันภัยในกรณีการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทางการแพทย์ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ที่สำคัญควรตรวจสอบว่าประกันที่คุณทำครอบคลุมการเคลื่อนย้ายคุณกลับมารักษาตัวที่จังหวัดหรือประเทศต้นทางหรือไม่
  • ลุกขึ้นเดินช่วงสั้น ๆ ตามทางเดินในเครื่องทุก ๆ 30 นาทีถ้ามีความปลอดภัยที่จะทำ
  • เลือกที่นั่งที่อยู่ใกล้ห้องน้ำ
  • ควรคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ต่ำ ๆ บริเวณรอบกระดูกเชิงกราน ตลอดระยะเวลาของการบิน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และอาหารของสายการบิน  พยายามนำอาหารของคุณไปเอง ถ้าสายการบินที่คุณใช้บริการยินยอม

 

คนท้องซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ได้ไหม

สำหรับการนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานยนต์ ถ้าเป็นไปได้ ก็จะแนะนำให้คนท้องควรจะหลีกเลี่ยงค่ะ เพราะการทรงตัวสำหรับคนท้องนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้แม่ท้องเสี่ยงต่อการพลัดตกรถได้รับอันตราย และอาจกระทบกระเทือนถึงลูกในครรภ์ หากจำเป็นจริง ๆ ควรใช้ความเร็วต่ำ และสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง และควรสวมใส่ชุดที่มีความกระฉับกระเฉง ไม่เกิดการเกี่ยว รั้ง จากตัวรถมอเตอร์ไซค์ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

การเตรียมตัวเพื่อการเดินทาง เมื่อคุณตั้งครรภ์

ก่อนจะออกเดินทางไปไหนไกล ๆ การปรึกษาแพทย์ประจำตัวย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ เพื่อให้รู้ว่าตัวคุณพร้อมในการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน ที่เหลือคือการเตรียมตัวของคุณแม่นั่นเอง

  • ทานอาหารเบา ๆ ก่อนการเดินทาง : การรับประทานอาหารเบา ๆ และดีต่อสุขภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือความรู้สึกไม่สบายในช่วงของการเดินทางได้
  • เตรียมอุปกรณ์ในการเดินทาง : การเตรียมเอกสารการตั้งครรภ์ ใบสั่งแพทย์ ยาประจำตัว ขนมเพื่อสุขภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ จำเป็นอย่างมากในการเดินทาง ทั้งนี้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • รักษาความชุ่มชื้นให้ตนเองเสมอ : การรักษาความชุ่มชื้นให้กับตนเอง ด้วยการพกขวดน้ำติดตัว เพราะเมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณจำเป็นจะต้องดื่มน้ำให้บ่อยยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง และลูกน้อยของคุณที่อยู่ในครรภ์
  • สวมเสื้อผ้าที่เบาสบาย : เนื่องจากการเดินทางไกลจะทำให้คุณรู้สึกเมื่อยล้า การได้ใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และไม่รู้สึกเครียดเมื่อต้องใช้เวลานานในการเดินทาง
  • สุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญ : เนื่องจากคนตั้งครรภ์ มักจะเข้าห้องน้ำบ่อย การเดินทางไกล จึงมักจะประสบปัญหาของการต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ คุณแม่จึงจำเป็นต้องพกเจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ ทิชชู่เปียก ขณะเดินทาง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ประโยชน์ของ คนท้องเที่ยวทะเล คนท้องเที่ยวทะเลดีไหม เที่ยวทะเลตอนท้อง

คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ

คนท้องเล่นน้ำทะเลได้ไหม ส่งผลกระทบอะไรต่อเด็กในครรภ์ หรือเปล่า?

 

ที่มา : timesofindia.indiatimes.com

บทความโดย

Khunsiri