คุณแม่ตั้งครรภ์ กับ เคล็ดลับสำคัญที่ควรต้องรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก่อนการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องมีการเตรียมตัววางแผน คุณแม่ควรจะตรวจเช็กว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะผู้หญิงมีหลายบทบาทที่ต้องทำและเพิ่มความรับผิดชอบเป็นพิเศษเมื่อถึงเวลา “ตั้งครรภ์” เพื่อให้ลูกน้อยที่กำเนิดมามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้เรื่องของ เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ต้องเตรียมพร้อมและใส่ใจเป็นพิเศษในหลากหลายเรื่อง ทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารและโภชนาการ หรือแม้แต่การปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมกับความเจ็บป่วยของลูกในอนาคตด้วย

 

 

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้

1. เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ข้อแรก คือ หาข้อมูลที่ฝากท้องและเตรียมตัวพบแพทย์ทันทีที่รู้ว่ากำลังมีน้อง พร้อมอัปเดตอาการหรือโรคประจำตัว

2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก เน้นโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก งดอาหารสุกๆ ดิบๆ และดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน พร้อมทั้งลดเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่และสารเสพติด กระทบต่อการเจริญเติบโตของลูก ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง และเสี่ยงแท้งได้

3. พักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน ก็คือเคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้ แถมยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ในช่วง 3-6 เดือน แต่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดควรงด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ระมัดระวังในการใช้ยาทุกชนิดโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังพัฒนาอวัยวะและระบบประสาทต่างๆ จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง แม้แต่ยาสามัญประจำบ้าน

5. ออกกำลังกายเบาด้วยการ เดิน โยคะ หรือว่ายน้ำ ไม่ควรออกกำลังกายรุนแรงหรือหักโหม และไม่ควรออกกำลังกายต่อเนื่องเกิน 30 นาที

6. เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สำคัญคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ยแทนรองเท้าส้นสูง เลือกเสื้อผ้าสวมใส่สบายแก่การเคลื่อนไหว ไม่ฉีดโบทอกซ์ ไม่สักลวดลายบนลำตัว อีกทั้งงดฟอกฟันขาว ทำสี ยืดหรือดัดผม เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

7. แม่ท้องที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่ควรเดินหรือยืนนานๆ อาจทำให้ขาและเท้าบวมขึ้น และเกิดเส้นเลือดขอดที่ขาหรือทำให้ปวดหลังง่าย และอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

บทความที่น่าสนใจ : เคล็ดลับการตั้งครรภ์ และวิธีสังเกตอาการคนท้องระยะเริ่มแรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

8. งดอบไอน้ำหรือการอบซาวน่า ความร้อนจากไอน้ำทำให้ร่างกายของแม่ท้องขาดน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น อาจทำให้ทารกในครรภ์แท้งได้ การขาดน้ำส่งผลทำให้เลือดข้น จนทำให้เส้นเลือดอุดตัน เลือดจึงไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้น้อยลง ทำให้ทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่และอาจถึงขั้นแท้งได้

9. คุณแม่ตั้งครรภ์คนไหนที่เลี้ยงน้องแมว หรือน้องหมา ต้องงดทำความสะอาดมูลภายในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อปรสิต (Toxoplasma gondii) ที่สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10. ควบคุมจิตใจไม่ให้หงุดหงิดง่ายและเครียด ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายและความกังวลจากการตั้งครรภ์

11. ออมเงิน และทำประกันสุขภาพ เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะในอนาคตอาจเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดได้ การลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยเป็นการออมเงิน และปรึกษากับบริษัทประกัน เป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อให้ตัวคุณแม่และลูกได้รับสิทธิที่เป็นประโยชน์

12. กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจหาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์เพิ่มเติม เพื่อลูกน้อยในครรภ์ให้เติบโตสมบูรณ์

13. ควรตรวจหา “ความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ” หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ และอาจมีความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ ถึงแม้จะยังไม่มีการป้องกันได้แบบ 100% แต่ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง

14. การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ หรือการตรวจ NIPT (Non Invasive Prenatal Testing) ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดดาวน์ซินโดรม หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ เพื่อช่วยคลายความกังวลและวางแผนดูแลก่อนที่ลูกน้อยจะออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

บทความที่น่าสนใจ : ตรวจการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล ราคาเท่าไหร่ แม่นยำกว่าตรวจเองแค่ไหน?

 

ปัจจัยสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เรียกว่าความเสี่ยงสูง

สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงออกเป็น 3 ด้านคือ ตัวคุณแม่เอง ตัวทารก และรกและน้ำคร่ำ ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน

1.ตัวคุณแม่เอง จะมีทั้งความเสี่ยงด้านอายุ คือคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี หรือเกินกว่า 35 ปีขึ้นไป ก็จัดอยู่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนั้นก็จะเป็นเรื่องภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์และโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, เคยมีประวัติการแท้ง, เคยคลอดลูกที่มีความพิการ, ตกเลือด, เคยผ่าตัดเนื้องอก, คนที่เคยทำเด็กหลอดแก้ว หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษในท้องที่ผ่านมา

2.ตัวทารก คือทารกมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ หรือมีการตรวจพบว่าทารกพิการตั้งแต่กำเนิด และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดก็จัดอยู่ในมารดาที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

3.รกและน้ำคร่ำ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำหรือ มารดาที่ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ

ซึ่งสาเหตุของแต่ละคนเวลามาพบคุณหมอ ปกติคุณหมอจะซักประวัติและตรวจเช็กหาความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มต้น แต่จากทั้งสามสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และมีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากตัวคุณแม่มากที่สุด แต่สาเหตุก็อาจจะแตกต่างกันไป ปัจจุบันคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ก็จะมีปัญหาความเสี่ยงสูงเนื่องจากอายุมากเป็นส่วนใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ถึงคุณแม่จะมีภาวะเสี่ยงสูง ก็สามารถมีลูกได้ถ้าดูแลตัวเองดี

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของ คุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย แต่ถ้าคนที่มีภาวะเสี่ยงสูง เช่น เป็นเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ก็อาจจะต้องมานอนโรงพยาบาลเพื่อดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด ต้องทำอัลตราซาวด์ถี่กว่าปกติ นัดพบคุณหมอถี่ขึ้น และต้องคอยสังเกตตัวเอง อาจจะต้องนับลูกดิ้นช่วง 32 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มตัวใหญ่ขึ้นจนคุณแม่จับความรู้สึกเองได้ คอยสังเกตอาการผิดปกติตามที่บอกไป หรือคนที่มีโรคประจำตัว อย่างเบาหวาน ก็ต้องคอยเจาะเพื่อตรวจระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ภาวะไหน ที่คุณหมอไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ

จริงๆ แล้วภาวะที่ไม่ควรตั้งครรภ์เลยก็คือ คนที่มีโรคประจำตัวที่ค่อนข้างอันตราย เช่น โรคหัวใจชนิดรุนแรง เพราะถ้ามีการตั้งท้องขึ้นมาจะทำให้เกิดอันตรายกับคุณแม่ได้มาก เพราะช่วงที่ตั้งครรภ์จะมีสารที่เป็นเลือดและน้ำในตัวมากกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดหัวใจวายได้ หรือไม่ก็กลุ่มคนที่โรคยังไม่สงบอย่าง SLE หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง เพราะถ้าตั้งท้องขึ้นมาก็จะทำให้โรคกำเริบหนักขึ้นได้

แต่ที่คุณหมอจะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์เลยก็คือ เป็นโรคที่เป็นอันตรายกับคุณแม่ถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจชนิดรุนแรง อีกกลุ่มก็คือทารกในครรภ์พิการจนไม่สามารถเลี้ยงได้ คือต่อให้ตั้งครรภ์จนคลอดออกมาแล้วก็ต้องเสียชีวิตแน่ๆ ส่วนใหญ่จะตรวจจากการที่อัลตราซาวด์ช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ คุณหมอก็จะพิจารณายุติการตั้งครรภ์

 

บทความที่น่าสนใจ

คนท้องออกกำลังกายได้ไหม ? ควรทำหรือไม่ในขณะตั้งครรภ์

คนท้องกินลาบดิบได้ไหม มีความเสี่ยงมาพร้อมกับความอร่อยหรือไม่ ?

7 วิตามิน คนท้อง วิตามินเสริมที่ดีที่สุดสำหรับคนท้องและทารกในครรภ์

ที่มา (cryoviva.com) (www.paolohospital.com)

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn