มีลูกได้ไหม หลังเป็นมะเร็ง

ข่าวดี ผลการศึกษาชี้ ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งในวัยเด็กสามารถมีลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัยของหลายๆคน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.30 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานเสาวนาวิชาการ “เป็นมะเร็งก็มีลูกได้” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุบัติการเกิดโรคมะเร็งและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษามะเร็งในปัจจุบัน โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นประธานเปิดงานเสวนา ณ ห้องประชุมจรัญพัฒน์ ชั้น 6 อาคารอุปการเวชชกิจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ในปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ส่งผลให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสหายจากมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด มักส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสูญเสียความสามารถในการเจริญพันธุ์และการมีบุตรภายหลังจากการรักษามะเร็งหายแล้ว หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งแต่ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ได้แก่ โรคทางระบบโลหิตวิทยา เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เป็นต้น โดยผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะรังไข่หยุดทำงานและอาจจะไม่สามารถมีบุตรได้ในอนาคต

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัย ของหลายๆคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านเทคโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology; ART) ได้มีการพัฒนาวิธีการเก็บรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ (Fertility Preservation) ของผู้ป่วยก่อนการรักษามะเร็ง ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นไข่แล้วทำการเก็บแช่แข็งไข่หรือตัวอ่อน รวมถึงเนื้อเยื่อรังไข่ในผู้ป่วยหญิง หรือ การเก็บแข่แข็งเชื้ออสุจิและเนื้อเยื่ออัณฑะในผู้ป่วยชาย หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วยหญิงแสดงอาการมะเร็งทางนรีเวช เช่น มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น สูตินรีแพทย์สามารถทำการผ่าตัดปากมดลูกโดยให้คงเหลือส่วนของมดลูกไว้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ โดยฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีตัวอย่างความสำเร็จของการรักษาความสามารถในการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ กรณีศึกษาที่ 1 ในปี พ.ศ. 2558 สูตินรีแพทย์ ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้คำปรึกษาและทำการรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผู้ป่วยได้รับการรักษามะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด ด้วยวิธีการกระตุ้นไข่และแช่แข็งตัวอ่อนที่ได้จากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 ภายหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาจากโรคมะเร็งและหายเป็นปกติ ผู้ป่วยได้รับการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรที่เป็นทารกฝาแฝดซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงได้ กรณีศึกษาที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น และได้รับการผ่าตัดปากมดลูก ซึ่งต่อมาสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ จากตัวอย่างความสำเร็จดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์นั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ก่อนทำการรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัย ของ หลายๆคน

การศึกษานี้เป็นความหวังแก่สาวๆ ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน โดยนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยมะเร็งเฟรด ฮัทชิสัน ที่ซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในวัยเด็กมีโอกาสที่จะมีลูกได้ในอนาคต

ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า “ยาเคมีบำบัดสมัยใหม่ส่งผลกระทบของต่อโอกาสในการตั้งครรภ์เพียงเล็กน้อย”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในทางกลับกัน ผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็งจะมีลูกยากกว่า โดยเฉพาะคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

งานวิจัยบอกอะไรเราบ้าง

การศึกษาดังกล่าว มุ่งไปที่ผู้ป่วยมะเร็งที่เคยรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งไดรับการตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ใน The Lancet Oncology

วัตถุประสงค์ในการศึกษา ทีมนักวิจัยรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษาผู้รอดชีวิตจากมะเร็งในวัยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาระหว่างปี 1970 และ 1999

ข้อสังเกตหลักที่ทีมวิจัยค้นพบ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็ง สามารถตั้งครรภ์ได้ในอายุไม่เกิน 45 ปี ในขณะที่พี่น้องคนอื่นๆ โอกาสตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 80
  • ร้อยละ 50 ของผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็ง มีโอกาสที่จะมีลูกได้ ในขณะที่พี่น้องคนอื่นๆ โอกาสตั้งครรภ์อยู่ที่กว่าร้อยละ 80
  • ในผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็ง หากได้รับยาเคมีบำบัดมาก โอกาสที่จะมีลูกจะน้อยลง
  • โดยรวม พบว่า ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็ง จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับพี่น้องที่ไม่เป็นมะเร็ง แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก
  • ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย การได้รับยาเคมีบำบัดในผู้หญิงมีผลกระทบต่อการมีลูกน้อยกว่าผู้ชายมาก

นักวิจัยยังได้ศึกษาถึงผลกระทบจากปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่มีผลต่อการตั้งครรภ์และการให้กำเนิดทารก ในผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 10,938 คนที่เคยเป็นมะเร็ง โดยเปรียบเทียบกับพี่น้อง 3,949 คน ผลการศึกษาพบว่า สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้าที่ระบุว่า ผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีจำนวนสเปิร์มลดลง

ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อผู้ที่เคยเป็นมะเร็งอย่างไร

ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย ดร. เอริค โชว เปิดเผยว่า ผลการศึกษานี้สนับสนุนให้ผู้หญิงเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดตั้งแต่วัยเด็ก จะมีโอกาสมีลูกได้มากกว่า

วิธีตรวจหามะเร็งในเด็ก

การตรวจหามะเร็งในเด็กใครว่าไม่จำเป็น หากพบสัญญาณต่อไปนี้ (แนะนำโดยศูนย์ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหามะเร็งทันที

  • น้ำหนักลดต่อเนื่อง โดยหาสาเหตุไม่ได้
  • ปวดศีรษะ และอาเจียนในตอนเช้าบ่อยๆ
  • บวม หรือปวดกระดูก ข้อต่อ หลัง หรือขา
  • พบก้อนเนื้อ โดยเฉพาะในช่องท้อง คอ อก กระดูกเชิงกราน หรือรักแร้
  • เกิดรอยจ้ำ มีเลือดออก หรือผื่น
  • มีการติดเชื้อบ่อยๆ
  • มีจุดสีขาวในลูกตาดำ
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียนโดยไม่คลื่นไส้
  • เหนื่อยง่าย สังเกตได้ชัดว่า ซีดผิดปกติ
  • สายตา หรือการมองเห็นเปลี่ยนไปโดยฉับพลัน หรือต่อเนื่อง
  • มีไข้โดยไม่รู้สาเหตุบ่อยๆ

การตรวจหามะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากจะได้ผลดีในการรักษาแล้ว ในอนาคตหากตรวจไม่พบรอยโรคมะเร็งหลงเหลือ และแน่ใจว่าจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ ก็สามารถมีลูกได้ ตามที่ผลวิจัยได้กล่าวไว้ค่ะ

ที่มา theasianparent

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชนิด JMML โรคร้ายที่พ่อแม่ไม่ค่อยรู้จัก

แม่ช็อก! พบลูกเป็นมะเร็งจอตา (อีกโรคที่ไม่ควรมองข้าม)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา