อาการเริ่มแรกของคนท้อง เป็นอย่างไร มาเช็กดูกัน !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเริ่มแรกของคนท้อง สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ของแต่ละคนนั้นล้วนแตกต่างกันออกไป โดยในช่วงระยะสัปดาห์แรกของบางคนอาจยังไม่มีอาการที่แสดงท่าทีใดๆ ทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอาการคนท้องเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไหร่และร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน จนอาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าตั้งท้องก็เป็นได้ แต่สำหรับบางคนแล้วอาจมีอาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น อาการเริ่มแรกของคนท้อง ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ลองมาดูกันว่าอาการคนท้องในระยะแรกเริ่มจะเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหล่าคุณแม่มือใหม่ได้เตรียมความพร้อมและรับมือได้อย่างถูกวิธี

 

อาการคนท้องในช่วงระยะ 1-2 สัปดาห์แรก

หลังจากที่เราได้ทำการตรวจครรภ์เป็นที่เรียบร้อยและพบว่าต้องกลายเป็นคุณแม่มือใหม่ไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งอาการเริ่มแรกของคนท้อง ก็จะแสดงออกมาไม่เหมือนกันทุกคน แต่หนึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้เป็นลำดับแรกเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องในระยะเริ่มต้นช่วง 1 สัปดาห์แรก นั่นก็คือ การขาดประจำเดือน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ อีกมากมาย วันนี้เราจะพาคุณแม่มาดูว่ามีอาการอะไรบ้าง เพื่อจะได้เป็นการสังเกตตัวเองและรับมือให้เกิดความพร้อมมากที่สุด

 

1. ประจำเดือนขาด

หนึ่งในอาการที่สังเกตได้ง่ายมากที่สุดสำหรับคนท้องเลยก็คือประจำเดือนขาด โดยปกติทั่วไปแล้วประจำเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาประมาณ 21-35 วัน และมาใกล้เคียงกันทุกเดือน แต่ถ้าพบว่าประจำเดือนขาดไปนานกว่า 10 วัน นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามการที่ประจำเดือนขาดยังสามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยด้วยกันได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายสะสมความเครียดมากเกินไป การใช้ยาคุมกำเนิด และการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือแม้แต่การเป็นโรคที่มีผลต่อการขาดประจำเดือน เช่น โรคเบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับรังไข่และระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดก็เป็นได้

บทความที่น่าสนใจ : คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1

 

2. เลือดซึมออกจากช่องคลอด

หากพบว่ามีเลือดซึมออกจากทางช่องคลอดที่แน่ใจแล้วว่าเลือดนั้นไม่ได้เกิดจากประจำเดือนมา อาการนี้อาจเป็นสัญญาณสำหรับการตั้งครรภ์ในระยะแรก ซึ่งเกิดจากการปรับตัวของร่างกายที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปฏิสนธิภายในมดลูก 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยอาการดังกล่าวเกิดจากตัวอ่อนที่ฝังอยู่ตามเยื่อบุโพรงมดลูกก่อให้เกิดเลือดสีจางหรือสีชมพูในปริมาณที่ไม่มากไหลออกมาจากช่องคลอด แต่เลือดจะหยุดไหลไปเองภายใน 1-2 วัน หากไม่มีอาการเพิ่มเติม เช่น การปวดท้องเกร็ง ถือว่าไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่เมื่อไหร่ที่สังเกตได้ว่าเลือดไหลไม่หยุดและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย อย่าปล่อยไว้นานควรจะรีบไปพบแพทย์ให้โดยเร็วที่สุด เพราะเลือดที่ไหลออกมาอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ถึงภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ส่งผลให้เกิดการแท้งลูกได้นั่นเอง

 

3. ตกขาวมากผิดปกติ

เมื่อร่างกายได้เกิดการตั้งครรภ์ก็จะพบว่าทั้งฮอร์โมนและสรีระภายในร่างกายมีการปรับตัวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการตกขาวในปริมาณที่มากกว่าปกติ หากพบว่าตกขาวมีลักษณะเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นหรือสีครีมนั้นไม่มีอาการผิดปกติและเป็นอันตรายแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดได้มีการสร้างของเหลวเพื่อหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอดเป็นธรรมดา

เมื่อคุณแม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์พบว่ามีตกขาวมากกว่าปกติต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อราที่เกิดจากความอับชื้น และเมื่อไหร่ที่พบว่าตกขาวมีลักษณะเป็นสีเขียว สีเหลือง และพ่วงมาด้วยอาการระคายเคือง นั่นบ่งบอกถึงการติดเชื้อที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เต้านมเกิดการเปลี่ยนแปลง

หากพบว่าตัวเองได้ตั้งครรภ์เป็นที่เรียบร้อย เต้านมของคุณแม่จะมีการขยายขนาดและมีอาการเจ็บตึงเข้ามาด้วย เนื่องจากรังไข่ได้มีการผลิตมากยิ่งขึ้นจึงทำให้หัวนมและลานนมมีสีเข้มและคล้ำ โดยอาการนี้สามารถพบเห็นได้อย่างชัดเจนกับคนที่เป็นคุณแม่ครรภ์แรก

บทความที่น่าสนใจ : อาการเจ็บเต้านม ของคุณแม่หลังคลอด บรรเทาอาการอย่างไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. อาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลีย

สำหรับอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติจะพบได้กับคนท้องในช่วงแรก เนื่องจากร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวภายในร่างกายมีการเผาไหม้หรือใช้พลังงานเพื่อนำไปพัฒนาทารกภายในครรภ์และร่างกายเกิดการสูญเสียพลังงานมากขึ้น จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายมากกว่าเดิม

โดยอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลียง่ายจะเริ่มหายไปเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง ช่วงนี้คุณแม่จึงต้องดูแลและใส่ใจตัวเองมากเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหารไปจนถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยบรรเทาให้อาการอ่อนเพลียนี้ดียิ่งขึ้น

 

6. ปวดหัวเวียนหัว

อาการปวดหัวหรือเวียนหัว คือหนึ่งในสัญญาณสำหรับการเริ่มตั้งครรภ์ที่ส่งผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งในระยะตั้งครรภ์สัปดาห์แรกนั้นบางคนอาจมีอาการปวดหัวที่บ่อยมากขึ้นและอาการปวดมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันสภาพร่างกายของผู้เป็นแม่ที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นเมื่อคุณแม่รู้ตัวแล้วว่ากำลังตั้งครรภ์ก็ควรที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงจากความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกมาสูดอากาศที่ปลอดโปร่งตามสวนสาธารณะก็สามารถช่วยลดอาการความเครียดและอาการปวดหัวนี้ลงได้

 

7. คัดเต้านมและเจ็บหัวนม

อาการเจ็บผสมกับตึงบริเวณเต้านมและหัวนม นับว่าเป็นหนึ่งสัญญาณสำหรับการตั้งครรภ์ในช่วงระยะ 1-2 สัปดาห์แรก โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนฮอร์โมนภายในร่างกายและจะพบได้ก็ต่อเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น สังเกตเห็นได้ว่าเต้านมจะตึงและบริเวณลานหัวนมจะกว้างผสมกับสีของหัวนมที่คล้ำมากกว่าปกติ ซึ่งอาการทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตน้ำนมให้กับลูกของเรานั่นเอง

ดังนั้นเมื่อคุณแม่มือใหม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์แล้ว ควรเลือกซื้อชุดชั้นในที่มีขนาดพอดี สามารถรับน้ำหนักของเต้านมได้อย่างเหมาะสมและไม่รัดจนเกินไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 เดือน อาการคัดเต้านมและเจ็บหัวนมก็จะหายกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

 

8. ปวดหลัง

อาการปวดหลังที่แม้แต่ตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ก็ถือว่าปวดเป็นปกติอยู่แล้ว ยิ่งเข้าสู่ภาวะการตั้งครรภ์เมื่อไหร่ต้องบอกเลยว่าจะปวดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลางที่เป็นผลพวงมาจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักของทารกในท้องที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นภายในร่างกายของคุณแม่ 

นอกจากนี้อาการปวดหลังยังเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ โดยมาจากสาเหตุของน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการทรงตัวที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการเดิน นั่ง หรือยืนที่อาจทำให้มีปัญหาตามมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณแม่ที่มีอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ต้องควรปรับท่าการนอนหลับด้วยการนอนตะแคง แล้วหาหมอนข้างมาซ้อนบริเวณขา และไม่ควรนอนที่นอนที่ให้ความนุ่มจนเกินไป ทั้งนี้หากมีอาการปวดหลังมากจนทนไม่ไหวสามารถซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเองได้ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ในทันที

 

9. ท้องผูก

อาการท้องผูก ปัญหาที่มักพบได้บ่อยกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่สภาวะตั้งครรภ์ อันเนื่องมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและการขยายตัวของมดลูกที่เข้าไปเบียดกับลำไส้ใหญ่ทำให้ย่อยอาหารได้ยากและมีลมในกระเพาะ โดยสามารถพบได้ทั่วไปและนับว่าเป็นสภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับคนท้อง

ทั้งนี้คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกสามารถรับประทานยาที่มีเส้นใยสูง เช่น ผลไม้ที่มีวิตามินซี ผักใบเขียว ลดเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกนี้ลงได้

 

 

10. ปัสสาวะบ่อย

อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์แล้ว ในช่วงแรกหรือ 3 เดือนแรก ร่างกายจะสร้างของเหลวภายในและมดลูกที่ขยายมีความต้องการเลือดไปเลี้ยงมดลูกจึงส่งผลให้ไตทำงานหนักมากกว่าปกติ ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เลือดผ่านไตมากขึ้น จึงทำให้ไตต้องกรองเอาปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น

โดยสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องคอยเข้าห้องน้ำปัสสาวะบ่อยนั้นเป็นเพราะมดลูกที่อยู่ติดกับด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่ได้เบียดและกดทับกระเพาะปัสสาวะ แต่เมื่อถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู้ภาวะปกติ เนื่องจากการกดทับกระเพาะปัสสาวะลดลงและเมื่อถึงช่วงใกล้ก็จะมีอาการปัสสาวะบ่อยอีกครั้งเพราะหัวของทารกได้ลดลงต่ำอีกครั้ง

 

11. อารมณ์แปรปรวน

เมื่อเข้าสู่ภาวะการตั้งครรภ์ในระยะแรกของคุณแม่มือใหม่ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกอารมณ์แปรปรวน เช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหว ขี้น้อยใจ หรือร้องไห้เก่ง เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเจอ โดยเฉพาะกับคุณพ่อมือใหม่ที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือให้จนได้

โดยภาวะอารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในและร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงการหาสมดุลที่ดีที่สุดในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้อารมณ์ทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ดังนั้นในช่วงที่อารมณ์แปรปรวนคุณแม่จะต้องคอยหากิจกรรมบันเทิงไว้เพื่อผ่อนคลาย และที่สำคัญคนใกล้ตัวจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากและคอยดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดขึ้นมา

 

12. อยากกินของเปรี้ยว

อาการสุดคลาสสิกที่หลายคนต้องเคยประสบพบเจอกับคนรอบตัวกันมาแล้ว เมื่อเกิดความรู้สึกอยากกินของเปรี้ยวทั้งที่ปกติแล้วเป็นคนไม่กินเปรี้ยว อาการแบบนี้บ่งบอกได้ชัดเจนเลยว่ากำลังตั้งครรภ์ นอกจากมีความต้องการอยากจะกินของเปรี้ยวแล้ว คุณแม่จะยังมีอาการอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ไม่เคยอยากกินมาก่อน หรือบางคนอาจจะเบื่ออาหารไปเลยก็มี เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้การรับรู้รสชาตินั้นเปลี่ยนไปและอาการของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป

 

13. ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง

นอกจากเรื่องของภาวะอารมณ์และร่างกายแล้ว อาการท้องในระยะแรกยังส่งผลกระทบต่อความต้องการทางเพศได้อีกด้วย เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงอาจทำให้คุณแม่บางรายมีความต้องการทางเพศลดลง หรือบางรายอาจมีความต้องการทางเพศเพิ่มมากขึ้น โดยอาการทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สอง

 

14. จมูกไวต่อกลิ่น

อีกหนึ่งอาการที่เกิดขึ้นสำหรับคนตั้งครรภ์ในระยะแรกนั่นก็คือจมูกการรับรู้ที่ไวต่อกลิ่น เช่น จะได้กลิ่นน้ำหอมรุนแรงมากกว่าปกติจนกลายเป็นฉุนและมีกลิ่นเหม็นได้ ถึงขั้นรุนแรงจนอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ในบางรายอาจมีการเหม็นกลิ่นอาหาร หรือกลิ่นตัวสามีก็เป็นได้

 

15. รู้สึกเหนื่อยง่าย

เมื่อถึงช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายแล้วมีอาการเหนื่อยง่ายและหายใจถี่มากขึ้น นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกอีกหนึ่งสิ่งว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากภายในร่างกายของคุณแม่กำลังมีอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังเจริญเติบโต ดังนั้นจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มเติมจากคุณแม่ และเมื่อเด็กในครรภ์มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้นก็จะส่งผลให้คุณแม่หายใจถี่อย่างต่อเนื่องและเหนื่อยง่ายตลอดการตั้งครรภ์ ที่สำคัญคือห้ามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว ควรที่จะค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่ทันคาดคิด

 

อาการเริ่มแรกของคนท้อง โดยในระยะแรกจะมีอาการของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการเริ่มแรกส่วนใหญ่ที่มักพบเจอได้บ่อยๆ คือ การขาดประจำเดือน คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ เหม็นอาหาร และอยากทานของเปรี้ยว แต่สำหรับบางคนแล้วแทบจะไม่แสดงอาการอะไรเลยทั้งสิ้น แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการความมั่นใจว่าตนเองตั้งครรภ์จริงหรือไม่ สามารถซื้อชุดตรวจครรภ์ตามร้านขายยาทั่วไปและทำการตรวจครรภ์ได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ และในกรณีที่ทราบผลลัพธ์แล้วว่าได้ตั้งครรภ์เป็นที่เรียบร้อย หลังจากนี้ควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและดูแลเอาใจสุขภาพให้ดีที่สุด ทั้งเรื่องของอาหารการกิน หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด รวมทั้งใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพื่อเข้าใจในการเตรียมความพร้อมการรับมือได้อย่างดีที่สุดและรับรู้บริบทของความเป็นแม่ให้มากยิ่งขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ :

วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 6 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 20

ที่มา : s-momclub, 2, 3

บทความโดย

Thanawat Choojit