แม่ท้อง ปวดท้องตรงกลาง คืออาการอะไร ควรไปหาหมอหรือเปล่า ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการปวดท้อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุก็อาจจะมาได้จากหลายสาเหตุ โดยมักขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ทั้งยังรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการปวดท้องได้ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า แม่ท้อง ปวดท้องตรงกลาง คืออาการอะไร ควรไปหาหมอหรือเปล่า ?

 

ปวดท้องตรงกลาง อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์

เพราะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายและฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกสบายตัว และอาการปวดท้องก็เป็นอาการที่พบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ในบางครั้ง ถ้ามีอาการเจ็บมาก ๆ แม่หลายคนย่อมเกิดความกลัว และความกังวลขึ้นมาในใจอย่างแน่นอน โดยมาจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยคือ

ที่มา : babygiftretail.com

มดลูกขยายใหญ่

เมื่อตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกที่กำลังเติบโต อาจทำให้รู้สึกตึงหรือปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยหรือตรงกลางท้อง เป็นอาการปกติที่พบได้บ่อย มักไม่รุนแรง พบได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินอาหารทำงานช้าลง อาหารย่อยยาก ส่งผลให้ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้องได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการปวดท้องจากกรดไหลย้อน

เมื่อมดลูกที่ขยายใหญ่ไปกดทับกระเพาะอาหาร และอาจทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาจนแม่ท้องมีอาการแสบหน้าอก อาจทำให้รู้สึกปวดท้องตรงกลางได้

ท้องผูก

การที่แม่ท้องมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และประกอบกับการเคลื่อนไหวที่น้อยลง นั่นอาจเป็นสาเหตุทำให้ท้องผูก และส่งผลให้มีอาการปวดท้องได้

แก๊สในกระเพาะอาหาร

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมไปถึงทุกการขยับร่างกายของคุณแม่ท้อง ล้วนมีส่วนทำให้เกิดการสะสมของแก๊สซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

การบีบตัวของมดลูก (Braxton Hicks contractions)

เมื่อตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการบีบตัวเป็นระยะ ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด โดยอาการนี้มักไม่รุนแรง รู้สึกเหมือนปวดตื้อ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กล้ามเนื้อตึง

เมื่อมดลูกขยายใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ยืดออก กระดูกเชิงกรานที่ขยายตัว อาจทำให้ปวดท้องน้อยหรือตรงกลางท้องได้

ทารกดิ้น

เมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น การดิ้นของทารกอาจกดทับอวัยวะภายใน ทำให้รู้สึกปวดหรือจุกเสียดตรงกลางท้องได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปวดท้องแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์

  • ปวดท้องรุนแรง: อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะแท้งบุตร หรือการคลอดก่อนกำหนด
  • ปวดท้องร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด: อาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตร
  • ปวดท้องร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไข้: อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  • ปวดท้องอย่างเฉียบพลัน: อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะแทรกซ้อนของรก

อาการปวดท้อง บรรเทาได้อย่างไรบ้าง ?

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน: ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันอาการเสียดท้อง และอาหารไม่ย่อย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด ทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ : ช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและป้องกันอาการท้องผูก
  • ทานอาหารใยอาหารสูง: ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและลดอาการท้องผูก
  • ปรับท่าทาง: ลุกนั่ง เดิน ยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ นอนตะแคงข้าง
  • ใช้หมอนหนุนหลัง: หากคุณแม่มีอาการปวดท้องน้อย คุณแม่สามารถใช้หมอนนุ่ม ๆ มาหนุนหลังได้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อย และทำให้คุณแม่รู้สึกสบาย ผ่อนคลายมากขึ้นด้วย นอกจากนี้หากคุณแม่นอนตะแคงก็สามารถใช้หมอนหนุนได้เช่นกัน
  • งดการใส่ส้นสูง: การใส่ส้นสูงในช่วงตั้งครรภ์ สามารถส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ และอาการปวดกล้ามเนื้อนั้น ก็สามารถส่งผลไปยังท้องน้อยได้เช่นกัน ดังนั้นให้พยายามหลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูง และใส่รองเท้าประเภทอื่นแทนเพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ และลูกในครรภ์
  • นอนตะแคงข้างซ้าย: ช่วยคลายความกดดันที่ท้อง
  • ประคบร้อนหรือเย็น: ช่วยบรรเทาอาการปวด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • ทานยาแก้ปวด: ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง
  • พบแพทย์: กรณีปวดท้องรุนแรง ปวดนาน ปวดไม่หาย หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ตกขาว มีเลือดออกทางช่องคลอด

ข้อควรระวัง:

  • ไม่ควรซื้อยามาทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

การติดตามการตั้งครรภ์

  • ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • แจ้งแพทย์หากมีอาการผิดปกติใด ๆ

ที่มา : facebook.com/childingeverything, worldwideivf.com, sanook.com

ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถแทนที่คำแนะนำทางการแพทย์ได้ กรณีมีอาการปวดท้อง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ปวดท้องคลอด อาการเป็นอย่างไร สัญญาณแบบไหนแสดงว่าใกล้คลอด?

คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

watcharin