คุณแม่มี ประจำเดือน ให้นม ได้ไหม เกี่ยวข้องอย่างไร เรื่องที่แม่ ๆ ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน คงอาจจะเคยได้ยินว่า ถ้า ประจำเดือน ให้นม แล้วประจำเดือนไม่มา หรือไม่ก็มาช้า จะมาอีกทีก็ลูกโต แต่ในความเป็นจริง คุณแม่บางคน กลับมีประจำเดือนไว ทั้ง ๆ ที่ลูกยังไม่ถึงหนึ่งขวบเลยก็มี

 

ประจำเดือนเกี่ยวกับการให้นมลูกอย่างไร

จริงอยู่ที่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ที่คลอดลูกใหม่ ๆ แล้วประจำเดือนยังไม่มาก็คือ "การให้นมลูก" แต่การที่ประจำเดือนจะมาเร็วหรือมาช้านั้น เชื่อหรือไม่คะว่า เป็นการเกี่ยวโยงกับเรื่องของการให้นมลูกนี่แหละค่ะ เสมือนกับห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงต่อกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ประจำเดือน ให้นม เกี่ยวข้องกัน

จากการศึกษาพบว่าคุณแม่เป็นที่ให้นมลูกกินบ่อย ๆ ไม่เว้นมื้อดึกก็ยังให้ลูกทาน หรือคุณแม่ที่ขยันปั๊มนมทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ประจำเดือนจะมาช้ากว่าคุณแม่ที่ปั๊มนมน้อย หรือปั๊มแล้วทิ้งช่วงนาน รวมถึงคุณแม่ที่ให้นมผงลูกค่ะ

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะ ฮอร์โมนสร้างน้ำนมมากดฮอร์โมนเพศทำให้ไข่ของคุณแม่ตกช้า ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคุณแม่ที่ให้นมผง หรือปั๊มนมห่าง ที่เป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะฮอร์โมนสร้างน้ำนมทำงานน้อย ทำให้ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่หนักขึ้น ไข่จึงกลับมาโคจรตกได้เหมือนเดิมหรือตกเร็วขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ให้นมลูกอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรให้นมยังไงในครั้งแรก เข้าเต้าแบบไหนดี?

 

ทำไมน้ำนมชอบถดถอยขณะให้นมลูก ?

ถ้าหากคุณแม่สังเกต จะพบว่า ทุกครั้งที่ประจำเดือนมา น้ำนมของคุณแม่ จะลดน้อยถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติค่ะ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลอะไร สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะเจ้าฮอร์โมนอีกนั่นแหละค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนเพศกำลังทำงานหนักอยู่ ทำให้ฮอร์โมนน้ำนมนั้น ลดน้อยถอยลงไป เสมือนกับ ถึงเวลาที่พวกเขาจะต้องพักร้อน และเมื่อไหร่ก็ตามที่หมดเวลาพักร้อนหรือวันลาหมด พวกเขาก็จะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมเองค่ะ

นอกจากนั้น หากคุณแม่เป็นกังวลว่า การมีประจำเดือนเป็นอันตรายกับลูกไหมละก็ งานนี้ ไม่ต้องคิดเลยค่ะ สบายใจได้ เพราะประจำเดือนไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ กับลูกได้เลยค่ะ จะมีก็แค่น้ำนมน้อยและรสชาติเปลี่ยน ซึ่งตรงจุดนี้ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยของคุณแม่หงุดหงิดและคุณแม่เจ็บหัวนมมากกว่าปกติเป็นธรรมดาค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

ประจำเดือนหลังคลอด

ประจำเดือนหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายท่านอยากรู้ และมีความเชื่อว่าหลังจากคลอดลูกแล้ว การให้นมจะทำให้ไม่มีประจำเดือน แต่จริง ๆ แล้ว ประจำเดือนอาจจะมาตามปกติหลังจากคลอดลูกเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • บางครั้งประจำเดือนอาจมาช้าไปหลายเดือนเมื่อคุณแม่ต้องให้นมลูก
  • ประจำเดือนอาจมาช่วงที่คุณแม่หยุดให้นมลูกชั่วคราว
  • ในบางครั้ง ประจำเดือนอาจไม่มาจนกระทั่งคุณหยุดให้นมลูกแล้ว
  • หลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกหลังจากคลอดลูก แม้ว่าคุณจะให้นมลูกอยู่ ประจำเดือนก็จะมาทุกเดือนตามปกติ

 

การให้นมขณะที่มีประจำเดือน

คุณแม่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการให้นมลูกช่วงที่มีประจำเดือนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณแม่อาจต้องทำความเข้าใจใหม่ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การให้นมขณะมีประจำเดือนไม่เป็นอันตรายต่อลูก
  • ปริมาณสารอาหารในน้ำนมยังเหมือนเดิม
  • รสชาติของน้ำนมอาจเปลี่ยนไปบ้างเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • บางครั้งลูกน้อยของคุณอาจมีอาการหงุดหงิดเนื่องจากน้ำนมเปลี่ยนรสชาติ แต่เป็นเรื่องปกติ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป
  • คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องวิตามินและอาหารเสริมสำหรับเพิ่มน้ำนมได้
  • คุณอาจมีอาการเจ็บหัวนมเนื่องมาจากการมีประจำเดือนได้ในบางครั้ง
  • บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกทรมานกับการให้นมลูกน้อย ซึ่งอาจมีผลมาจากอาการปวดประจำเดือนครับ
  • การให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้กระบวนการผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามไปด้วย อีกทั้งการให้นมลูกยังสามารถช่วยลดอาการเต้านมคัดและอาการเต้านมอักเสบได้อีกด้วย

 

 

ประจำเดือนแรกหลังจากให้นมลูก

ช่วงเวลาที่คุณแม่ให้นมลูกและยังไม่มีประจำเดือนหลังจากการคลอดจะเรียกว่า lactational amenorrhea ซึ่งในขณะที่ลูกดูดนมแม่ ระดับฮอร์โมน Prolactin จะสูงขึ้นทำให้ยับยั้งการตกไข่ได้ ในแม่ที่ให้ลูกดูดนมจากเต้าสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3-4 ชม.จะทำให้สามารถควบคุมการตกไข่ได้ถึง 95% การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะเป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติได้ 70 วัน แต่ถ้าไม่ได้ให้นมลูกเลยจะมีไข่ตกใน 45 วันหลังคลอด ดังนั้น 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดจะยังไม่มีการตั้งครรภ์ แต่หลังจากนั้นควรต้องมีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย

ในแม่ที่ให้นมลูกอย่างเดียว 6 เดือน และยังไม่มีประจำเดือนพบว่าอัตราการตั้งครรภ์มีเพียง 0.45-0.9 % เมื่อประจำเดือนมาตามปกติแล้ว คุณก็สามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎตายตัวสำหรับร่างกายของมนุษย์ แม้ว่าประจำเดือนยังไม่มาหลังคลอด แต่คุณก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

 

  • ร่างกายของคุณอาจมีการตกไข่ได้แม้ยังไม่มีประจำเดือนหลังจากคลอด
  • ถ้าคุณยังไม่อยากตั้งครรภ์ลูกคนถัดไป คุณควรใช้ยาคุมกำเนิดจะปลอดภัยที่สุด
  • หากคุณยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการมีประจำเดือนหรือการใช้ยาคุมกำเนิดหากต้องให้นมลูก คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

วิธีพิจารณาว่าทารกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่

  • น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์เพิ่มวันละ 30 กรัม/วัน
  • ปัสสาวะ หลังเกิดทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะถ่ายปัสสาวะประมาณ 1 ครั้ง ในวันแรก 2 ครั้งในวันที่ 2 และ 3 ครั้งในวันที่ 3 หลังจากนี้ จะถ่ายปัสสาวะเพิ่มขึ้น และการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งจะชุ่มผ้าอ้อม ประมาณ 6- 8 ครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองใส สีเหลือง
  • อุจจาระมีลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปกติ ระยะ 2- 3 สัปดาห์แรก ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย ลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ไม่แห้งแข็ง สีเหลือง เนื้อละเอียด ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน หรือเปื้อนผ้าอ้อมหลังกินนมแม่ทุกมื้อได้
  • ภายหลังกินนมอิ่มทารกจะนอนหลับได้นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง อารมณ์ดี ดูมีความสุขภายหลังกินนมแม่
  • ได้ยินเสียงกลืนนม เมื่อคุณแม่สร้างน้ำนมได้มากร่วมกับทารกดูด และกลืนได้ดี
  • เต้านมคุณแม่ตึงก่อนป้อนนม นุ่มหลังดูดนม
  • เต้านมคุณแม่ที่ไม่ถูกดูดมีน้ำนมหยด

 

ในช่วงวัยของทารกการได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ มีแต่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่จึงต้องเรียนรู้ และปรับตัว เพื่อให้สามารถให้นมลูกได้ในหลายสถานการณ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

ท่าให้นมลูก อุ้มลูกให้นม เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี ดูดจ๊วบๆ น้ำนมไหลดี

คุณแม่ให้นม ลดน้ำหนักได้ไหม เคล็ดลับเผาผลาญวันละ 500 แคลอรี่

ที่มาข้อมูล : Facebook: นมแม่แฮปปี้ , Phyathai

บทความโดย

Muninth