ประโยชน์ของขวดนมสีชา ขวดนมคอกว้าง ขวดนมคอแคบ ปัจจุบันขวดนมมีให้เลือกมากมายหลายประเภท แต่ก็มีที่แตกต่างเช่น สีของขวดนม ประโยชน์ของขวดนม สีชา ดีกว่าขวดนมอื่นยังไงนะ
ขวดนมมีกี่แบบ
- ขวดแก้ว เป็นขวดนมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและถูกสุขลักษณะที่สุด ทนต่อรอยขีดข่วนสูงที่สุด และทนต่อความร้อนได้สูงที่สุด อายุการใช้งานยาวนานไม่จำกัดจนกว่าจะแตกหรือมีรอยขีดข่วนเยอะมาก แต่ข้อดีที่มากมายนี้ก็มาพร้อมกับข้อด้อยอย่างเช่น มีน้ำหนักมากกว่าขวดนมที่เป็นพลาสติก อยู่ที่ประมาณ 140-300 กรัม ต่อ 1 ขวด ตกแล้วแตก ในขณะที่ขวดนมพลาสติกไม่แตก
- ขวดพลาสติก เป็นขวดนมที่มีความเบาและไม่แตกง่ายแม้จะตกจากที่สูงก็ตาม ขวดนมพลาสติกยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามคุณภาพอีกด้วย ได้แก่ PP PES PPSU
- PP ผลิตจากวัสดุ Polypropylene เนื้อพลาสติกจะมีสีกึ่งโปร่งใส หรือสีขาวขุ่น ทนอุณหภูมิได้สูงสุด 120 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน และอาจเหลือ 3 เดือนถ้านึ่งหรือต้มบ่อยเกินไป
- PES ผลิตจากวัสดุ Polyethersulphone เป็นพลาสติกที่แข็งแรงและปลอดภัยกว่า PP ทนอุณหภูมิได้สูงสุด 180 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน ถึง 1 ปี
- PPSU ผลิตจากวัสดุ Polyphenylsulfone ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีความทนทานและทนต่อความร้อนต่อเนื่องได้ดีกว่า ทนอุณหภูมิได้สูงสุด 208 ˚C นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกได้สูง แตกยากมากที่สุดในประเภทขวดนมพลาสติก และยังไม่ดูดซับกลิ่นหรือสี เป็นพลาสติกที่ไม่มีสาร BPA อยู่แล้ว
ขวดนมสีชา ขวดสีชา ไม่สะอาดรึเปล่า
ขวดนมสีชา หรือ ขวดนม PPSU (polyphenylsulfone) ซึ่งทำมาจากวัสดุที่เรียกว่า thermoplastic ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ให้ความทนต่อความทนทานและทนต่ออุณหภูมิได้ดีกว่าขวดนมประเภท PP และ PES พลาสติก PPSU มักใช้ในยานอวกาศและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องฆ่าเชื้อซ้ำๆ
ขวดนมสีชา ขวดสีชา ทนความร้อนได้ดีกว่า
ไม่เพียงแต่ทนต่อความร้อนได้อย่างต่อเนื่อง ขวดนมสีชามีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกได้มากพลาสติกแบบอื่นๆ นอกจากนี้ยังไม่ดูดซับกลิ่นหรือสี ปราศจากสาร BPA และมีจุดหลอมเหลวที่สูงถึง 208 องศาเซลเซียสพลาสติก
ขวดสีชา ดีกว่าขวดแบบอื่นไหม
เดิมทีวัสดุ PPSU มักใช้ในอวกาศและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องใช้การฆ่าเชื้อซ้ำ แม้ขวดนมของ PPSU จะดีกว่า เพราะใช้ได้นานกว่า แต่ก็มีราคาแพงกว่าขวด PP และ PES เช่นกัน
ซื้อขวดสีชาก็หมดห่วงรึเปล่า
แม้ขวดสีชาจะดีกว่าขวดนมแบบอื่น ๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และการดูแลเช่นกันค่ะ ทั้งนี้หากขวดนมล้างอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เป็นรอยขูดขีดเยอะเกินไป อายุการใช้งานก็อาจจะสั้นลงได้เช่นกันนะคะ
ขวดนมคอกว้าง ขวดนมคอแคบ ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนให้ลูกดี
ขวดนมคอกว้าง ขวดนมคอแคบ ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนให้ลูกดี แค่ประเภทขวดนม สีขวดนม ก็เรื่องเยอะพอแล้ว แล้วยังจะต้องมีคอขวดนมอีกที่ต้องเลือก แล้วคอขวดนมมันแตกต่างกันตรงไหนยังไงบ้างละ
สารพันขวดนม ขวดนมสีชา
นอกจากวัสดุที่ใช้ทำขวดนมที่ความปลอดภัยต้องมาก่อนแล้ว ขวดนมแก้วดูจะได้รับความนิยมอย่างล้มหลามมากขึ้น ในยุคสมัยนี้ก็มีตัวช่วย เช่น ซิลิโคนสำหรับจับ แต่สำหรับคุณแม่บางคนด้วยน้ำหนักของขวดแก้วที่หนักกว่าขวดพลาสติกหลายเท่า เด็กๆ ถือยากเกินไป และเสี่ยงแตกได้ง่าย จึงไม่เป็นที่นิยมในบ้านเราเท่าไหร่นัก
ขวดนมพลาสติกจึงเป็นขวดนมที่คุณแม่ใช้กันมากที่สุดค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีขวดนมแบบใช้แล้วทิ้ง หรือ disposable liners ที่ใส่ลงในขวดนมอีกที ซึ่งมีการเคลมว่าลดลมที่เข้าไปในท้องเด็กๆ ได้ จึงช่วยลดอาการโคลิคได้ และยังช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ ดูดและกลืนนมได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนการเข้าเต้า นอกจากนี้ยังเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องเสียเวลาล้างและฆ่าเชื้ออีกด้วย ก็นับว่าเป็นนวัตกรรมและอีกตัวช่วยที่เพิ่มขึ้นตามวันและเวลาที่ผ่านไปนะคะ
แต่ในการเลือกขวดนมให้เจ้าตัวเล็กนั้น นอกจากจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามารองรับปัญหาและความต้องการของเด็กๆ แต่ละคน อีกหนึ่งลักษณะของขวดนมนั้นก็ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือคอขวดนม ระหว่างขวดนมคอกว้าง และขวดนมคอแคบค่ะ
ข้อดีของ ขวดนมคอกว้าง
- ลักษณะพิเศษของขวดนมคอกว้างคือ ฐานจุกนมจะกว้างตามไปด้วย ซึ่งลักษณะจุกนมแบบนี้จะคล้ายเต้านมของคุณแม่มากกว่าขวดนมคอแคบนั่นเองค่ะ
- การเลือกใช้ขวดนมคอกว้างนั้น จะเหมาะสำหรับคุณแม่ที่เอาลูกเข้าเต้าสลับกับการป้อนลูกด้วยขวดนม เพราะทำให้ลูกไม่สับสนระหว่างขวดนมกับการเข้าเต้า ลดปัญหาลูกเข้าเต้าแล้วไม่เอาขวดนม หรือเมื่อฝึกลูกให้กินขวดนมก็จะทำให้ปัญหาการไม่เอาเต้าลดลงได้นั่นเองค่ะ
- ขวดนมคอกว้างจะทำให้ล้างง่ายกว่า แห้งเร็วกว่า เนื่องจากพื้นที่ที่คอขวดกว้างกว่าขวดนมคอแคบนั่นเองค่ะ
ข้อเสียของ ขวดนมคอกว้าง
- มีวัสดุในการทำขวดนมให้เลือกน้อยกว่าขวดนมคอแคบ
- ความกว้างของขวดนมกว้างกว่าขวดนมคอแคบ จึงทำให้คุณแม่บางคนถือลำบากกว่าขวดนมคอแคบ
- เด็กทารกบางคนถือไม่ถนัด เนื่องจากความกว้างที่มากเกินไป
- กินพื้นที่ในกระเป๋านมมากกว่า
- อาจจะราคาสูงกว่าเล็กน้อยในบางแบรนด์ เมื่อเทียบกับขวดนมคอแคบ
ข้อดีของ ขวดนมคอแคบ
- ความพิเศษของจุกนม สำหรับขวดนมคอแคบในบางแบรนด์ จะมีเฉพาะแค่กับขวดนมคอแคบเท่านั้น เช่น จุกนมพิเศษสำหรับเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จุกนมยาวพิเศษ เป็นต้น
- หาซื้อจุกนมได้ง่ายกว่า มีจุกนมให้เลือกเยอะกว่า และในบางแบรนด์จุกนมธรรมดาจะมีราคาที่ถูกกว่าจุกนมสำหรับคอกว้างเล็กน้อย
- หาซื้อง่ายกว่า และในบางแบรนด์อาจมีราคาที่ถูกกว่าขวดนมคอกว้างเล็กน้อย
ข้อเสียของ ขวดนมคอแคบ
- ลูกอาจสับสนและไม่เอาขวดนม ตอนที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือฝากเลี้ยง
- ล้างยากกว่าเนื่องจากคอแคบ และอาจจะทำให้มีบางบริเวณหรือบางส่วนที่ล้างไม่สะอาด ทำให้หมักหมมไม่สะอาดได้
ที่นี้คุณพ่อคุณแม่ก็มีข้อมูลการเปรียบเทียบ ที่จะเลือกขวดนมให้ลูกได้เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกแล้วละค่ะ
จุกหลอก อันตรายไหม ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้
เรารวมมาให้แล้ว เรื่องจุกหลอกที่พ่อแม่ควรรู้ จุกหลอก อันตรายไหม วิธีใช้จุกหลอก วิธีทำความสะอาด จุกหลอก จุกหลอกใช้ได้ตั้งแต่กี่เดือน ลูกดูดจุกหลอกฟันจะเหยินไหม ไปอ่านกัน
ข้อดีของจุกหลอก
1) ช่วยให้ลูกมีความสุขในการดูด เด็กทารกเกิดมาพร้อมกับความต้องการในการดูด ซึ่งความถี่ในการดูดของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ทารกมักจะดูดเวลาที่เขารู้สึกเบื่อ เหนื่อย หรือต้องการความสบาย จุกหลอกจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกผ่อนคลายเวลาที่เขาอยากดูด
2) ช่วยให้ลูกหลับง่าย การดูดเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกสบายจนงีบหลับไป ความเพลิดเพลินกับการดูดยังช่วยให้ทารกรับมือกับโลกที่สับสนได้ดีขึ้นอีกด้วย
3) ลดความเสี่ยงในการกินนมมากเกินไปสำหรับเด็กที่คุณแม่ป้อนนมจากขวด การให้ลูกดูดนมทุกครั้งเพราะคิดว่าลูกหิวเป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งนั่นอาจทำให้ลูกถูก Overfeeding ไปเรียบร้อยแล้ว คุณแม่สามารถใช้จุกหลอกแทนจุกนมได้ ในเวลาที่ลูกยังต้องการดูดแม้ว่าจะดูดนมไปแล้วก็ตาม
4) การดูดจุกหลอกควบคุมได้ง่ายกว่าการดูดนิ้ว เมื่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเลิกจุกหลอกก็แค่โยนมันทิ้งไป แต่การที่ลูกดูดนิ้วอาจกลายเป็นนิสัยที่ยากจะแก้ไข เพราะว่านิ้วนั้นอยู่กับลูกตลอดเวลา คุณแม่ไม่สามารถแยกนิ้วออกจากลูกได้
ข้อเสียของจุกหลอก
1) จุกหลอกอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโต การดูดเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน การใช้จุกหลอกมากเกินไปอาจส่งผลให้ลูกทำน้ำหนักได้ไม่ดี และกินนมได้น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารกที่อ่อนแอ
2) มีความเสี่ยงหูติดเชื้อมากขึ้น จุกเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง การใช้จุกหลอกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจมีการเปลี่ยนแปลงความดันภายในหูชั้นกลางได้
3) ใช้มากเกินไปอาจทำให้ลูกพูดช้า เพราะเมื่อมีจุกอยู่ในปาก ลูกจะพูดก็ลำบาก และหากยังใช้จุกหลอกหลังจากขวบปีแรก ลูกมีโอกาสที่จะติดจุกหลอกเพิ่มขึ้น แถมจุกหลอกยังไปขัดขวางการพูดอ้อแอ้และการพูดปกติของลูกด้วย
4) หากใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้นานเกินไป อาจทำให้ฟันผิดรูป เช่น ฟันยื่น ฟันเหยิน และฟันเก รวมถึงสามารถทำให้รูปปากเปลี่ยนไปได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ขวดนม ช่วยแก้อาการโคลิคของลูกน้อยได้หรือไม่ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ?
ขวดนมสำหรับเด็ก ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูกน้อย ขวดนมแบบไหนถึงจะดี
ขวดนมป้องกันโคลิคที่ดีที่สุด เพื่อการดูแลลูกน้อย หลับสบายไม่งอแง
ที่มา: whattoexpect