หนาวใน VS หนาวสั่นหลังคลอด ต่างกันไหม
ทำไมแม่ ๆ ถึงเกิดอาการ หนาวสั่นหลังคลอด
แล้ว หนาวใน กับ หนาวสั่นหลังคลอด ต่างกันยังไง อาการแปลก ๆ อย่างหนาวสั่นที่เกิดขึ้นหลังคลอดลูก มีสาเหตุจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจจะเริ่มในช่วงสุดท้ายของการคลอดลูก ระหว่างการเบ่งครั้งที่สอง แม้ลูกคลอดออกมาแล้ว แต่อาการสั่นนั้นยังคงอยู่ จนกระทั่งคลอด และ สิ่งต่าง ๆ ออกมา มีแนวโน้มว่าจะกินเวลาไปอีก 2 – 3 ชั่วโมง
แล้ว หนาวใน หนาวสั่นหลังคลอด ต่างกันไหม จึงเป็นอาการที่เกิดกับคุณแม่ส่วนใหญ่ ทั้งคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ และ คุณแม่ที่ทำการผ่าคลอด เหตุมาจากร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน การออกแรงคลอด ความรุนแรงของบาดแผลที่ฉีกขาดจากการคลอด หรือแม้แต่คุณแม่ผ่าคลอด ก็ต้องเผชิญกับการผ่าตัดครั้งใหญ่ ที่ร่างกายเสียเลือดอย่างมาก
สาเหตุของอาการหนาวสั่นหลังคลอด
– ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายผลิตมาตลอด ระหว่างการตั้งครรภ์ จนกระทั่งก่อนคลอดนั้นลดลง ซึ่งหน้าที่ของฮอร์โมนตัวนี้จะสะสมน้ำ แล้วนำมาทดแทนการเสียเลือดตอนคลอด ทั้งยังช่วยคุมไม่ให้ความดันตกด้วย
– ร่างกายของแม่หลังคลอดเสียเลือด เสียน้ำ และ เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการไข้จนหนาวสั่น หรือ การใช้ยาสลบ ซึ่งมีผลทำให้ความดันโลหิตลดต่ำ น้ำเกลือที่มีความเย็นมากกว่าอุณหภูมิร่างกาย เหล่านี้ก็ทำให้เกิดการสั่นได้เช่นกัน
– เหน็ดเหนื่อยจากการคลอด เพราะร่างกายจะใช้เรี่ยวแรงเยอะมาก ทั้งการคลอดอย่างธรรมชาติ หรือ การผ่าคลอด ก็ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่ร่างกายต้องดึงกำลังทั้งหมดมาใช้
– นมคัด เต้านมคัด เพราะร่างกายเตรียมผลิตน้ำนม จึงจำเป็นต้องให้ลูกดูดนมเพื่อระบายน้ำนม แล้วอาการไข้ของแม่จะลดลง รวมถึงการหนาวสั่นจากการเป็นไข้ด้วย
– ร่างกายแม่ติดเชื้อจนเกิดอาการหนาวสั่น หากคุณแม่ไข้สูง ปวดแผล ระบมที่ช่องคลอด เจ็บเต้านม หรือบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย ก็เป็นไปได้ว่า ร่างกายของคุณแม่เกิดการติดเชื้อ
อ่านอาการหนาวใน หน้าถัดไป
หนาวใน เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอดไหม
ความรู้สึกหนาวสะท้าน มือเท้าเย็น ปากเขียว หรือ ที่เรียกกันว่า หนาวเข้ากระดูก นั้นยังไม่มีข้อสรุปว่าเกิดจากอะไร โดยมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงอาการหนาวใน ตามตำราแพทย์แผนไทย ว่า การคลอดบุตรทำให้สูญเสียความร้อนในร่างกาย เสียธาตุไฟ ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล อาการหนาวในนี้ยังเกิดได้กับผู้ที่กำลังจะหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว
อาการอื่นๆ เกี่ยวเนื่องกับอาการหนาวใน
หากมีอาการหนาวในเป็นประจำ จะเกิดอาการปวดหลังชา ๆ ขัดข้อสะโพก มีจ้ำเขียวตามร่างกายได้ง่าย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว เป็นไข้ทับระดูทุกครั้งที่มีประจำเดือน
แล้วอาการหนาวใน เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
– ผอมเกินไป ร่างกายไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอ การไม่ค่อยทานอาหาร ยังลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญ จนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด
– ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หนาวเป็นพัก ๆ รวมทั้งผมเริ่มร่วง และ บาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย อาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จะทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง
– ขาดธาตุเหล็กทำให้ความอบอุ่นในร่างกายลดลง ขาดวิตามินบี 12 ทำให้หลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
– ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี มีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตัน ขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังมือและเท้า
– พักผ่อนไม่พอ หรือ ดื่มน้ำน้อย
– เป็นโรคสำคัญ อย่างโรคเบาหวาน หรือ โรคเรย์นอยด์
นอกจากนี้ ทางแพทย์แผนไทยยังเชื่อว่า อาการหนาวใน เป็นอาการของกลุ่มมดลูกอักเสบ และ ต้องรักษาด้วยการปรับสมดุลธาตุ
อ่านเพิ่มเติม อาการหนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟ จริงหรือ?
สรุปได้ว่า อาการหนาวสั่นหลังคลอด เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ยกเว้นว่าเกิดการติดเชื้อ หรือ เป็นไข้จากสาเหตุอื่น ๆ ส่วนอาการหนาวในนั้น เกิดได้กับผู้หญิงทั่วไป ตามความเชื่อของแพทย์แผนไทย คือ คุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ไฟ แต่ผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือน ก็จะมีอาการหนาวในได้เช่นกัน
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
8 วิธีดูแลตัวเองของแม่หลังคลอดในเดือนแรก
17 เรื่องจริงของแม่หลังคลอด ที่ต้องเตรียมรับมือ