ปอดอักเสบ โรคที่เกิดจากการติเชื้อ จนทำให้เกิดภาวะอักเสบได้ ซึ่งทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอด ทำงานได้ไม่ดี ทำให้ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยทำงานได้ยาก และอาจมีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ มาทำความรู้จัก โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ป้องกันไว้ ดีกว่าเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
โรคปอดอักเสบ คืออะไร?
ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ (ปอดบวม) เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอด และทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งเชื้อต่าง ๆ ที่พบในตัวผู้ป่วย จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล กลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดโรค
ปอดอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบมากในเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ และ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอันตราย
โรคปอดอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลัก ดังนี้
- การติดเชื้อ สามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย นิวโมค็อกคัส (Pneumococcus) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และซาร์ส (SARS Virus) นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อ ได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เชื้อรา พยาธิ เป็นต้น
- เกิดจากการสำลักเศษอาหารเข้าไปในปอด หรือ หายใจเอาฝุ่น ควัน เข้าไปในร่างกายปริมาณมาก
- เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง หรือ ภูมิต้านทานต่ำ ดังนี้
- ผู้สูงอายุ
- เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ เด็กทารกขาดสารอาหาร
- ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี (SEL)
- ผู้ที่รับประทานยาเสตียรอยด์ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ผู้ป่วยโรคร้ายเแรง เช่น พิษสุราเรื้อรัง เอดส์ เบาหวาน เป็นต้น
การรับเชื้อสามารถเกิดได้หลายวิธี ดังนี้
- การไอ จาม หรือ หายใจร่วมกัน ซึ่งเป็นการรับเชื้อ ที่อยู่ในรูปแบบของละออกขนาดเล็ก ได้แก่ละอองน้ำลาย ละออกก๊าซ จากสารคัดหลั่งของผู้ที่ป่วย
- การสำลักเชื้อ ที่สะสมอยู่บริเณทางเดินหายใจ เช่น สำลักน้ำลาย ลำลักอาหาร หรือ สารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร
- การแพร่กระจายของเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งผู้ป่วยอาจติดเชื้อจากอวัยวะอื่นมาก่อน
- การทำหัตถการบางอย่าง ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อ จากอุปกรณ์ที่มีเชื้ออยู่
อาการของโรคปอดบวม
อาการที่สังเกตได้ง่าย ของโรคปอดบวม ได้แก่ มีไข้สูง มีอาการไอ หอบ เหนื่อยง่าย และเจ็บหน้าอก ซึ่งอาการที่ปรากฎ จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค ซึ่งผู้ป่วยบางราย จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เจ็บคอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมอยู่ด้วย
- ไอ จาม
- มีเสมหะ
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก
- มีไข้ หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
- อ่อนเพลีย
ระดับความรุนแรงของอาการ จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด และเชื้อของโรค รวมทั้งอายุ สุขภาพ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ด้วยเช่นกัน
การรักษาโรคปอดบวม
แพทย์จะทำการวินิจฉัย ว่าเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับ เป็นเชื้อชนิดใด และประเมินความรุนแรงของอาการ ซึ่งการรักษาจะเป็นการฟื้นฟูอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจทำให้อาการทรุดลงได้ ซึ่งการรักษา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
-
รักษาตามอาการ
การรักษาตามอาการ ผู้ป่วยจะได้รับยาลดไข้ และให้สารน้ำ ทางหลอดเลือด อาจมีการให้ออกซิเจน ตามอาการของผู้ป่วย
2. รักษาปอดบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาอาการปอดบม ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะใช้การรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ให้กับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และไม่พบอาการแทรกซ้อน
3. รักษาปอดบวมจากการติดเชื้อไวรัส
อาการปอดบวม ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักหายได้เอง ภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่หากผู้ป่วยยังอาการไม่ดีขึ้น หรือ เกิดภาวะแทรกซ้อน ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
การป้องกันโรคบอดบวม
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- หลีกเลี่ยงการได้รับควันไฟ ควันบุหรี่
- ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่หนาวจัด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
ปอดอักเสบ เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับไข้หวัด แต่มักมีอาการรุนแรงกว่า และอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการคล้ายโรคปอดบวม ควรเข้ารับการวินิจฉัย และการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ให้อาการลุกลาม และทรุดลง
ที่มาข้อมูล : พบแพทย์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความที่น่าสนใจ :
มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?
มะเร็งลำไส้โรคร้าย ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม