ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

การตั้งครรภ์และรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไม่สามารถแยกได้ เพราะรกทำหน้าที่นำอาหารจากแม่มาเลี้ยงลูก หากเกิดภาวะรกเสื่อมแล้วแม่และทารกจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันเลยค่ะ ในครรภ์ รวมถึงนำของเสียจากภายในตัวทารกลับไปยังคุณแม่เพื่อให้คุณแม่นำไปทิ้งออกจากร่างกาย แล้วรกเสื่อมคืออะไร มีอันตรายต่อแม่และลูกหรือไม่ อย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

สายรกทำหน้าที่นำอาหารจากแม่มาเลี้ยงลูก ติดตามอ่านกันเลยค่ะ ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

อัลตราซ าวด์4มิติ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “รก” ไว้ดังนี้

รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จำเป็นต้องย้อนไปเล่าเรื่องตั้งแต่เมื่อเชื้ออสุจิมีการเข้าผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิขึ้น ภายหลังจากการปฏิสนธิ ไข่ที่ถูกผสมจะแบ่งตัวได้ 58 เซลล์ ซึ่งทั้ง 58 เซลล์นี้ 5 เซลล์จะเจริญไปเป็นตัวลูกน้อยของคุณแม่ ขณะที่อีก 53 เซลล์ที่เหลือจะเจริญเป็นรก เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเซลล์ที่แบ่งตัวไปเป็นทารกกับเซลล์ที่แบ่งแยกออกเป็นรกก็คือเซลล์จากแหล่งเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่เซลล์ส่วนใหญ่พร้อมจะทำหน้าที่เลี้ยงเซลล์ส่วนน้อยที่กำลังจะเจริญเติบโตในอนาคต

หน้าที่ของรก

หลังจากที่เซลล์เจริญไปเป็นทารก และมีขนาดใหญ่กว่ารก รกจะทำหน้าที่คล้ายจานข้าวหรือใบบัวที่แปะติดผนังโพรงมดลูกในลักษณะที่มีส่วนของรกคล้ายเข็มแทรกเข้าไปในผนังมดลูก บริเวณตรงกลางของรกจะมีสายรกโผล่ออกมาติดกับตัวทารกตรงบริเวณสะดือ เรียกว่า”สายรก” หรือจะเรียกอีกชื่อว่า “สายสะดือ” เพื่อทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหารจากแม่ไปเลี้ยงทารกและรับของเสียจากทารกไปกลับไปยังตัวแม่ผ่านทางรกอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้รกยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อทำหน้าที่ให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น และเพื่อกระตุ้นเต้านมให้เตรียมพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมมาเลี้ยงดูทารกหลังคลอด และยังมีหน้าที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกเพื่อให้ทารกคลอดออกมาและไม่ติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสที่จะเกิดภูมิแพ้ในอนาคตด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงชีวิตของรก

ช่วงชีวิตของรกนั้นสั้นมาก คือ เมื่อทารกคลอดออกมาไม่นาน “รก” จะหมดหน้าที่ในการดูแล และจะถูกขับออกมา รวมอายุของรกประมาณ 10 เดือนเท่านั้น หลังจากที่มีการปฏิสนธิแล้ว รกจะเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับทารก เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะแก่ตัวมากขึ้น บางส่วนของรกจะมีแคลเซียมมาจับ เปรียบได้กับรกที่ใช้งานมานานจะมีสนิมเกาะ หากตรวจรกด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเห็นเป็นรอยสีขาว ๆ ซึ่งเป็นสีของแคลเซียม ในคุณแม่บางคนที่รกมีแคลเซียมเกาะมากจะทำให้ความสามารถในการทำงานของรกลดลงไป ซึ่งมีผู้เรียกรกของคุณแม่กลุ่มนี้ว่า “รกเสื่อม” Placental Insufficiency

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร

Placental Insufficiency หรือ ภาวะรกเสื่อม เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ เกิดจากรกเจริญเติบโตผิดปกติหรือได้รับความเสียหาย ซึ่งรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารก มีหน้าที่หลักในการนำออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดของทารกและกำจัดของเสียออกไปผ่านร่างกายมารดา หากเกิดภาวะรกเสื่อม ทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ถูกส่งผ่านมาทางรกน้อยลงมีผลทำให้เลือดที่ส่งจากแม่ไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอทำให้ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทารกอาจประสบปัญหาภาวะเจริญเติบโตช้า (Intrauterine growth restriction) และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยขณะคลอด หรืออาจทำให้คลอดยากขึ้นได้ โดยหากตรวจพบภาวะนี้เร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก

อาการของภาวะรกเสื่อมเป็นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Woman holding an ultrasound scan of her unborn baby

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเสื่อมมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในรายที่รกเสื่อมากจนไม่สามารถนำอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ อาจจะพบว่าขนาดของมดลูกโตน้อยกว่าอายุครรภ์ได้ ส่งผลให้ลูกดิ้นน้อยหรือไม่ดิ้นเลยถือว่าเป็นอันตราย

มีวิธีตรวจภาวะรกเสื่อมหรือไม่

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะรกเสื่อม จากการสอบถามประวัติ เช่น โรคประจำตัว การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก และพบว่า ขนาดของครรภ์เล็กกว่าที่ควรจะเป็นในอายุครรภ์ขณะนั้น หรือการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) พบว่า ทารกตัวเล็กกว่าขนาดที่ควรจะเป็น ทารกไม่โตขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ

การวินิจฉัย Placental Insufficiency

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถตรวจความผิดปกติได้ด้วยตนเอง โดยอาจใช้วิธีจดบันทึกเมื่อทารกในครรภ์ดิ้นหรือขยับตัวในแต่ละวัน หากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

ทั้งนี้ แพทย์สามารถวินิจฉัย Placental Insufficiency ได้หลายวิธี เช่น

  • อัลตราซาวด์เพื่อดูขนาดของรกหรือทารกในครรภ์มารดา
  • ตรวจเลือดของมารดาเพื่อวัดระดับแอลฟาฟีโตโปรตีนที่สร้างจากตับของทารก
  • ตรวจสุขภาพทารกแบบ Fetal NST (Non-Stress Test) ซึ่งเป็นการสวมเข็มขัด 2 เส้นไว้ที่หน้าท้องของมารดาเพื่อวัดการบีบตัวและอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะรกเสื่อม

จำเป็น ไหมคนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน?

สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รกเสื่อม ได้แก่

1.โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการไหลเวียนของหลอดเลือดมีขนาดแคบตีบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ
2.การแข็งตัวของเลือดมากผิดปกติ ทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันตามหลอดเลือด ทำให้เลือดส่งไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ
3.คุณแม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด
4.ตั้งครรภ์เกินกำหนด
5.โรคของรกเอง เช่น เนื้องอกรก รกลอกตัวบางส่วน รกบางผิดปกติ หรือมีหินปูนเกาะรกมากเกินไป

ภาวะรกเสื่อมมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

ภาวะที่รกเสื่อมหรือทำงานไม่ได้เต็มที่นั้น มักไม่เกิดผลกระทบต่อคุณแม่แต่มีผลโดยตรงกับทารกในครรภ์อย่างมาก ทำให้ทารกได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายและสมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อเลือดมาเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ เลือดเลี้ยงไตของทารกก็ลดลงด้วย การขับปัสสาวะจากไตก็ลดลง ทำให้น้ำคร่ำมีปริมาณมาก อาจทำให้ทารกถูกกดเบียดทับได้ และส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย จะทำให้ทารกมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์สูง

ภาวะรกเสื่อมป้องกันได้หรือไม่

ในกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัว การรักษาโรคประจำตัวจะเป็นการป้องกันรกเสื่อมได้ดีที่สุด นอกจากนี้การป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด โดยทั่วไปแพทย์จะให้คลอดเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 41 สัปดาห์ เป็นวิธีที่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงกับภาวะรกเสื่อมได้

จะเห็นว่ารกเสื่อมนั้นไม่ใช่โรค แต่ความสามารถในการทำงานของรกลดลง จากปัจจัยต่าง ๆ อย่างไรก็ตามรกเสื่อมจะส่งผลกระทบต่อทารกโดยตรง วิธีป้องกันได้ดีที่สุด คือ เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรไปรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิงจาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.haamor.com

www.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์คืออะไร อันตรายแค่ไหน

สายรกสะกด “love”เรื่องราวประทับใจที่คุณต้องอ่าน

https://www.pobpad.com