รูปแบบการเลี้ยงดูมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส อาร์ลิงตัน ยืนยันว่า รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้เด็กวัยหัดเดินเรียนรู้การควบคุมตนเอง ซึ่งอาจมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ต่อไป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครองที่จะเลือกใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสม
“คนที่มีระดับความยับยั้งชั่งใจต่ำ มักพัฒนาไปสู่ปัญหาด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้น ทั้งยังอาจนำไปสู่โรคสมาธิสั้นหรือ ADHD” เจฟฟรีย์ แก็ก ผู้เขียนงานวิจัย กล่าวในงานแถลงข่าว แก็กยังกล่าวว่า ส่วนใหญ่ปัญหาพัฒนาการของเด็กจะถูกพบเมื่อเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนแล้ว
“ถ้าเราสามารถทราบและหาทางแก้ไขปัญหาได้เร็วกว่านี้ เราก็จะสามารถปรับพฤติกรรมของเด็กได้ก่อนที่จะเขาจะเข้าโรงเรียน” เขากล่าวเสริม การทำเช่นนี้อาจมีผลต่อดีต่อเด็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่นเลยทีเดียว
การศึกษาพัฒนาการด้านการควบคุมตนเองในเด็กฝาแฝด
การศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งทำการศึกษาจากฝาแฝด 300 คู่ โดยทดสอบความยับยั้งชั่งใจของเด็กฝาแฝดเมื่ออายุ 2 และ 3 ขวบ ว่าจะทำในสิ่งที่ถูกห้ามไว้หรือไม่
ผลการศึกษาพบว่าในวัย 2 ขวบ ปัจจัยด้านพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กมากที่สุด แต่ในช่วงขวบปีที่ 3 ของเด็ก ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ทั้งในด้านบวกและลบ เริ่มที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กมากขึ้น
ในกรณีนี้ทำให้พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของฝาแฝดเริ่มแตกต่างกันมากขึ้น นักวิจัยสรุปว่า รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อ “ความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็ก”
ความเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการเด็ก รูปแบบการเลี้ยงดู และลักษณะนิสัยของเด็ก
การศึกษาในครั้งนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทีมนักวิจัยยังพยายามที่จะศึกษาลักษณะนิสัยของฝาแฝด โดยคาดหวังที่จะหาวิธีคาดการณ์ความผิดปกติของพฤติกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายคือ การช่วยให้ผู้ปกครองพบวิธีที่ดีกว่าที่จะบรรเทาปัญหาใดๆ ก็ตามก่อนที่ลูกฝาแฝดของพวกเขาจะถึงวัยเรียน ซึ่งเด็กๆ จะต้องเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ อีกมาก
ที่มา www.parentherald.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
เลี้ยงให้รุ่ง: ปฏิวัติการเรียนรู้ผ่านการสร้างลักษณะนิสัยสู่ความสำเร็จ
ลูกชายVS ลูกสาว ใครเลี้ยงยากกว่ากัน