คำถามที่แม่ท้องควรรู้! ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม ?

lead image

ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม ? ถ้านี่เป็นคำถามที่แม่ท้องหลายคนอยากรู้ มาดูคำตอบไปพร้อมกันกับเราสิคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้ไหมคะ? “มะเร็งปากมดลูก” เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 ของผู้หญิงทั่วโลก ในปี 2563 พบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ย 604,000 คน เสียชีวิตราว 342,000 คน โดยข้อมูลจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 5 ในผู้หญิงไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 15 คน หรือ 5,422 คนต่อปี และเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 6 คน หรือ 2,256 คนต่อปีเลยค่ะ การเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน … คุณแม่ตั้งครรภ์ก็เช่นกัน ที่ต้องดูแลสุขภาพ รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งแม่และลูก หนึ่งในคำถามที่แม่ท้องคือ ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม ? จะมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์หรือเปล่า จำเป็นแค่ไหน บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งปากมดลูก คืออะไร?

มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อ “HPV” หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และเชื้อ HPV สามารถเข้าไปอยู่ในร่างกายได้โดยไม่แสดงอาการใดๆ จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อมีอาการค่อนข้างรุนแรงแล้ว เชื้อ HPV นั้นมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 6 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัส HPV มักอยู่ไม่นาน (Transient Infection) และส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 12 เดือน ส่วนการติดเชื้อไวรัส HPV แบบคงอยู่นาน (Persistent Infection) จะทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกมีโอกาสกลายรูปผิดปกติได้ โดยระยะเวลาเฉลี่ยจากการติดเชื้อ HPV จนกลายเป็นมะเร็งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี

แม่ท้องควรรู้ มะเร็งปากมดลูก มีกี่ระยะ อะไรบ้าง?

ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ที่ตัวปากมดลูกเป็นหลัก
ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งลุกลามออกไปยังช่องคลอด และด้านข้างของปากมดลูก
ระยะที่ 3 เริ่มมีการแพร่ขยายไปถึงช่องคลอดและปากช่องคลอด ชิดผนังอุ้งเชิงกรานและท่อไต
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งลุกลามไปในกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ และอวัยวะใกล้เคียงเช่น ตับ ปอด

ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
  • เลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด
  • หากมะเร็งลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ขาบวม ต่อมน้ำเหลืองโต ไตวาย ปัสสาวะหรือ อุจจาระเป็นเลือด
  • ในระยะลุกลามมักพบอาการมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมานานกว่าปกติ ตกขาวมีกลิ่น ปวดท้องน้อย ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด

และผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก ก็คือ คนที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ มีคู่นอนหลายคน หรือกับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หนองใน เริม มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ รวมถึงผู้ที่ไม่เคยตรวจหรือฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเลย

ทำไม? ต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม

เนื่องจากวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูก คือ การฉีดวันซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV วัคซีน) ซึ่งกรณีมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจน้อยกว่าผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแนะนำควรตรวจเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง

ดังนั้น ผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะที่อยู่ในช่วงวัยระหว่าง 25 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งใช่ค่ะ… คำถามที่ว่า ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม คำตอบคือ ตรวจได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณแม่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกมาก่อน หรือตรวจครั้งล่าสุดนานเกินกว่า 3 ปี ซึ่งปัจจุบันการตรวจเซลล์บริเวณปากมดลูกเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินแม่ท้องที่ฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจในระหว่างการฝากครรภ์ได้ค่ะ

 

ข้อดีของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ขณะตั้งครรภ์

  • ตรวจพบ รักษาได้เร็ว มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ การตรวจคัดกรองช่วยให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด
  • ปลอดภัย ไม่กระทบลูก การตรวจมะเร็งปากมดลูก เช่น แปปสเมียร์ (Pap Smears) เป็นการเก็บเซลล์จากปากมดลูก ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
  • ลดความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูกอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย การตรวจพบและรักษาให้หายก่อน สามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม มีวิธีการอย่างไร?

การตรวจมะเร็งปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น เหมือนกับการตรวจคัดกรองของผู้หญิงปกติทั่วไปเลยค่ะ เพียงแต่อาจมีความแตกต่างที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ช่วงเวลา: แพทย์มักแนะนำให้ตรวจในช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) ของการตั้งครรภ์
  • วิธีการ: อาจใช้แปปสเมียร์ หรือวิธีอื่นๆ เช่น การตรวจหา HPV DNA ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • ผลตรวจ: หากพบความผิดปกติ แพทย์จะติดตาม และวางแผนการรักษาหลังคลอด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
  • ประวัติสุขภาพ: หากคุณแม่มีประวัติหรือปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก เช่น ติดเชื้อ HPV มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการตั้งครรภ์ก่อน

 

แม่ท้องฉีด HPV vaccine ได้ไหม?

โดยปกติแล้ววัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine) ถือว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นะคะ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ฉีดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วค่ะ แต่หากได้รับการฉีดวัคซีน HPV 1-2 เข็มไปแล้ว จึงตั้งครรภ์ ก็แนะนำให้ฉีดเข็มที่เหลือจนครบ 3 เข็มในช่วงหลังคลอด หรือช่วงให้นมลูก ทั้งนี้ ยังไม่พบว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์และทารกค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการแท้ง ทารกพิการ และการคลอดก่อนกำหนด จึงไม่มีข้อบ่งชี้ให้ยุติการตั้งครรภ์ในช่วงระหว่างการฉีดวัคซีนค่ะ

มะเร็งปากมดลูก รักษายังไง?

ในกรณีที่คุณแม่ต้องรักษาโรคมะเร็งระหว่างตั้งครรภ์นั้น วิธีการรักษาอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิดของมะเร็ง ความรุนแรงและระยะของมะเร็ง อายุครรภ์ และความยินยอมในการรักษาของคุณแม่ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ก่อนเลือกวิธีรักษา ตั้งแต่การใช้ยา การฉายแสง การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัด

วิธีการรักษา มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัด(Surgical Treatment) ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 (บางราย)
รังสีรักษา(Radiation Therapy) รักษาได้กับทุกระยะของมะเร็งปากมดลูก
เคมีบำบัด(Chemotherapy) รักษามะเร็งในระยะลุกลามมาก หรือมีการกลับเป็นซ้ำ
การรักษาร่วม(Combined Treatment) เช่น การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษา ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม รักษาด้วยเคมีบำบัดก่อนการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน การให้รังสีรักษาหลังการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัดก่อนหรือหลังรังสีรักษา เป็นต้น

ทั้งนี้ การรักษามะเร็งในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กมาเป็นอันดับแรก หากอาการไม่รุนแรงมาก หรืออายุครรภ์มากใกล้กำหนดคลอด แพทย์อาจรอให้คุณแม่คลอดก่อน หรือบางกรณีอาจจำเป็นต้องเร่งให้ทารกคลอดก่อนกำหนดเพื่อเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากผลการรักษาจากการผ่าตัดและการรักษาในเบื้องต้นออกมาไม่ดี แพทย์อาจจำเป็นต้องเพิ่มระดับและความเข้มข้นในการรักษา เช่น การฉายแสงและการให้ยาเคมีบำบัด แต่ทั้งสองวิธีนี้อาจส่งผลต่อทารกได้ โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัดที่อาจทำให้อวัยวะทารกไม่สมบูรณ์ เกิดภาวะสติปัญญาบกพร่อง พัฒนาการช้า และทำให้แท้งได้ ส่วนการผ่าตัดก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

ในกรณีของคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกระหว่างเป็นมะเร็งยังสามารถให้นมลูกต่อไปได้อย่างปลอดภัย เพราะเซลล์มะเร็งมักไม่ส่งผ่านทางน้ำนม ทารกจึงสามารถกินนมแม่ได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าคุณแม่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือยาคีโม ไม่ควรให้ทารกดื่มนมแม่ค่ะเพราะอาจเป็นอันตรายได้

มะเร็งปากมดลูกนั้นมีความร้ายกาจแต่ก็สามารถป้องกันก่อนได้ ด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูกขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้และปลอดภัย ทั้งยังช่วยให้คุณแม่ได้ดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงต่อโรค เพื่อการตั้งครรภ์ที่ราบรื่น และสุขภาพที่ดีของทั้งแม่และลูก หวังว่าบทความนี้จะช่วยคลายความสงสัยว่า ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม และช่วยให้คุณแม่ตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงและความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์นะคะ

 

ที่มา : www.bangpakok3.com , www.vejthani.com , raknareeclinic.com , www.praram9.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง อันตรายไหม? มีสาเหตุจากอะไร?

ตกขาวสีเหลือง ในช่วง “ตั้งครรภ์” อันตรายไหม? แก้ไขยังไงดี

วิธีดูแลคนท้องอ่อน คู่มือสำหรับคุณพ่อดูแลคุณแม่ ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี