อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในยุคปัจจุบัน เด็กๆ ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น สิ่งนี้แม้จะเปิดโอกาสให้พวกเขาเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ก็แฝงไว้ด้วยอันตราย ภัยคุกคามทางเพศก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ต้องกังวล หลายคนอาจไม่ทราบว่าเด็ก ๆ เผชิญกับอะไรบ้างบนโลกออนไลน์ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึง ภัยออนไลน์ “คุกคามทางเพศ” เพื่อที่จะได้ปกป้องลูกหลานของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รูปแบบของภัยคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย

ประเภทของภัยออนไลน์ล่วงละเมิดทางเพศ

 

 

  • การล่อลวงทางออนไลน์ (Grooming)

ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสร้างความคุ้นเคย สร้างความไว้วางใจ และโน้มน้าวให้เด็กส่งข้อมูลส่วนตัวหรือภาพลับ เพื่อนำไปแบล็กเมล์หรือล่วงละเมิดทางเพศ

 

  • การล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ (Online Sexual Abuse)

เด็กอาจถูกข่มขู่ คุกคาม หรือบังคับให้ทำกิจกรรมทางเพศผ่านกล้องวิดีโอ หรือถูกส่งข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่มีเนื้อหาทางเพศ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • การค้าประเวณีเด็กออนไลน์ (Online Child Sex Trafficking)

เด็กอาจถูกหลอกลวงหรือบังคับให้ค้าประเวณีผ่านช่องทางออนไลน์

 

อันตรายแฝงในโลกออนไลน์: ภัยคุกคามต่อเด็กไทย

ในปัจจุบัน เด็ก ๆ ทั่วโลกสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคย ส่งผลให้การ คุกคามทางเพศ ออนไลน์กลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยและน่ากังวล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง NGO องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็กที่มีฐานอยู่ในเฮลซิงกิ ได้เผยผลวิจัยจากประเทศฟินแลนด์ ซึ่งได้ตอกย้ำอันตรายบนโลกออนไลน์ให้เราเห็นกันได้อย่างชัดเจน จากผลสำรวจที่ทำแบบสอบถามกับเด็กผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวนกว่า 30,000 คน พบว่า เด็กถึง 70% เคยถูกคุกคามทางเพศและถูกล่วงละเมิดทางเพศ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ซึ่งตัวผู้ละเมิดเผยว่ามักใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ ฯลฯ หรือ เกมออนไลน์ ในการ คุกคามทางเพศ กับเด็ก ๆ หนึ่งในสาเหตุหลักนั้นมาจาก แอปพลิเคชั่นเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การยืนยันตัวจริงของผู้ใช้อย่างเข้มงวด  ซึ่งทำให้การตามตัวผู้ละเมิดนั้นอาจจะยากกว่าปกติ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่น่าตกใจ

บาดแผลในจิตใจเด็ก ๆ ที่ไม่มีวันลืม

ประสบการณ์เลวร้ายเหล่านี้ในวัยเด็ก เปรียบเสมือนเงาตามตัวที่ฝังลึกในจิตใจ ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งทางผลวิจัยจากประเทศฟินแลนด์ยังได้เผยความรู้สึกของ เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ  

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ถูกถ่ายทั้งรูปและวิดีโอ และรูปภาพเหล่านั้นยังถูกส่งต่อให้ผู้อื่นอีกด้วย และในบางครั้งรูปภาพเหล่านั้นถูกตัดต่อให้ไปในทางที่อนาจารอีกด้วย”

 

“ถูกบังคับให้ถ่ายรูปตนเองตอนโป๊แล้วส่งให้คนในเกมออนไลน์ ถ้าทำถูกใจเขาก็จะได้ไอเทมในเกมที่หายากได้”

 

“ถูกติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งแต่ละข้อความเป็นการคุกคามทางเพศอย่างรุนแรง บางคนถึงกับส่งรูปตนเองตอนโป๊มาให้ดู ทางเดียวที่จะได้เห็นหน้าผู้ละเมิดเหล่านี้คือช่องทางเว็บที่ชื่อ Omegle”

 

สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าลูกถูก คุกคามทางเพศ หรือไม่?

สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกของคุณอาจกำลังตกอยู่ในอันตรายจากปัญหาการคุกคามทางเพศออนไลน์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เด็กใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น ปิดบังหน้าจอเมื่อมีคนอยู่ใกล้
  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น เก็บตัว ซึมเศร้า โมโหร้าย
  • มีเงินหรือสิ่งของมาใหม่โดยไม่ทราบที่มา
  • พูดถึงเรื่องเพศหรือความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม

 

วิธีสอนลูกให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากการถูก คุกคามทางเพศ ในโลกออนไลน์

  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับโลกออนไลน์

ในเคสของประเทศไทย จากรายงาน “หยุดยั้งอันตรายในประเทศไทย” เผยให้เห็นภาพน่าตกใจว่า เด็กไทยจำนวนมากที่ถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์ ไม่รู้ว่าจะต้องแจ้งความหรือขอความช่วยเหลือจากที่ใด โดยมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ไปแจ้งความ น่าเศร้าที่เด็กหลายคนโทษตัวเอง คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของตัวเอง ซึ่งรายงานนี้ยังชี้ประเด็นสำคัญว่า ผู้ก่อเหตุมักเป็นคนที่เด็กรู้จักอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นผู้ปกครองจึงควรพูดคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ สร้างความรู้ความเข้าใจให้เด็กเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ สอนให้เด็กรู้จักวิธีป้องกันตัวเองและรู้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับการคุกคามทางเพศออนไลน์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: สอนลูกให้ระวังการล่วงละเมิดทางเพศ

 

  • สอนให้รู้จักร่างกายตัวเอง

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายว่าร่างกายของลูกเป็นของลูก และสอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธเมื่อมีใครพยายามสัมผัสร่างกายโดยไม่ได้รับอนุญาต  

 

  • ติดตั้งโปรแกรมควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต

โดยโปรแกรมเหล่านี้จะควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถจำกัดเนื้อหาที่เด็กสามารถเข้าถึงบนโลกออนไลน์ ป้องกันเด็กจากอันตรายต่าง ๆ เช่น การล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา เด็กถูก คุกคามทางเพศ ในโลกออนไลน์

จากผลการวิจัยที่น่าตกใจ NGO องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็ก ได้เผยแนะแนวทางปฏิบัติสำคัญ ดังนี้

  • ออกแบบแพลตฟอร์มออนไลน์โดยคำนึงถึงสิทธิเด็กเป็นสำคัญ สร้างระบบและนโยบายที่ปกป้องเด็กตั้งแต่การออกแบบ
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพในการตรวจจับและลบเนื้อหา CSAM หรือเรียกอีกอย่าง ว่าสื่อลามกอนาจารเด็ก หมายถึง การนำเสนอกิจกรรมทางเพศอย่าง
    โจ่งแจ้งที่มีเด็กเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จริงและในสถานการณ์จำลองขึ้นมาเฉย ๆ หรือการนำเสนออวัยวะเพศของเด็กโดยมีจุดประสงค์ทางเพศก็ตาม ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามโดยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลบเนื้อหาที่ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก 
  • ยืนยันกระบวนการยืนยันอายุที่เข้มงวด ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่บรรลุนิติภาวะเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
  • ป้องกันและลดการก่อเหตุ รณรงค์สร้างจิตสำนึก รวมถึงออกกฎหมายและบทลงโทษที่เข้มงวด

 

โดยสรุปแล้ว การ คุกคามทางเพศออนไลน์ส่งผลกระทบต่อเด็กทั่วโลก การเผยแพร่ผลวิจัยขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็ก จากประเทศฟินแลนด์ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ และเน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินการอย่างเร่งด่วน การปกป้องเด็กจากการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ ไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคน การสร้างความตระหนัก รณรงค์สร้างจิตสำนึก และการดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ จะช่วยสร้างโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย ให้เด็ก ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยปราศจากความกังวลและอันตราย

 

ที่มา: Suojellaan Lapsia: Protect Children, theactive.net, Department of Children and Youth

บทความโดย

samita