นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีผลเสียอะไรบ้าง และต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ? หลาย ๆ คนกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหม การนอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอเนี่ย จะมีผลเสียอะไรบ้าง แล้วนอนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อวัน มาดูกัน
การนอนน้อย คืออะไร
นอนน้อยคือ การที่ภาวะของร่างกายนั้นนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ และประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตได้ ผู้ที่มีการนอนน้อยอาจจะอารมณ์เสีย หรือทำงานได้ไม่ดีเพราะร่างกายนั้นเกิดการอ่อนล้า การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นประจำนั้น อาจจะทำให้เสี่ยงป่วย และมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน ผู้ที่นอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอมักจะรู้สึกเหนื่อย และง่วงซึมอยู่ตลอดทั้งวัน สามารถที่จะหลับได้ภายใน 5 นาที เมื่อทำการนอนลง หรืออาจจะประสบกับภาวะวูบ หรือหลับในช่วงเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้ ภาวะการนอนน้อยยอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ สมรรถภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ จะลดลง เช่น การขับรถ หรือควบคุมการทำงานของอวัยวะแต่ละสัดส่วนให้สอดคล้องกันได้ยาก
ควรนอนเท่าไหร่ถึงจะนอนอย่างเพียงพอ
- เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
- เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
- เด็ก (อายุ 1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
- วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
- วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
- วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
- วัยรุ่น (18-25 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- วัยทำงาน (26-64 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง เท่ากับตอนวัยรุ่น
- วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง
นอนน้อยส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
การที่คุณนอนน้อย หรือนอนหลับไม่เพียงพอนั้น อาจจะประสบกับภาวะทางด้านสบุขภาพต่าง ๆ ได้ ดังนี้
กระทบต่อกระบวนการคิด
การนอนหลับนั้นสำคัญต่อการคิด และการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ถ้าหากว่าร่างกายนั้นเกิดการพักผ่อนที่น้อยอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการคิดได้ โดยจะทำให้ความตื่นตัว ความสามารถในการใช้เหตุผล ทักษะการแก้ปัญหา และสมาธิในการทำสิ่ง ๆ นั้นลดลง และจะส่งผลให้ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิธิภาพได้อย่างเต็มที่
ปัญหาสุขภาพ
การนอนน้อย หรือประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลังเรื้อรัง เสี่ยงป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง และเบาหวาน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันนั้นจะผลิต ไซไตไคน์ เซลล์ และแอนติบอดี้ต้านเชื้อโรคขณะที่นอนหลับได้ โดยสารเคมีเหล่านี้นั้นจะทำการต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส รวมทั้งชช่วยให้นอนหลับ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันปกป้องร่างกายจากการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ถ้าหากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถที่จะผลิตสารเคมีที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันเชื้อโรคได้
ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า
ผู้ที่นอนน้อยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ สามารที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ ทั้งนี้ ภาวะการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับนอนที่พบได้มากที่สุด และเป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะของโรคซึมเศร้าอย่างเด่นชัด เนื่องจากภาวะนอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้เป็นอันดับแรกของโรคซึมเศร้าเลย
ผิวเสียลง
ผู้ที่ไม่ได้นอนติดต่อกันเป็ฯเวลา 2 – 3 คือ มักจะมีผิวที่เหี้ยวและตาบวม โดยผู้ที่อดนอนติดกันเป็นเวลานานจะมีรอยย่น และรอยคล้ำรอบดวงตาร่วมด้วย เนื่องจากร่างกายนั้นหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดออกมาย่อยสลายคอลลาเจน และโปรตีนที่ช่วยทำให้ผิวที่มีความเรียบตึงนั้นหายไป ทั้งนี้ ผู้ที่นออนน้อยหรืออดนอนจะหลั่งโกรทฮอร์โมน ออกมาน้อยมาก โดยฮอร์โมนนี้จะช่วยในการเจริญเติบโต และเพิ่มความสุงเมื่ออายุน้อย รวมทั้งช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังหนา และกระดูกแข็งแรงเมื่ออายุมากขึ้น
ลืมง่าย
การนอนหลับน้อย หรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลต่อการจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากสมองจะพักเซลล์ประสาทของสมอง รวมทั้งจัดการพื้นที่ความคิดให้พร้อมเปิดรับข้อมูลในวันต่อไปขณะที่นอนหลับหากนอนน้อย หรือนอนหลับไม่เพียงพอ ก็อาจจะส่งผลต่อความจำอย่างมาก
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะนอนน้อยอาจจะเกี่ยวกับข้องความหิวน้อย่อยที่เพิ่มมากขึ้น และภาวะอ้วน โดยพบว่าผู้ที่นอนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวนั้นจะเพิ่มขึ้น และเสี่ยงเป็นโรคคอ้วนได้สูงกว่าผู้ที่นอนหลับ 7 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ที่นอนน้อยจะมีสารเคมีเลปติน ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ในระดับน้ำตาล และมีฮอร์โมนเกรลิน ที่ช่วยกระตุ้นให้หิวอยู่ในระดับบมาก ทั้งนี้ การนอนน้อย หรือการหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะช่วยกระตุ้นให้รู้สึกหิวอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คนเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง? นอนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ตื่นเช้ามาไม่มีงัวเงีย
แม่ท้องนอนน้อย นอนไม่หลับ นอนยังไงให้ปลอดภัยทั้งแม่ลูก
นอน ทำไมคนเราต้องนอน สิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนมองข้าม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com , safeheartgroup.com