วิธีดูแลจมูกทารกแรกเกิด ลูกงอแง อาจเกิดจากรูจมูกอุดตัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกของคุณพ่อคุณแม่มีอาการคัดจมูกหรือไม่ ? ทารกส่วนใหญ่จะมีอาการงอแง หงุดหงิด เมื่อไม่สามารถหายใจได้ เพราะทารกมีโพรงจมูกที่เล็ก และถูกปิดกั้นค่อนข้างง่าย ดังนั้นหากลูกน้อยของคุณนอนกรน มีปัญหาในการรับประทานอาหาร หรือดูหงุดหงิดมากกว่าปกติ สาเหตุอาจเกิดจากจมูก เราจะมาแนะนำ วิธีดูแลจมูกทารกแรกเกิด เพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่สบายจมูกของลูกน้อย เราจะบอกถึง วิธีทำความสะอาดจมูกของทารก เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ทราบว่าต้องทำอย่างไร เพื่อให้ลูกน้อยสบายจมูกค่ะ

 

สาเหตุของอาการคัดจมูก

การที่ทารกแรกเกิดรู้สึกไม่สบาย อาจทำให้พ่อแม่ท้อใจได้ เมื่อทารกมีอาการคัดจมูก ในบางครั้งลูกไม่ยอมกินด้วย สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่โดยสาเหตุที่ทำให้จมูกของทารกอุดตันได้นั้นมีหลายสาเหตุ บางสาเหตุก็ไม่เกี่ยวข้องกับการป่วย และนี่คือ 5 สาเหตุที่ทำให้ทารกหายใจลำบาก

  • ช่องจมูกมีขนาดเล็ก
    รูจมูกของทารกแรกเกิดนั้นค่อนข้างเล็ก ดังนั้น ถึงจะมีน้ำมูกไม่มากก็สามารถทำให้รูมูกอุดตันได้ และอาจทำให้มีเลือดคั่งได้ หากลูกกินอาหารได้โดยไม่มีปัญหาและดูปกติดี อาจมีเสมหะอุดตันไม่มากนัก
  • ทารกไม่สามารถสั่งน้ำมูกได้
    เสมหะในจมูกมาจากหลายสาเหตุ เด็กโตและผู้ใหญ่สามารถสั่งน้ำมูกออกมาได้ แต่ทารกไม่สามารถทำได้ ดังนั้นลูกจึงต้องการวิธีอื่นในการช่วยให้โพรงจมูกโล่ง
  • สิ่งที่ทำให้จมูกระคายเคือง
    น้ำหอม ควันบุหรี่ ขนของสัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ หรือฝุ่น ล้วนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ช่องจมูกได้ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะได้สูดอากาศที่มีคุณภาพดี
  • ลูกเป็นหวัด
    ทารกมีความไวต่อไวรัสหวัดเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีอาการคัดจมูก โดยเฉพาะหากมีคนในครอบครัวเพิ่งติดเชื้อไวรัส ก็อาจเป็นไข้หวัดได้
  • มีอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงกว่า
    ไวรัสทางเดินหายใจ (RSV) อาจทำให้ลูกมีเลือดคั่งพร้อมกับไอ และหายใจลำบาก ทำให้เกิดโรคที่เราเรียกว่าหลอดลมอักเสบ มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ หงุดหงิดและไม่กินอาหาร ไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวมเป็นโรคที่อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจติดขัด ดังนั้นควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบเข้ารับการรักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง ลูกคัดจมูก หายใจครืดคราด ทำความสะอาดจมูกลูกน้อย ง่าย ๆ

 

 

วิธีดูแลจมูกทารกแรกเกิด

เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีอาการคัดจมูก วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการสั่งน้ำมูกออก แต่ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถทำได้ นั่นเป็นเหตุผล ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหานี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หยอดน้ำเกลือ

หยดน้ำเกลือ เป็นวิธีที่ดีในการทำความสะอาดจมูกของทารก น้ำเกลือจะทำงานโดยทำให้น้ำมูกอ่อนตัว ช่วยล้างสิ่งสกปรกได้ชั่วคราว กุมารแพทย์มักแนะนำยาหยอดสำหรับทารก เนื่องจากจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ควบคุมปริมาณยาได้ ขั้นตอนการหยอดน้ำเกลือ

  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องวางลูกลงบนเบาะ ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก การห่อตัวเด็กจะช่วยให้คนล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวก นุ่มนวลและไม่เกิดการบาดเจ็บ
  • หงายหน้าลูกโดยใช้มือหรือหมอนรองคอ
  • หยดน้ำเกลือหนึ่งถึงสองหยด ลงในรูจมูกแต่ละข้าง
  • จากนั้นรอสักครู่ก่อนที่จะพลิกทารกคว่ำหน้าลง ให้น้ำมูกไหลออกมา
  • ใช้ทิชชูหรือผ้านุ่ม ๆ เช็ดน้ำมูกหรือน้ำเกลือส่วนเกินที่ไหลออกจากจมูก

ลูกน้อยอาจจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือนัก แต่มักจะอารมณ์ดีขึ้นหลังจากหายใจได้คล่องขึ้นอีกครั้ง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ลูกยางแดง

คุณพ่อคุณแม่คงเคยเห็นลูกยางแดงเหล่านี้มาก่อน ส่วนใหญ่จะมีมาในชุดดูแลทารก หรืออาจได้รับมาจากโรงพยาบาล ลูกยางแดงผลิตขึ้นเพื่อการดูดเสมหะในจมูกของทารกโดยเฉพาะ ลูกยางแดงเบอร์ 0 – 2 สำหรับเด็กขวบปีแรก และลูกยางแดงเบอร์ 2 – 4 สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี วิธีการใช้คือ

  • วางลูกบนพื้นราบโดยหงายหน้าขึ้น ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก
  • บีบอากาศออกจากกระเปาะให้หมด จากนั้นค่อย ๆ สอดปลายเข้าไปในจมูกของทารก ประมาณ 1 เซนติเมตร
  • คลายการบีบที่กระเปาะ วิธีนี้จะดูดเสมหะออกจากจมูกของลูกและเข้าไปในกระเปาะ
  • เตรียมผ้าไว้ใกล้ ๆ เพื่อบีบน้ำมูกหรือเสมหะในกระเปาะออก ก่อนที่จะใช้กับรูจมูกอีกข้างหนึ่ง

หากรูจมูกของลูกแห้งแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หลอดน้ำเกลือลงไปก่อนเพื่อทำให้น้ำมูกอ่อนตัวลง คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความสะอาดลูกยางแดงหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง 10 น้ำเกลือล้างจมูก ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ทำความสะอาดง่าย ไม่แสบจมูก !

 

3. เครื่องดูดน้ำมูก

เครื่องดูดน้ำมูก ทำงานคล้ายกับลูกยางแดง แต่เครื่องดูดน้ำมูกตัวเครื่องจะทำการดูดด้วยตัวเอง เครื่องดูดน้ำมูกมีท่อดูดที่เป็นซิลิโคนนิ่มเพื่อให้ดูดน้ำมูกออกจากจมูกอย่างนุ่มนวล ใช้วิธีเดียวกับลูกยางแดง สอดเข้าไปในจมูกลูกความลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้ปลายเข้าไปในรูจมูกมากเกินไป เมื่อคุณพ่อคุณแม่ใช้เครื่องดูดน้ำมูกไม่ควรใช้แรงมากเกินไป อาจทำให้ลูกมีอาการอักเสบภายในจมูกได้ แต่หากใช่ถนัดแล้วจะพบว่าสามารถควบคุมได้ค่อนข้างดี

 

อีกหนึ่งเคล็ดลับคือ ให้ใช้น้ำเกลือหยดเพื่อละลายเสมหะก่อน จากนั้นใช้เครื่องดูดเพื่อดึงออกมา เครื่องดูดเสมหะมีตัวกรองอยู่ภายในท่อเพื่อป้องกันไม่ให้เสมหะไหลย้อนออกมา อาจรู้สึกแปลก ๆ ที่ใช้เครื่องดูดน้ำมูกออกจากจมูกเจ้าตัวน้อย แต่มันใช้ได้ผลดี เช่นเดียวกับลูกยางแดง และคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความสะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

4. ควรล้างจมูกลูกเมื่อไหร่?

คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้น้ำเกลือหยด และใช้ลูกยางแดงหรือเครื่องดูดน้ำมูกได้ 3 ถึง 4 ครั้งใน 1 วัน หากเกินกว่านั้น อาจเสี่ยงต่อการทำลายเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้เกิดการระคายเคืองและเลือดกำเดาไหล ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำความสะอาดจมูกลูกคือช่วงก่อนให้นม เพราะจะช่วยให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกในขณะกินนม หากจะจมูกลูกอุดตันขณะลูกกินนมจะทำให้หายใจไม่ออกและไม่กินนม ดังนั้นจึงต้องทำให้ลูกจมูกโล่งเพื่อกินนมได้อย่างสะดวก

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกกินอาหารได้ไม่ดี เมื่อป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากต้องหายใจทางปากและต้องกินอาหารทางปากด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกจะกินนมแค่ช่วงสั่น ๆ ทำให้คุณพ่อคุณแม่จะต้องป้อนนมบ่อยขึ้น เวลาที่ดีในการล้างน้ำมูกอีกครั้ง คือก่อนนอนตอนกลางคืนเพื่อช่วยให้ลูกหลับได้ดีขึ้น

 

5. ดูแลจมูกลูกน้อย

เมื่อใช้ลูกยางแดงหรือเครื่องดูดน้ำมูก มีข้อควรระวังที่ควรปฏิบัติ กระบวนการควรเป็นไปอย่างนุ่มนวลเสมอ และควรสงบสติอารมณ์เพื่อให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย ทำความสะอาดมือก่อนเริ่มดูดน้ำมูกลูก สิ่งนี้จะป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูก นอกจากนี้ อย่าลืมล้างมือหลังจากสัมผัสสารคัดหลั่งของทารก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือแบคทีเรียสู่ตัวคุณเองและผู้อื่น

 

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ซื้อลูกยางแดงหรือเครื่องดูดน้ำมูก ควรตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าออกแบบมาสำหรับทารกโดยเฉพาะ หากปลายแหลมใหญ่เกินไป อาจทำให้รูจมูกเจ้าตัวเล็กบาดเจ็บได้ ปฏิบัติตามคำแนะนำที่มาพร้อมกับอุปกรณ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มีวิธีการรักษาหลายอย่างสำหรับอาการคัดจมูกที่ผู้ใหญ่ใช้ได้ ไม่ควรนำที่ล้างจมูกของผู้ใหญ่มาใช้กับทารก เนื่องจากยากที่จะควบคุมปริมาณน้ำเกลือที่หยอดในรูจมูกของลูก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำความสะอาดรูจมูกของลูกได้การใช้น้ำเกลือและลูกยางแดง สามารถใช้ได้ง่ายและปลอดภัยกว่ามาก การทาวิคส์อาจใช้ได้สำหรับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ แต่มักไม่ดีสำหรับทารก วิคส์มักจะมีส่วนผสม เช่นเมนทอลหรือการบูร ซึ่งรุนแรงเกินไปสำหรับ ผิวบอบบางของทารกแรกเกิด นอกจากนี้ ทารกอาจเผลอเอาเข้าตาโดยไม่ได้ตั้งใจได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภูมิแพ้จมูกอักเสบ สาเหตุของโรค และวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

เมื่อลูกมีน้ำมูก ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัยและสะอาดหมดจด

ล้างจมูก วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว

ที่มา : momlovesbest, si.mahidol

บทความโดย

Kanjana Thammachai