ผ้าอ้อมยุคใหม่ แจ้งเตือนเมื่ออึเต็มก้น เทคโนโลยียุคใหม่ ใส่ใจคุณแม่
ผ้าอ้อมถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่ขาดไม่ได้สำหรับคุณแม่ เมื่อมีลูก ในปัจจุบัน มีผ้าอ้อมหลากหลายชนิดให้คุณแม่เลือกใช้ ผ้าอ้อมยุคใหม่ มีนวัตกรรมอะไรใหม่มากมาย กว่าที่คุณคาด เราเชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ทุกคงคงจะพก ผ้าอ้อมติดตัว ใส่ประเป๋า กระเตง ไปทุกที่ เพราะว่าเจ้าหนูน้อยยังไม่สามารถควบคุม การขับถ่ายของตัวเองไม่ได้
การพกผ้าอ้อมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทักษะการใส้ผ้าอ้อม เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ พ่อ แม่ ต้องมี เพราะไม่รู้ว่าวันนึง จะต้องเปลี่ยนกี่รอบ ทารก เป็นวัยที่ถ่ายบ่อยกว่าคนเป็นผู้ใหญ่อยู่แล้ว ทำให้ต้องเกิดการเปลี่ยนหลายรอบ มันจะดีแค่ไหนถ้าคุณมีผู้ช่วย
ผ้าอ้อมยุคใหม่สามารถแจ้งเตือนได้
เมื่อประมาณกลางเดือน มกราคม มีบริษัทผลิตผ้าอ้อม เจ้าใหญ่ เจ้าหนึ่งได้ออกมาเปิดตัว นวัตกรรมผ้าอ้อมรุ่นใหม่ล่าสุด ที่งาน Consumer Electronics Show (CES) ในเมือง Las Vegas ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ้าอ้อมรุ่นใหม่นี้จะแจ้งเตือนว่า เมื่อไหร่คุณควรจะเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ พาลูกเข้าห้องน้ำได้แล้ว โดยการใช้เซนเซอร์ที่ติดไว้กับผ้าอ้อม
นี่เป็นผ้าอ้อม ที่จะช่วยให้ชีวิตของพ่อแม่ยุคใหม่ง่ายขึ้น พวกเขาจะสามารถ ดูพัฒนาการของเด็ก ผ่านแอปได้ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อที่พ่อแม่จะได้รู้ว่า ลูกจะสามารถจัดระบบ กิจวัตร และ กิจกรรมการใช้ชีวิตของลูก ได้ง่ายขึ้น ระบบนี้ ยังมี กล้องที่สามารถมองได้ตอนกลางคืน ที่มีความชัด HD กล้องนี้ สามารถตรวจจับ อุณหภูมิ และความชื้น และ ส่งไปที่ แอป ให้พ่อแม่รับรู้ ว่า ตอนกลางคืนรู้นอนหลับสบายหรือไม่
ผ้าอ้อมไซส์ไหนเหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่
เด็กแรกเกิด : ผู้ปกครองบางคนจะชอบผ้าอ้อมที่มีความยืดหยุ่นมากๆ เพราะเหมาะกับเด็กทารกที่มีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว คุณอาจเลือกผ้าอ้อมแบบที่มีรูปร่างเป็นตัวยู เนื่องจากเด็กแรกเกิดมีความเลอะเทอะทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย การซึมซับยังอาจจะไม่จำเป็น
5 ถึง 8 เดือน : เมื่อเด็กเริ่มทานอาหารแข็งผ้าอ้อมจะเลอะเทอะยิ่งขึ้น การที่ไม่รั่วเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ลูกอาจจะนอนหลับได้นานขึ้นด้วย ถ้าผ้าอ้อมลูกแฉะตอนตื่นนอนให้ลองใช้ผ้าอ้อมที่เหมาะสำหรับตอนกลางคืน
9 ถึง 24 เดือน : วัยนี้ต้องใช้ผ้าอ้อมที่ัดกุมแต่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยเพื่อลดความเสี่ยงจะเกิดผดผื่น เวลาที่เกิดการเสียดสีตอนเคลื่อนไหวไปมา
24 เดือนขึ้นไป : ถึงช่วงเวลาฝึกลูกให้นั่งส้วมแล้ว ผู้ปกครองบางคนอาจจะใช้ผ้าอ้อมที่มีรูขับถ่าย มันใช้ฝึกก็ได้ และ ดีเวลาที่มีอุบัติเหต แต่วิจัยเผยว่าเด็กบางคนก็จะไม่ยอมใช้ส้วมถ้าใส่อะไรบางอย่างที่คล้ายผ้าอ้อมไว้อยู่
ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยแค่ไหน
อึอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิว หรือทำให้ติดเชื้อปัสสะวะได้ เพราะฉะนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกโดยเร็วทีสุด ถ้าคุณใช้ผ้าอ้อมที่มีการดูดซับดีมาก อาจจะปล่อยไว้ได้นานหน่อย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็กต้องนอน เราไม่จำเป็นจะต้องปลุกลูกขึ้นมาเปลี่ยนผ้าอ้อมตลอดเวลา ถ้าใช้ผ้าอ้อมที่เหมาะกับเวลากลางคืน แต่โดยทั่วไปแล้ว เมื่อลูกขับถ่ายก็สามารถเปลี่ยนได้เลยทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเปลี่ยนไซส์
มีสัญญาณบอกใบ้หลายอย่างที่จะช่วยบอกได้ว่าลูกคุณควรที่จะเปลี่ยนไซส์ผ้าอ้อมแล้ว เช่น ส่วนด้านข้างเบะออก บริเวณขาแน่นมาก หรือผ้าอ้อมเปลี่ยนรูปร่างลักษณะไปเป็นเหมือนกางเกงในบิกินนี่ เลื่อนลงไปเลยบริเวณสะดือเกินหนึ่งนิ้วขึ้นไป การรั่วก็เป็นสัญญาณบ่งบอกอีกอย่างนึงว่าผ้าอ้อมชิ้นนั้นใหญ่เกินไป
จะทำอย่างไรถ้าซื้อผ้าอ้อมมาเยอะเกินไป
บางครั้งถ้าผู้ปกครองไม่นั่นใจว่าจะใช้ผ้าอ้อมที่เลหือเหล่านั้นไปทำอะไร คำตอบง่ายๆก็คือ นำไปบริจาคให้คนรู้จัก หรือ จะนำไปบริจาคให้คนที่ไม่มีโอกาสก็ได้เช่นกัน Lisa Truong หนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์กร Help a Mother Out องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้หญิงเข้าถึงผ้าอ้อมง่ายขึ้นกล่าวว่า สำหรับผู้หญิงบางคน ผ้าอ้อมนั้นมีค่ามากกกว่าทอง ในประเทศสหรัญอเมริกา มีองค์กรการกุศลมากมายที่ให้อาหารแก่ผู้ยากไร้ แต่ไม่ค่อยมีองค์กรไหนที่ให้ผ้าอ้อมแก่ผู้หยิงให้เห็นมากนัก แต่เธอก็เห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อบริษัทใหม่ๆหันมาทำกิจกรรมดการกุศลสำหรับแม่ที่ยากไร้กันมากขึ้น
ผ้าอ้อมมีผลกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ผ้าอ้อมมีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอนเนื่องจากว่าผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้งก็ทำมาจากพลาสติก
วิธีเลือกผ้าอ้อมให้ลูกอย่างปลอดภัย
ในการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควรตระหนักความปลอดภัย ความสะดวก ความเหมาะสม และความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เลือกใช้ จึงขอแนะนำในการเลือกใช้ผ้าอ้อมเด็กอย่างปลอดภัย ดังนี้
- ควรเลือกผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมเด็กที่ทำจากวัสดุที่มีการซึมซับได้ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ควรเลือกผ้าอ้อมเด็กให้เหมาะสมกับอายุและรูปร่างของเด็กเพื่อการสวมใส่ที่สะดวกสบายและไม่อึดอัด
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมเด็กที่ใช้สารที่อาจทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้ง่าย เช่น น้ำหอม สี หรือกาว
- หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทุกครั้ง ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำ และเช็ดผิวหนังให้แห้งก่อนใส่ชิ้นใหม่ เพื่อป้องกันการอับชื้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังได้
- ควรใส่ผ้าอ้อมเด็กตามระยะเวลาการใช้งานที่กำหนดไว้บนฉลากเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเด็ก
- ควรคำนึงถึงว่าผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
การเปลี่ยนผ้าอ้อมทารก
ทารกแรกเกิดจะกินนมบ่อย ขับถ่ายบ่อย ทารกบางคนจะถ่ายทุกครั้งหลังกินนมอิ่ม จึงไม่ควรให้ลูกใส่ผ้าอ้อมนานเกินหลายชั่วโมง หรือรอจนผ้าอ้อมเปียกชุ่มแล้วค่อยเปลี่ยน พ่อแม่ควรจัดการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทุก 2-3 ชั่วโมง หรือถ้าลูกถ่ายให้รีบล้างทำความสะอาดก้นลูกทันที จากนั้นเปลี่ยนผ้าอ้อมผืนใหม่ เพราะถ้าให้ใส่ผืนเดิม นอกจากจะมีปัญหาเรื่องความสะอาดแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผื่นแพ้ได้
การขับถ่ายของทารก
- ทารกแรกเกิด : การขับถ่ายในช่วงแรกเกิดยังไม่เป็นระบบดี ลูกจะปัสสาวะเกือบทุก 20 นาทีในช่วงเดือนแรก ๆ หรือประมาณ 10-15 ครั้งต่อวัน โดยในแต่ละครั้งปริมาณการปัสสาวะจะค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากกะเพาะปัสสาวะของลูกยังเล็กนิดเดียว และมีการถ่ายอุจจาระทุกครั้งที่ตื่นนอนหรือทุกครั้งหลังจากกินนมแม่ ประมาณ 10 ครั้งต่อวัน สำหรับทารกที่กินนมแม่ลักษณะของอุจจาระจะเหลว เพราะนมแม่ย่อยง่าย จึงไม่มีกากใย ช่วงแรก ๆ อาจจะเห็นลูกถ่ายเหลวบ่อย คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจว่าลูกมีอาการท้องเสียนะคะ ความถี่จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรกเกิดนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมดูแลทำความสะอาดก้นลูกแทบทุกระยะ
- อายุ 1-4 เดือน : จะปัสสาวะประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน ปริมาณของปัสสาวะจะน้อยมากอาจขึ้นอยู่กับการกินนมแล้วแต่ความต้องการของทารกแต่ละคน และเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อท้อง ส่วนความถี่ในการอุจจาระประมาณ 8-10 ครั้ง สำหรับลูกที่กินนมผสมจะลดลง ซึ่งก็จะทำให้มีจำนวนครั้งที่เเตกต่างกันไปในเด็กเเต่ละคน
- อายุ 5-6 เดือน : ทารกจะปัสสาวะ 9-12 ครั้งต่อวัน เมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือน จะฉี่และอึ๊น้อยลง ขึ้นอยู่กับปริมาณการทานนมของแต่ละคนด้วย
Source : facmedicine
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?
ผ้าอ้อมแบบไหนดี เรื่องที่ควรรู้ เลือกแบบไหนดี แบบไหนเหมาะ
ผื่นผ้าอ้อม ของลูกน้อย…ที่ไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยของแม่