ทารกวัยคว่ำ หัดพลิกคว่ำพลิกหงาย วัยอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

ในช่วง 3-6 เดือน ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการพลิกคว่ำพลิกหงายได้เอง เริ่มกลิ้งไปมาและสนุกกับการคืบคลาน พ่อแม่อาจตื่นเต้นดีใจกับพัฒนาการอีกขั้นของลูก แต่อย่ามัวดีใจเพลิน จนลืมระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดกับลูกวัยนี้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกวัยคว่ำ คืออะไร

ทารกคว่ำ คือช่วงอายุที่ ทารก 3-6 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการพลิกคว่ำพลิกหงาย พ่อแม่อาจตื่นเต้นดีใจกับพัฒนาการของลูก แต่อย่ามัวดีใจเพลิน จนลืมระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดกับ ทารกวัยคว่ำ วันนี้เราจะมาดูข้อควรระวัง และ วิธีเตรียมรับมือ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย กันค่ะ ไปดูกันเลย

อันตรายของเด็กวัยคว่ำ

เมื่อลูกอยู่ในวัยคว่ำ พ่อแม่ต้องระวังเรื่องใดบ้าง

1. ตกจากที่สูง เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายโดยพ่อแม่อาจไม่ทันตั้งตัว เพียงแค่หันหลังไปแวบเดียวลูกก็อาจกลิ้งตกจากที่สูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกจากเตียง พ่อแม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูกซึ่งอาจจะไม่มีที่กั้นต้องระวังเป็นพิเศษ อาจดันเตียงชิดผนังห้อง หรือย้ายจากเตียงลงมานอนบนฟูกที่พื้น และการตกจากที่สูงนี้เองอาจทำให้ร่างกายของเด็กได้รับการกระแทกจนเกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องระวังอยู่ตลอดทุกวินาทีทีเดียวค่ะ

เมื่อลูกตกจากที่สูง ควรทำอย่างไร

– ตั้งสติ อย่าร้องเสียงหลง เพราะอาจทำให้ลูกซึ่งกำลังตกใจอยู่แล้วขวัญเสียขึ้นไปอีก

– ดูว่าลูกเจ็บหรือมีบาดแผลตรงไหนหรือไม่ ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น

– ถ้าไม่มีการบาดเจ็บ แต่มีการกระแทกที่ศีรษะให้รอดูอาการภายใน 24 ชั่วโมง หากลูกเซื่องซึม ไม่ร่าเริง ดูหงอย ๆ อาจเป็นเพราะเลือดออกในสมอง ให้รีบพาไปพบคุณหมอ

วิธีป้องกัน

– อย่าวางลูกทิ้งไว้ลำพังบนเตียง โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา หรือที่สูง ถ้าไม่สามารถอุ้มได้ ก็ให้วางเด็กไว้บนที่นอนบนพื้นราบหรือในเปลนอนที่มีขอบกั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ถ้าจำเป็นต้องวางลูกบนที่สูง เพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ก็ควรเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และต้องวางมือหนึ่งบนตัวเด็กเสมอ

เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ

ทารกวัยคว่ำ

2. กระแทกกับของแข็ง แม้จะวางลูกบนพื้นราบแล้วก็ตามที แต่หากไม่ระวังลูกวัยคว่ำก็อาจกลิ้งตัวไปมากระแทกกับเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านที่เป็นของแข็ง ทำให้เกิดการฟกช้ำหรือบาดเจ็บได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกัน

– หากต้องทิ้งลูกไว้เพียงลำพังแม้จะบนพื้นราบ ก็ควรหาหมอนมากั้นจุดที่คิดว่าลูกอาจจะกลิ้งตัวไปกระแทกและเกิดการบาดเจ็บได้

– ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรวางลูกไว้ในบริเวณที่ใกล้กับอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นของแข็ง

– เฟอนิเจอร์ เช่น ตู้ โต๊ะ ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมขอบทุกมุม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บ้านคุณปลอดภัยกับเด็กขนาดไหน

ทารกวัยคว่ำ

3. การจมน้ำ เป็นอันตรายมาก ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เมื่ออาบน้ำให้ลูกวัยคว่ำ อาจเกิดอันตรายจากการที่ลูกพยายามคว่ำตัว จนทำให้หลุดมือพ่อแม่ และลูกจมลงไปในน้ำได้ การอาบน้ำจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จับลูกให้มั่น หากลูกพยายามคว่ำก็ต้องหลอกล่อให้ลูกยอมอาบน้ำในท่าหงายจนเสร็จ

เมื่อลูกจมน้ำ

– รีบอุ้มลูกขึ้นจากน้ำ เพื่อไม่ให้สำลักน้ำ เช็ดหน้าและเช็ดหูด้วยผ้าแห้ง

– หากลูกใส่เสื้อผ้าอยู่ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปียกออกให้หมด แล้วห่อตัวลูกไว้

– อุ้มลูกให้หัวห้อยต่ำกว่าหน้าอก

– ถ้าลูกไม่รู้สึกตัว ให้รีบเช็คการหายใจและชีพจรลูกโดยเร็ว

วิธีป้องกัน

ห้ามให้เด็กเล่นน้ำเพียงลำพังในอ่างน้ำ กะละมัง หรืออ่างอาบน้ำ เพราะแม้ระดับน้ำสูงเพียง 5 ซม. อาจทำให้เกิดการจมน้ำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกวัยคว่ำ พ่อแม่ต้องระวัง

 

เคล็ดลับในการฝึกลูกนอนคว่ำอย่างปลอดภัย

การฝึกจับลูกนอนคว่ำ เป็นภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า เด็กทารกแรกเกิด กระดูกและกล้ามเนื้อคอของเขาจะยังไม่แข็งแรง เด็กทารกแรกเกิดจะยังไม่สามารถตั้งคอเองได้ การฝึกนอนคว่ำจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยฝึกพัฒนาการทางด้านร่างกายของทารกวัย 1-2 เดือน ให้คอของลูกน้อยค่อยๆ แข็งแรงขึ้น สามารถยกศีรษะขั้นได้นานขึ้น ซึ่งแรกๆ อาจจะยากสำหรับลูก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ช่วยกันฝึก จับลูกนอนคว่ำ 2-3 ครั้งต่อวัน วันละ 5-10 นาที ไม่นาน ลูกน้อยจะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถตั้งศีรษะขึ้นจากพื้นได้เอง ด้วยท่าง่าย ๆ เหล่านี้

1. ท่าเครื่องบิน

ทักษะ : ฝึกให้ลูกยกศีรษะตั้งขึ้น สร้างการจดจำใบหน้าของคุณแม่

– เป็นท่าที่คุณแม่หรือคุณพ่อได้ออกกำลังกายไปในตัว และลูกสามารถมองเห็นหน้าผู้ทำไปด้วย

– คุณแม่นอนหงาย งอเข่า วางลูกนอนคล่ำบนขาด้านบน มือสองข้างจับตัวเด็กไว้ไม่ให้ตก จากนั้นให้คุณแม่ขยับขาและลำตัวขึ้นลง ขณะทำท่านี้ คุณแม่สามารถพูดจ๊ะเอ๋กับลูก ช่วงที่ตัวลูกอยู่ในระดับสายตาคุณแม่ได้ด้วย

* หากคุณแม่เมื่อยหรือไม่สามารถทำท่านี้ได้ สามารถจับลูกคว่ำลงบนอกแม่ ให้หัวของลูกหันมาที่หน้าของแม่และเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกได้เช่นกัน

2. ท่านอนคว่ำบนตัก

ทักษะ : ฝึกให้ลูกยกศีรษะตั้งขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

– จัดท่าให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำกับตัก แขนขาปล่อยสบาย

– ตบก้นเบาๆ หรือโยกไปมา เพื่อให้เด็กเพลิดเพลิน เด็กจะสามารถอยู่ในท่านี้ได้นานขึ้น 5-10 นาที

3. ท่านอนคว่ำกับพื้น

ทักษะ : ฝึกให้ลูกยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที

เป็นท่าเบสิคที่เหมาะกับทารกวัย 1 เดือนมากที่สุด

– จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำกับพื้น ข้อศอกงอ

– เขย่าของเล่นตรงหน้าเด็ก เมื่อเด็กมอง ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบน เพื่อให้เด็กเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2 ค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นกลับมาตรงหน้าเด็กเหมือนเดิม

– เคลื่อนของเล่นให้สูงขึ้นจนเด็กยกศีรษะตามได้ในแนว 45 องศา และนับ 1, 2, 3 เป็นการฝึกให้เด็กคอแข็งได้เร็วขึ้น

4. ท่านอนคว่ำ Tummy

ทักษะ : ฝึกให้ลูกยกศีรษะตั้งขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

– เป็นท่าฝึกคว่ำที่มีประโยชน์กับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เพราะขณะทำท่านี้ เด็กได้เล่นกับแม่ไปด้วย

– จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำ ประคองตัวลูกไว้เหมือนท่าบินของซุปเปอร์แมน โยกตัวลูกไปมา หรือยืนหน้ากระจก

วัยหัดคว่ำ

 


 

ที่มา

https://th.mamypoko.com

https://www.whattoexpect.com/

https://www.babycentre.co.uk

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

การนอนของทารก ช่วงวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรก นอนแค่ไหนดี?

วิธีฝึกลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time) กระตุ้นพัฒนาการที่ดีของทารก

พัฒนาการเด็กแต่ละเดือน ในขวบปีแรก ลูกน้อยมีพัฒนาการช้าหรือเร็ว เช็คเลย!!

บทความโดย

ธิดา พานิช