วิจัยชี้! พ่อแม่จู้จี้ (แต่ไม่ขี้บ่น) อาจเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของลูกสาว!

เชื่อไหมว่า พ่อแม่จู้จี้ ลูกต้องทำการบ้านให้เสร็จ เสื้อผ้าต้องเก็บเรียบร้อย เข้านอนให้ตรงเวลา จะกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของลูกสาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใครจะเชื่อว่าการที่ พ่อแม่จู้จี้ ชอบกระตุ้นให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จ เสื้อผ้าต้องเก็บให้เรียบร้อย เข้านอนให้ตรงเวลา จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของลูกสาวได้?

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอสเซกซ์ (สหราชอาณาจักร) ได้ทำการสำรวจเด็กสาววัยรุ่นเกือบ 15,000 คนเป็นระยะเวลา 6 ปี จากผู้เข้าร่วมการสำรวจทั้งหมด ส่วนใหญ่ตอบว่าพ่อแม่มีอิทธิพลต่อชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก และพบว่าลูกสาวที่เติบโตมาภายใต้การดูแลของพ่อแม่ที่ค่อนข้างจะ “จู้จี้” มักจะมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่จู้จี้ โดยมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและมีงานทำที่มีรายได้ดีกว่า

เห็นผลสำรวจแบบนี้แล้ว ถือเป็นเรื่องที่ดีเลยล่ะค่ะ เพราะถึงแม้ลูกจะดูเหมือนไม่สนใจคุณ หรือแม้กระทั่งต่อต้านสิ่งที่คุณพูด แต่ลึกๆ แล้ว คำพูดของพ่อแม่ยังคงมีอิทธิพลต่อลูกอยู่เสมอนะคะ

ทำไม พ่อแม่จู้จี้ ถึงส่งผลดีต่อลูกสาว?

คำว่า “พ่อแม่ที่จู้จี้” มักถูกมองในแง่ลบ แต่หากพิจารณาให้ดี จะพบว่าพฤติกรรมนี้มีด้านบวกที่ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกเช่นกัน โดยพ่อแม่ที่จู้จี้ มักจะเข้มงวด และเอาใจใส่ คอยกระตุ้นให้ลูกมีวินัย มีแรงจูงใจ และมีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จนั่นเอง

  • สร้างแรงจูงใจ การที่พ่อแม่ตั้งความคาดหวังและมีมาตรฐานที่สูง ส่งผลให้ลูกสาวเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พ่อแม่ตั้งไว้
  • สร้างวินัย การที่พ่อแม่คอยเตือนและกระตุ้นให้ลูกสาวทำสิ่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยฝึกให้ลูกสาวมีวินัยและความรับผิดชอบ
  • เพิ่มความมั่นใจ เมื่อลูกสาวสามารถทำตามสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังได้สำเร็จ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและเพิ่มความมั่นใจในการทำสิ่งต่าง ๆ

 

แต่การ “จู้จี้” ต้องไม่ใช่ “ขี้บ่น”

ในฐานะพ่อแม่ คุณอาจเพียงต้องการแน่ใจว่าลูกทำการบ้านเสร็จ ใช้เวลาหน้าจอน้อยลง จัดห้องนอนให้สะอาด และเข้านอนตรงเวลา แต่ดูเหมือนตารางเวลาของลูกกับของพ่อแม่จะไม่ตรงกัน พูดเท่าไหร่ลูกก็ไม่ทำสักที พ่อแม่จึงพยายามกดดันให้ลูกยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการจนกลายเป็น “พ่อแม่ขี้บ่น”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ขี้บ่น ส่งผลต่อลูกอย่างไร

วิธีสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณกลายเป็นแม่ขี้บ่นในสายตาลูกหรือไม่ แม่ขี้บ่น อาจสื่อสารข้อความเชิงลบโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ สร้างผลกระทบต่อจิตใจและพฤติกรรมของลูก การบ่นซ้ำๆ อาจทำให้ลูก “ปิดหู” และ “ปิดใจ” ไม่ยอมรับคำแนะนำใดๆ จากพ่อแม่ และยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกอีกด้วย

  1. ลูกขาดความมั่นใจและรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ไว้ใจ

เมื่อลูกถูกบ่นบ่อยๆ จะรู้สึกว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่ถูกใจพ่อแม่ ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ และรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เช่น ลูกอยากลองทำอาหาร แต่ทุกครั้งที่ทำก็จะถูกแม่บ่นว่าทำเลอะเทอะ ทำไม่เป็น ลูกจึงเริ่มรู้สึกกลัว ไม่กล้าลองทำอาหารอีกเลย

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกลดน้อยลง

การบ่นบ่อยๆ ทำให้ลูกรู้สึกอึดอัดและไม่ชอบอยู่ใกล้พ่อแม่ ลูกอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บ้านหรือทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่ เช่น ลูกมักจะหาเหตุผลที่จะไม่อยู่บ้าน เช่น ไปบ้านเพื่อน ไปทำกิจกรรมที่โรงเรียน เพราะไม่อยากกลับบ้านมาเจอแม่บ่น  จนกลายเป็นรู้สึกไม่ผูกพันกับพ่อแม่ และไม่กล้าเปิดใจคุยกับพ่อแม่

  1. ลูกเชื่อฟังพ่อแม่น้อยลง

การบ่นลูกเป็นประจำแม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นการบอกลูกว่าพ่อแม่ไม่สามารถหาทางสื่อสารหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ได้ เมื่อแม่ดุ สั่งสอนจริงจัง ลูกจะไม่ค่อยเชื่อฟัง เพิกเฉยต่อสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ และมักจะมองว่าการบ่นเป็นเสียงรบกวนที่สร้างความไม่สะดวก มากกว่าจะเป็นคำสั่งที่มีความหมายจากพ่อแม่ที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ลูกขาดความรับผิดชอบ

เมื่อลูกถูกบ่นทุกเรื่อง ลูกจะรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง เพราะมีพ่อแม่คอยดูแลและแก้ไขปัญหาให้เสมอ เช่น ลูกไม่ยอมเก็บห้อง เพราะรู้ว่าถ้าไม่เก็บ แม่ก็จะมาบ่นให้เก็บเอง ทำให้ลูกไม่มีความสามารถในการคิดเอง และไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญต่อชีวิต

  1. ลูกเลียนแบบพฤติกรรมการบ่น

เด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัว เมื่อลูกเห็นพ่อแม่บ่นบ่อยๆ ลูกก็จะนำพฤติกรรมนี้ไปใช้กับคนรอบข้าง เช่น ลูกมักจะบ่นกับเพื่อนๆ เกี่ยวกับครูที่โรงเรียน กลายเป็นคนไม่น่าเข้าหาในสายตาของเพื่อนๆ และอาจมีปัญหาในการเข้าสังคมตามมาได้ค่ะ

5 เทคนิค เปลี่ยน “แม่ขี้บ่น” เป็น “แม่ที่คุยกับลูกอย่างเข้าใจ”

คุณแม่อาจสงสัยว่า จู้จี้แบบไหน ไม่มากไปจนกลายเป็นแม่ขี้บ่น ลองมาดูวิธีเปลี่ยน “คุณแม่ขี้บ่น” มาเป็น “เพื่อนคุย” ที่ลูกอยากจะเปิดใจ และเชื่อฟังมากขึ้นกันดีกว่าค่ะ เริ่มต้นด้วยการบอกลูกว่าคุณอยากจะปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้ดีขึ้น เพื่อให้เราเข้าใจกันมากขึ้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. มองตาลูกและตั้งใจฟัง

ก่อนจะพูดอะไรกับลูก ลองมองตาลูกและให้ความสนใจกับเขาอย่างเต็มที่ หากลูกกำลังดูทีวีหรือเล่นเกมอยู่ ลองเข้าไปใกล้ๆ และรอให้ลูกหันมาสนใจคุณก่อน แล้วค่อยเริ่มพูดคุย บอกสิ่งที่ต้องการกับลูก

  1. พูดชัดเจนและตรงประเด็น

พูดสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสารให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย  อธิบายเหตุผลให้ลูกฟังว่าทำไมถึงต้องทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ลูกเข้าใจและเห็นด้วย ไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำๆ หรือบ่นยาวๆ ตัวอย่างเช่น “แม่อยากให้หนูเก็บของเล่นก่อนนอนให้เข้าที่เข้าทางก่อน ห้องของหนูจะได้ดูสวยงามและหาของเล่นเจอง่ายขึ้นเวลาอยากเล่น”

  1. ไม่ใช้ความรุนแรง แต่ยังคงรักษาความเด็ดขาด 

เมื่อตั้งกฎเกณฑ์แล้ว ต้องปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่บางครั้งทำ บางครั้งไม่ทำ การมีความเด็ดขาดจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกทำผิดซ้ำๆ เมื่อลูกรู้ว่าพ่อแม่เอาจริงเอาจังกับกฎระเบียบ ลูกจะเรียนรู้ที่จะเคารพกฎและปฏิบัติตาม ตัวอย่างการลงโทษที่ไม่รุนแรงแต่ได้ผล เช่น การถอดสิทธิพิเศษ ห้ามดูโทรทัศน์ ห้ามเล่นเกม ห้ามไปเที่ยวให้ช่วยทำงานบ้านมากขึ้น ให้ลูกได้คิดทบทวนถึงสิ่งที่ทำผิด เป็นต้น

  1. ถามความคิดเห็นของลูก

แม้ว่าจะต้องการให้ลูกทำตามที่เราบอก แต่ก็ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง หลังจากที่คุณแม่พูดจบแล้ว ลองถามลูกดูว่าเขาเข้าใจสิ่งที่คุณพูดหรือไม่ หรือมีอะไรอยากจะถามเพิ่มเติมไหม การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าคุณแม่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของเขาค่ะ

  1. ชื่นชมเมื่อลูกทำได้ดี

การจู้จี้เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ลูกรู้สึกกดดันเกินไป ควรสอดแทรกคำชมและให้กำลังใจควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ลูกรู้สึกได้รับการสนับสนุน เมื่อลูกทำตามที่คุณแม่ขอร้องหรือแสดงพฤติกรรมที่ดี ให้คุณแม่ชื่นชมลูกอย่างจริงใจ เช่น “ขอบคุณที่หนูเก็บของเล่นให้เรียบร้อย แม่ดีใจมากเลย” การชื่นชมจะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากทำดีต่อไป

  1. ร่วมกันหาทางออก

หากเกิดปัญหาหรือความขัดแย้ง ลองนั่งคุยกับลูกอย่างใจเย็น เพื่อหาทางออกร่วมกัน แทนที่จะลงโทษทันที โดยเสนอทางเลือก หรือทำข้อตกลงร่วมกัน แทนการสั่ง เช่น “เราจะลองทำตารางเวลาในการเล่นเกมกันไหม ลูกจะได้มีเวลาทำอย่างอื่นด้วย”

 

การที่ พ่อแม่จู้จี้ เข้มงวดกับลูกสาว อาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป ตรงกันข้าม อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ลูกสาวเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบและประสบความสำเร็จในชีวิตได้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว พ่อแม่ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับบุคลิกของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ลูกได้เติบโตอย่างมีความสุขและเป็นตัวของตัวเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา:  Times of India , U.S.News, สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมเด็กไทยพบจิตแพทย์เพิ่มขึ้น หรือ “พ่อแม่ Toxic” มีส่วนทำลูกจิตป่วย?

13 เทคนิคสอนลูกโตไปไม่ก้าวร้าว ! เทคนิคง่ายๆ ลองทำดู

10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตดี ที่สำคัญยิ่งกว่าผลการเรียนเกรด A