จริงหรือไม่ ? ที่คนท้องควรให้ลูกฟังเพลง ดนตรีช่วยพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไขข้อสงสัย ตอบคำถามที่คุณแม่อาจไม่เคยทราบมาก่อน จริงหรือไม่ ? ที่คนท้องควรให้ลูกฟังเพลง ดนตรีช่วยพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ในครรภ์ จริงหรือเปล่า ในวันนี้ เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

จริงหรือไม่ ? ดนตรีช่วยพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ในครรภ์

ในขณะตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ฟังเพลง เปิดเพลงให้ลูกในท้องได้ฟังผ่านทางผิวหน้าท้อง การใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น ทำให้ทารกที่คลอดออกมา มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี และส่งผลต่ออารมณ์ดีของเจ้าตัวน้อยด้วย

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์  ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึง ดนตรีต่อการพัฒนาสมองทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. ระบบประสาทการรับฟังของลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน การใช้เสียงดนตรีกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น
  2. เสียงที่ดีที่ควรใช้ในการกระตุ้น คือ เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีโดยเฉพาะเพลงที่มีความไพเราะและคุณแม่ชอบฟัง ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงหรือดนตรีคลาสสิกก็ได้
  3. เวลาคุณแม่ฟังดนตรี ควรจะเปิดเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี ให้อยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเพื่อลูกในครรภ์จะได้ฟังเสียงเพลงไปด้วย
  4. การที่ลูกในครรภ์ได้รับฟังเสียงดนตรี  คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน มีการพัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกคลอดออกมา มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
  5. เพลงสามารถกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ได้แก่  กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เมื่อลูกได้ยินเสียงเพลง ได้ยินจังหวะของเพลงเขาจะขยับตัวหรือดิ้นไปตามเสียงเพลง เช่น ถ้าเป็นเพลงช้าฟังสบาย เขาจะขยับตัวช้า ๆ เหมือนกำลังว่ายน้ำอยู่ในท้องแม่อย่างสบายใจ   หากเพลงมีจังหวะเร็วเขาอาจจะขยับตัวบ่อยหรือดิ้นแรงขึ้นเหมือนเต้นตาม  ซึ่งการขยับตัวของทารกในครรภ์ตามเสียงเพลงหรือเสียงที่ได้ยินก็เป็นสัญญาณบอกถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ที่ยอดเยี่ยม

 

 

วิธีการฟังเพลงอย่างไรให้สมองลูกพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์

  • เพลงสำหรับทารกในครรภ์

ควรเป็นเพลงฟังสบาย จะเป็นเพลงช้าหรือเร็วก็ได้ หรือแม้แต่เพลงร็อกก็ฟังได้ และเน้นให้ลูกได้ยินเสียงและรู้สึกถึงจังหวะเพื่อไปกระตุ้นพัฒนาการทางการได้ยิน การเคลื่อนไหวในท้อง และความรู้สึกผ่อนคลายในท้องแม่เป็นหลัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ควรใช้หูฟังแบบครอบศีรษะ หรือหูฟังเพลงสำหรับทารกในครรภ์

เพราะเสียงดนตรีและจังหวะของดนตรีจะดังไปถึงลูกในท้องได้ดี หูฟังชนิดใส่ในรูหูจะมีความดังไม่มากพอให้ลูกในท้องได้ยินเสียงเพลง

 

  • ไม่ควรเปิดเสียงดนตรีดังเกินไป

เพราะลูกในท้องอาจตกใจและดิ้นแรงกว่าปกติได้ ระดับเสียงที่พอดีอาจวัดจากคุณแม่ลองใส่หูฟังฟังเองก่อน แล้วปรับความดังในระดับที่เหมาะสม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • คุณแม่สามารถให้ลูกในท้องฟังดนตรีได้ ตั้งแต่รู้ว่าท้อง

ทำให้แม่เกิดความสบายใจ ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของทารกต่อไป

 

  • คุณแม่ควรเปิดเพลงให้ทารกฟังในช่วงบ่าย

เพราะช่วงเวลาที่ที่ทารกตื่นตัวดีจะเป็นช่วงบ่ายเป็นต้นไป ควรใช้เวลาในการฟังเพลงประมาณ 1 ชั่วโมง/วัน จะส่งผลต่อการพัฒนาสมองและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของทารกในครรภ์ได้อย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เพลงเด็กเสริมพัฒนาการ น่าฟัง ได้ประโยชน์และได้ความรู้ ปี 2023

 

 

แม่ท้องฟังเพลง ดีต่อลูกในท้องยังไง

คุณแม่สามารถเปิดเพลงฟังได้เรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของคุณแม่ไม่ให้หงุดหงิด เบื่อ หรือเกิดภาวะซึมเศร้าเอาได้ง่าย ๆ และสำหรับลูกน้อยในครรภ์ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเพลงให้ลูกฟัง คือ อายุครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนเป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการด้านระบบประสาทการรับฟังของทารกในครรภ์เริ่มก่อตัวขึ้นมาแล้ว ซึ่งการกระตุ้นโดยการเปิดเพลงให้ลูกได้ฟัง จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกในท้องตื่นตัวหลังจากได้ฟังเพลงหรือไม่ โดยสังเกตจากการดิ้นของลูกได้

 

 

เปิดเพลงแบบไหนให้ลูกฟังแล้วฉลาด

เพลงที่ดีสำหรับพัฒนาการของลูกน้อยนั้นเป็นเพลงอะไรก็ได้นะคะ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิกแต่อย่างเดียว อาจจะเป็นเพลงที่คุณแม่ชอบ แบบทำนองเพลงที่ช้า ๆ เบา ๆ หรือเป็นเพลงที่มีดนตรีประพันธ์ขึ้นให้มีจังหวะ ทำนอง และความกลมกลืนของเสียง ดนตรีบรรเลง มิวสิกบ็อกซ์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อลูกได้ฟังเพลง คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นระบบประสาทการได้ยินให้มีการพัฒนาได้เร็วขึ้น มีส่วนช่วยในการจัดลำดับความคิดในสมองส่วน Spatial Temporal ซึ่งระบบความคิดเหล่านี้ จะมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยในอนาคต

เวลาเปิดเพลงให้ลูกฟังควรให้เสียงเพลงอยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต หรือใช้หูฟังชนิดครอบอันใหญ่ เปิดเสียงดังพอประมาณนะคะ เลือกเปิดเพลงให้ลูกในครรภ์ฟังในช่วงเวลาเย็น ๆ เพราะเป็นช่วงที่หนูน้อยจะตื่นตัว ให้ลูกได้ฟังวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เท่านี้ก็จะช่วยทำให้อารมณ์ของทั้งแม่และลูกผ่อนคลาย อารมณ์ดีไปพร้อม ๆ กัน

และเมื่อลูกน้อยได้ฟังเพลงตั้งแต่ในครรภ์ ยังมีแนวโน้มที่ลูกออกมาจะเป็นเด็กอารมณ์ดีเลี้ยงง่ายด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมฟังเพลง การเปิดเพลงให้ลูกในท้องได้ฟัง ยังมีส่วนช่วยเชื่อมโยงสัมพันธภาพ ความผูกพัน ความรักระหว่างแม่-ลูกได้ดีก่อนที่จะพบหน้ากันด้วยนะคะ บางวันหากคุณแม่เลือกเพลงไม่ถูก ลองใช้เสียงของตัวเองร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่ก็เป็นเรื่องที่ดีด้วยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่งท้าย คุณหมอฝากบอก

ดนตรีที่แม่ท้องเปิดให้ทารกในครรภ์ฟังนั้น  ไม่จำเป็นต้องเป็นดนตรีคลาสสิกของต่างประเทศแต่อย่างใด เป็นดนตรีไพเราะที่คุณแม่ชอบฟัง เพลงไทย  เพลงพื้นบ้าน ก็ได้  ที่สำคัญดนตรีคลาสสิกไม่ได้ช่วยให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้อง  เพราะความฉลาดมีปัจจัยหลักมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่  สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้  การส่งเสริม และอาหาร แต่การให้ทารกในครรภ์ฟังเพลงจะเป็นการทำให้ลูกผ่อนคลาย กระตุ้นพัฒนาการทางด้านระบบประสาท  ระบบการได้ยิน และพัฒนาการทางร่างกายตั้งแต่ในท้องด้วยการขยับตัว และดิ้นไปมาตามจังหวะเพลงที่ร็อกได้ยิน  ซึ่งเมื่อคลอดออกมา เขาจะมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและอารมณ์ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความคล่องแคล่ว คล่องตัว และอารมณ์ดี

 

โดยสรุปแล้ว คุณแม่จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการให้ทารกได้ฟังดนตรีตั้งแต่ในครรภ์  ดีต่อ พัฒนาการสมอง และ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ดังนั้น คุณแม่ห้ามพลาดโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมพัฒนาการลูกตั้งแต่ในท้องนะคะ!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

“Lullaby for Mom” บทเพลงที่คุณแม่เท่านั้น จะเข้าใจ

การฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น

แนะนำ 10 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก ใช้งานง่าย ฟังเสียงลูกน้อยได้เองที่บ้าน !

ที่มา : 1, 2