คู่มือการปั๊มนมแม่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำนมเพื่อปั๊ม

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตนมักปั๊มนมด้วยหลายเหตุผล คุณอาจสงสัยว่าแล้วจะปั๊มนมอย่างไร ปั๊มนมบ่อยแค่ไหน เด็กกินนมเท่าไร คู่มือปั๊มนมแม่ฉบับบนี้ช่วยคุณได้

คุณแม่มือใหม่ คงกังวลว่า ต้องปั๊มนมอย่างไร ปั๊มเท่าไหร่ จัดเก็บรักษาอย่างไรดี มาศึกษา คู่มือการปั๊มนมแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมกันเถอะ

 

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตน มักปั๊มนมด้วยหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น เพราะอยากเก็บรักษานมแม่ที่มีมากเกินไม่ให้สูญเปล่า ไปจนถึงต้องการให้ลูกหย่านม คุณอาจสงสัยว่า แล้วจะเริ่มปั๊มนมอย่างไร และ มีปัจจัยอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง เราได้รวบรวม ” คู่มือการปั๊มนมแม่ ” มาให้เป็นแนวทางกันค่ะ

คู่มือการปั๊มนมแม่

ข้อมูลพื้นฐาน

  • ปกติแล้ว การปั๊มนมแม่อย่างเต็มที่ 2-3 ครั้ง จะได้น้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อยดื่ม 1 มื้อ
  • การผลิตน้ำนมของคุณแม่ ขึ้นอยู่กับความถี่ที่หน้าอกได้รับการกระตุ้น หากคุณลดความถี่ในการปั๊มนมลง ปริมาณน้ำนมก็จะลดตามไปด้วย
  • การให้อาหารเสริมแก่ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป มักจะส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่คุณแม่ผลิต

ปริมาณปกติที่ควรปั๊ม

ควรกำหนดปริมาณน้ำนมไว้เป็นพื้นฐานอย่างคร่าว ๆ ว่า ควรปั๊มให้ได้เท่าไรในรอบ 24 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณให้ลูกดูดนมประมาณ 8 ครั้งต่อวัน คุณก็สามารถกะได้ว่า ลูกน่าจะต้องการนมประมาณ 3 ออนซ์ต่อ 1 มื้อทุก 3 ชั่วโมง ( 24/8 =3 ออนซ์ )

ปริมาณน้ำนมที่แนะนำคือ 25-27 ออนซ์ ( 750-800 มล. ) ต่อวัน ภายใน 7-10 วันแรกหลังคลอด

ในกรณีของลูกแฝด ควรตั้งเป้าปั๊มให้ได้ 27-32 ออนซ์ ( 800-950 มล. ) ภายใน 14 วันแรกหลังคลอด

หากปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิตได้นั้นคาบเส้น ( 11-17 ออนซ์ หรือ 350-500 มล. ) หรือต่ำกว่า ( น้อยกว่า 11 ออนซ์ หรือ 350 มล. ) แพทย์อาจสั่งยากระตุ้นการหลั่งน้ำนมให้คุณแม่ได้

ปริมาณน้ำนมที่ผลิตอาจเพิ่มได้ช้านานถึง 9-15 สัปดาห์หลังคลอด หากเป็นเช่นนี้ก็ขอให้คุณแม่ปั๊มน้ำนมต่อไปตามปกติ

วางแผนการปั๊มนม และจัดเก็บรักษาเพื่อลูกน้อยของคุณ

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำนมเพื่อปั๊ม

วัยของทารก

โดยทั่วไปแล้ว ทารกแรกเกิดจะดื่มนมราว 1-2 ออนซ์ ( 30-60 มล. ) ต่อมื้อ และเมื่ออายุได้ 4-5 สัปดาห์ ทารกจะดื่มได้มากที่สุดคือ 3-4 ออนซ์ ( 90-120 มล. ) ต่อมื้อ และราว 30 ออนซ์ (900 มล.) ต่อวัน เมื่อเริ่มให้ทานอาหารเสริม ลูกจะค่อย ๆ ต้องการนมน้อยลง ยิ่งลูกโตขึ้นเท่าไร และทานอาหารเสริมมากขึ้นเพียงใด ลูกก็จะยิ่งต้องการนมน้อยลงเท่านั้น

ความถี่ในการปั๊ม

ยิ่งปั๊มนมบ่อยแค่ไหน ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมออกมามากเท่านั้น ถ้าลดความถี่ในการให้นมลูกหรือปั๊มนม ปริมาณน้ำนมก็จะลดลง ในทางกลับกัน หากคุณแม่ปั๊มนมเป็นประจำ ก็จะมีน้ำนมให้ลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงเวลาในการปั๊ม

ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมมากที่สุดช่วงกลางวัน และทารกมักดื่มนมมากที่สุดในตอนบ่าย หรือ ช่วงเย็น ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่า เวลาที่เหมาะในการปั๊มนมที่สุดคือ ราวหนึ่ง หรือ ครึ่งชั่วโมงก่อนที่ลูกน้อยจะดื่มมื้อแรกของเช้าวันนั้น

ประสิทธิภาพของเครื่องปั๊ม

ใช่ว่าเครื่องปั๊มนมทั้งหมดจะทำงานแบบเดียวกัน เครื่องปั๊มบางประเภทย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่าแน่นอน โดยทั่วไปแล้วเครื่องปั๊มนมอัตโนมัติสองหัวซึ่งมีจังหวะการดูด และ ปล่อย 40-60 ครั้งต่อนาที จะสามารถปั๊มนมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เลือกใช้เครื่องปั๊มนมที่มีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนม

สภาวะจิตใจและอารมณ์ของคุณแม่

คุณแม่มือใหม่ยังสับสนกับหลากหลายอารมณ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่มีมากกว่าปกติในร่างกาย นี่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมที่สามารถปั๊มได้ เช่น อะดรีนาลินที่หลั่งเข้าสู่กระแสเลือดในยามที่คุณแม่รู้สึกเครียดนั้น เป็นตัวอย่างหนึ่งของฮอร์โมนที่ทำให้น้ำนมไหลไม่พอเพียงต่อการปั๊ม

ความเครียดอาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อยลง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อ คุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

 


source หรือ บทความอ้างอิง : aeroflowbreastpumps.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าที่น่าสนใจ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการให้นมลูก

แก้ปัญหาปั๊มนมไม่ออก

บทความโดย

Angoon