ในช่วงหน้าฝนอย่าปล่อยลูกเล่นนอกบ้าน ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือมีพิษ!

สอนลูกอย่าไปจับ กิ้งกือ เพราะกิ้งกือบางชนิดมีพิษร้าย ยิ่งช่วงนี้ฝนตกบ่อย ๆ กิ้งกือชุกชุม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงหน้าฝนอย่าปล่อยลูกเล่นนอกบ้าน ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือกัด กิ้งกือมีพิษ!

ในช่วงหน้าฝนอย่าปล่อยลูกเล่นนอกบ้าน ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือมีพิษ! มาทำความรู้จักเจ้ากิ้งกือ! พร้อมวิธีรักษาพิษกิ้งกือ หากไปเจอกิ้งกือมีพิษ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนแบบนี้ บรรดากิ้งกือต่างก็ขึ้นมาเดินเล่นกันให้พรึ่บพับเลยล่ะ

ไขข้อข้องใจ กิ้งกือมีพิษ กิ้งกือกัด หรือไม่!

หลายคนก็คงสงสัยเห็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยมากเดินเต็มไปหมด สัตว์บางตัวก็มีพิษ และบางตัวอาจจะไม่มีพิษ เเต่มีสัตว์บางชนิดที่คุณอาจจะคิดว่ามันไม่มีพิษนั่นก็คือ “กิ้งกือ”
ไขคำตอบกิ้งกือมีพิษหรือไม่ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ยืนยันแล้วว่า “กิ้งกือไม่กัด แต่มีพิษ” เเต่ก็ควรระวังให้ดี ในช่วงหน้าฝนอย่าปล่อยลูกเล่นนอกบ้าน ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือมีพิษ!

พิษกิ้งกืออันตรายไหม กิ้งกือกัด

พิษของกิ้งกือ กิ้งกือบางสารพันธุ์ที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้

ไกล พิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี สารพิษของกิ้งกือประกอบด้วยสารกลุ่ม ไซยาไนด์

(Hydrogen cyanide) ฟีนอล (Phenol) กลุ่มเบนโซควินินและไฮโดรควิโนน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

(Benzoquinones/hydroquinones)

ระวัง! ไม่ควรสัมผัสตัวกิ้งกือโดยตรง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือหากเข้าตาจะเกิดการระคายเคืองได้ ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือมีพิษ!

กิ้งกือ มีพิษ จริงหรือไม่ ? กิ้งกือกัดมีพิษไหม

นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน อาจพบเห็นกิ้งกือในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ โรงเรียน หรือ ตามท่อน้ำต่าง ๆ จึงขอให้คำแนะนำแก่ประชาชนว่า กิ้งกือไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษหากสัมผัสถูกตัว

สารพิษของกิ้งกือจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว มีฤทธิ์ฆ่า สัตว์เล็ก ๆ เช่น มด แมลง และหากคนสัมผัสจะทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดง หรือทำให้ตาระคายเคืองในกรณีถูกพิษกิ้งกือเข้าตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กิ้งกือมีพิษทุกสายพันธุ์ไหม

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิ้งกือบางสายพันธุ์เท่านั้นที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล สารพิษมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ประกอบด้วย

  • สารกลุ่มไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)
  • ฟีนอล (Phenol)
  • กลุ่มเบนโซควินิน และไฮโดรควิโนน (Benzoquinones/hydroquinones)

มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังไหม้ แผลไหม้ มีอาการปวด 2-3 วัน รวมทั้งการระคายเคืองร่วมด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรักษาพิษกิ้งกือหากถูกพิษของกิ้งกือ

ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด

  1. ทายาแก้อักเสบ โดยทั่วไปอาการมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์
  2. หากพิษเข้าตาอาจทำให้ตาอักเสบ ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดและรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการอักเสบของตาที่อาจเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.facebook.com/pg

 

กิ้งกือปล่อยพิษใส่ตาทารก 7 เดือน เกือบตาบอด

ก่อนหน้านี้ มีข่าวว่า ทารกเพศชายวัย 7 เดือน ถูกกิ้งกือ ปล่อยน้ำพิษใส่หวิดตาบอด โดยแม่เด็กเล่าเหตุการณ์ว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นช่วงกลางคืน แม่ลุกมาให้ลูกชายกินนม พร้อมกับเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ขณะกำลังจะนอนต่อ ลูกชายก็ร้องขึ้นมา จึงรีบไปดู เห็นว่า ลูกชายลืมตาไม่ขึ้น พบหยดน้ำสีเหลืองริมขอบตา เลยรีบเช็ดน้ำสีเหลืองออก และอุ้มลูกขึ้นมา จึงพบว่า ใต้หมอนของลูกมีกิ้งกือสีดำตัวใหญ่ ม้วนตัวเป็นวงกลมอยู่ คาดว่าตอนที่ลูกนอนหลับอาจกลิ้งตัวไปทับกิ้งกือ ทำให้ปล่อยพิษใส่ จึงรีบพาลูกไปพบแพทย์ หมอได้หยอดยา และให้กลับบ้านรอดูอาการ แต่ด้วยความเป็นห่วง ก็รีบพาไปพบจักษุแพทย์ หมอบอกว่า โชคดีที่น้ำพิษไม่โดนตาดำ ไม่เช่นนั้นตาอาจบอดได้

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news

กิ้งกือไม่ได้มีเขี้ยว กัดคนไม่เข้า

ด้านเพจอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้คุยกับทีมงานของ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือของภาควิชา ให้ข้อมูลว่า กิ้งกือเป็นสัตว์กินซาก ที่ไม่ได้มีเขี้ยว มันมีแค่แผ่นฟันรูปร่างคล้ายช้อนตักไอศครีมสำหรับกัดแทะซากเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถกัดคนได้ อย่างมากถ้าโดนมันแทะ ก็จะรู้สึกจั๊กจี้ ส่วนเรื่องพิษ กิ้งกือส่วนใหญ่ไม่ได้มีพิษ แต่มีบางชนิด โดยเฉพาะพวกตัวตะเข็บ (ที่ตัวเล็ก ๆ) อาจปล่อยสารพิษพวกไซยาไนด์ หรือพวกเบนโซควิโนน ออกมาเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น ซึ่งมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ทำให้คนเป็นอันตราย

ในกรณีของน้องที่เป็นข่าวแชร์กันนั้น ก็พอจะเป็นไปได้ว่าเด็กทารกมีผิวหนังบอบบาง และแพ้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ จะมีอาการมากหน่อย แต่น่าจะรักษาได้

ที่มา : https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เผยวิธีเอาตัวรอด 10 วันของทีมหมูป่า! และวิธีเอาตัวรอดเมื่อติดถ้ำหรือหลงป่าที่พ่อแม่ต้องสอนลูก

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

พ่อลูกอ่อนพร้อมยัง ต้องรู้ไว้นะ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะ พ่อต้องเจอกับอะไรบ้าง?

5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya