10 เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ฉบับพื้นฐานของหนูน้อยวัยเรียน รู้จักหรือยัง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชีวิตนี้หนีตัวเลขไม่พ้น เรื่องตัวเลขไม่ใช่เรื่องง่ายกับลูกวัยเรียนทุกคน การเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เมื่อมีเวลาว่างที่ไม่หนักจนเกินไป สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้ในห้องเรียนได้ดี และในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ในรูปแบบพื้นฐานกัน

 

10 เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เด็กวัยเรียนห้ามพลาด

เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น เป็นเครื่องหมายที่มีโอกาสเจอในช่วงวัยเรียนของเด็ก ๆ โดยเฉพาะช่วงประถมศึกษา หรือมัธยมปลาย ที่ไม่สามารถเลี่ยงการเรียนคณิตศาสตร์ได้ หากมีเวลาว่าง ลองมาดูกันดีกว่าว่า ลูกน้อยวัยเรียนจะรู้จักเครื่องหมายเหล่านี้ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเรามีมาแนะนำกัน 9 เครื่องหมาย ได้แก่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 3 สูตรคำนวณ ร้อยละ ให้ลูกฝึก ใช้บ่อยแน่นอนขอบอก !

 

1. + (เครื่องหมายบวก)

เครื่องหมายบวก (+) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์พื้นฐานที่เด็ก ๆ ต้องเจอ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ด้วย ด้วยเทคนิคการบวกเลขต่าง ๆ การบวกนั้นเป็นการเพิ่มจำนวนของตัวเลขอีกชุดหนึ่งด้วยตัวเลขอีกชุดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น 10 + 5 = 15 หรือ 7 + 3 = 10 เป็นต้น นอกจากจะใช้ในโจทย์การบวกเลขแล้ว เครื่องหมายนี้ยังใช้แสดงถึงลักษณะของตัวเลขนั้น ๆ ซึ่งหลายคนอาจไม่ค่อยได้เห็น เช่น +4 เป็นการบอกว่าตัวเลขนี้เป็นจำนวนเต็มบวก ไม่ได้ติดลบ แต่ส่วนมากคนมักจะไม่เขียนแบบนี้ เพราะจะรู้อยู่แล้วว่าเลขที่ไม่มี + ก็คือจำนวนเต็มบวกอยู่แล้ว

 

2. - (เครื่องหมายลบ)

เครื่องหมายลบ (-) เป็นเครื่องหมายที่มาคู่กับเครื่องหมายบวก และทำหน้าที่ตรงข้ามกับเครื่องหมายบวกด้วย นั่นคือหากการบวก คือ การเพิ่มจำนวนด้วยตัวเลข การลบก็คือการลดจำนวนออกไปด้วยตัวเลขนั่นเอง ตัวอย่างเช่น 8 – 2 = 6 หรือ 10 – 6 = 4 เป็นต้น และเช่นเดียวกับเครื่องหมายบวก เครื่องหมายลบยังสามารถใช้เพื่อบอกสถานะของตัวเลขได้ด้วย เช่น -9 เป็นต้น หมายถึงตัวเลขนี้เป็นจำนวนเต็มที่ติดลบอยู่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : TKS Channel

 

3. X หรือ * (เครื่องหมายคูณ)

การใช้เครื่องหมายคูณ (X หรือ *) เป็นการบวกจำนวนด้วยตัวเลขเดิมซ้ำ ๆ ไปตามที่โจทย์กำหนดไว้ ซึ่งมีความยากมากกว่าการบวกธรรมดา การใช้การคูณเป็นการหาคำตอบที่รวดเร็วจากการบวกเลขเดิมที่ซ้ำซ้อนกว่า ส่วนมากเด็ก ๆ อาจจะคุ้นชินกับ X มากกว่า * เช่น 2 X 4 = 8 หรือ 3 X 2 = 6 เป็นต้น ซึ่งสามารถเขียนเป็น 2*4 หรือ 3*2 ได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในรูปแบบของการวางตัวเลขไว้ข้างหน้าเครื่องหมาย () ได้ด้วย เช่น 2(1+3) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ 2 X (1+3) นั่นเอง โดยการคูณโดยปกติแล้วมักจะใช้ร่วมกับการท่องสูตรคูณ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ÷ หรือ / (เครื่องหมายหาร)

เช่นเดียวกับเครื่องหมายบวกและลบ การใช้เครื่องหมายหาร (÷) เป็นวิธีตรงข้ามกับการคูณ นั่นคือ เป็นการลบด้วยจำนวนเดิมซ้ำ ๆ ซึ่งการคิดเลขด้วยการหารก็ต้องใช้สูตรคูณเช่นกัน โดยปกติมักจะมาในรูป 12 ÷ 6 = 2 หรือ 30 ÷ 10 = 3 เป็นต้น นอกจากนี้ยังเจอในรูปสัญลักษณ์อื่นได้ด้วย เช่น 12/6 หรือ 30/10 ซึ่งมีความหมายไม่ต่างจากตัวเลขชุดแรกนั่นเอง

 

5. = (เครื่องหมายเท่ากับ)

เป็นเครื่องหมายที่อยู่ในทุกโจทย์สมการของคณิตศาสตร์ก็ว่าได้ เนื่องจากมีความหมายแสดงให้เห็นถึงค่า หรือผลลัพธ์ของโจทย์สมการนั้น ๆ หรือตัวเลขหลังจากเครื่องหมาย = เป็นคำตอบนั่นเอง นอกจากเครื่องหมายนี้แล้ว ยังมีเครื่องหมายไม่เท่ากับ ( ≠ ) ที่บอกว่าตัวเลขของทั้งสองฝั่งไม่เท่ากัน หรือจะเป็นเครื่องหมายประมาณ ( ≈ ) ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง = และ ≠ นั่นคือไม่ได้เท่ากับ และไม่ได้ถูกระบุตัวเลขอย่างแน่นอน เป็นเพียงการประมาณค่าตัวเลขเท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. > และ< (เครื่องหมายมากกว่า และน้อยกว่า)

เครื่องหมายมากกว่า (>) และเครื่องหมายน้อยกว่า (<) เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงค่าของตัวเลขทางคณิตศาสตร์ว่ามีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่าตัวเลขอีกชุดหนึ่ง เช่น 5 + 5 > 9 หรือ 5 + 5 < 11 เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ทั้ง 2 ตัวนี้ยังมีในอีกรูปแบบความหมาย คือ มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) และ น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) เช่น ≤ 4 หมายถึงจำนวนที่น้อยกว่าและเท่ากับ 4 ลงไป คำตอบของชุดตัวเลขที่กล่าวถึง คือ 4, 3, 2, 1 และ 0 นั่นเอง

 

 

7. % (เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์)

เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ (%) เป็นการบอกถึงจำนวนตัวเลขในรูปแบบของร้อยละ หรืออัตราส่วนจาก 100 เช่น เมื่อเห็น 50 % = 50 จาก 100 ส่วน หรือ 25 % = 25 จาก 100 ส่วน จำนวนตัวเลขแบบเปอร์เซ็นต์มักถูกใช้ให้จดจำเป็นสถิติข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งสร้างความเข้าใจได้ง่ายกว่าการบอกตัวเลขตายตัว เช่น ถ้าบอกว่านักเรียนชอบคณิตศาสตร์ 35 คนจาก 100 คน จะเข้าใจง่ายกว่าหากบอกว่ามีนักเรียน 30 % ที่ชอบคณิตศาสตร์ เป็นต้น

 

8. π (สัญลักษณ์พาย)

เด็กวัยเรียนอาจยังไม่คุ้นในระดับชั้นประถม แต่ต่อไปไม่นานคงจะได้เจออย่างแน่นอนค่าของพายที่แท้จริง คือ 3.14159... หรือ 22/7 เป็นค่าจากภาษากรีก ที่นอกจากจะพบในคณิตศาสตร์แล้ว ยังสามารถพบได้ในฟิสิกส์ในช่วงมัธยมด้วย ค่าพายถือเป็นสูตรการคำนวณเส้นรอบวง, พื้นที่วงกลม หรือปริมาตรที่มีพื้นที่ในวงกลมด้วย

 

9. ∝ (เครื่องหมายอินฟินิตี้)

สัญลักษณ์ ∝ ไม่เชิงเป็นโจทย์ทางคณิตศาสตร์ แต่มักถูกใช้ในการบอกค่าของตัวเลขว่ามีค่าไม่จำกัด ไม่สามารถบอกค่าได้ หรือมีค่าไม่สิ้นสุด หากพบเจอสัญลักษณ์นี้ให้เด็ก ๆ รู้เลยว่าสิ่งที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั้น ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขใด ๆ ได้ ไม่สามารถเขียนบอกค่าตัวเลขได้นั่นเอง

 

10. ± (เครื่องหมายบวกลบ)

หลักในการใช้เครื่องหมายบวกลบนั้นคล้ายกับเครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ นั่นคือ เป็นการบ่งบอกว่าโจทย์นั้น ๆ ต้องการให้บวก หรือลบก็ได้ เช่น 3 ± 2 = 5 หรือ 1 นั่นเอง คำตอบจึงมากกว่า 1 ค่า อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์นี้ไม่ใช่สัญลักษณ์ที่เจอได้บ่อยเท่ากับเครื่องหมายบวก หรือลบแบบธรรมดา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สัญลักษณ์เครื่องหมายเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์เครื่องหมายทั้งหมดในทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากอาจยังมีมากกว่านี้เมื่อระดับการศึกษาสูงขึ้นไปอีก แต่สำหรับเด็กเล็กที่กำลังเรียนรู้ในชั้นประถม หรือมัธยมต้นการเรียนรู้เท่านี้คือเป็นการวางพื้นฐาน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

4 เทคนิค แบ่งเวลาอ่านหนังสือ สำหรับวัยรุ่นวัยสอบ จำง่าย ถึงเวลาพิชิตคะแนน

วิทย์ ป. 5 สไตล์สุดจะง่าย สถานะของสาร ของแข็ง ของเหลว คืออะไร

147 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ป.3 ท่องเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ประถมปลาย

ที่มา : trueplookpanya, mathmyself

บทความโดย

Sutthilak Keawon