หลาย ๆ คนอยากรู้ใช่ไหมว่า โรคมะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอด น่ากลัวหรือไม่ รักษาอย่างไร แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง รวมถึงอาการโรคมะเร็งปอด มาดูกันเลย
โรคมะเร็งปอด เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดในปอด ปอดนั้นเป็นอวัยวะที่เป็นรูพรุน ซึ่งมีหน้าที่รับออกซิเจนเมื่อทำการหายใจเข้า และทำการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อหายใจออก มะเร็งปอดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั่วโลก ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงสูงสุดต่อมะเร็งปอดมาก ๆ
โรคมะเร็งปอด คืออะไร
มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ และไม่สามารถที่จะทำการควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดที่ใหญ่แล้ว และยังแพร่ไปตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดสามารถที่จะทำลายชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดได้อย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของมะเร็งนั้นเอง มะเร็งปอดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญมาก ๆ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกันออกไป
บทความประกอบ:ปอดบวม อันตรายอย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับปอดบวม
โรคมะเร็งปอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก สามารถพบได้ประมาณ 10 – 15 % มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กจะเจริญเติบโต และทำการแพร่กระจายได้เร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช่วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะใช้วิธีการฉายรังสี หรือใช้ยา
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กสามารถที่จะพบได้บ่อยกว่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็ก สามารถพบได้ประมาณ 85 – 90 % มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ
อาการโรคมะเร็งปอด
อาการของมะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคมะเร็ง และทำการลุกลาม สามารถสังเกตได้ดังนี้
- น้ำหนักลดลงโดยไม่สาเหตุ
- มีอาการไอเรื้อรัง และเป็นระยะเวลานาน
- มีอาการไอเป็นเลือด
- หายใจถี่ หรือหายใจเหนื่อยหอบ
- เจ็บหน้าอก
- เสียงแหบ
- ปวดกระดูก
- ปวดศีรษะ
บทความประกอบ:ทำความสะอาดปอดของคุณด้วยวิธีธรรมชาติ ปอดที่แข็งแรงห่างไกลโรค
สาเหตุของมะเร็งปอด
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้
-
การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่นั้นถือว่าเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดมะเร็งปอดถึง 85 % ของสาเหตุการเกิดทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากภายในของบุหรี่นั้นจะประกอบไปด้วยสารพิษต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังมีสารก่อมะเร็งมากถึง 60 ชนิดเลย ซึ่งสารก่อมะเร็งตัวนี้สามารถที่จะทำการพัฒนาให้เกิดมะเร็งปอดได้ รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ อย่างเช่น มะเร็งในช่องปาก และมะเร็งหลอดอาหารได้ในภายหลังได้ นอกจากนี้แล้ว ยาสูบประเภทอื่น ๆ เช่น ยานัด ยาเส้น กัญชาผสมบุหรี่ หรือซิการ์ ก็ยังสามารถที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดได้มากขึ้นอีกด้วย สารที่ก่อให้เกิดมะเร็งเหล่านี้เมื่อทำการเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อภายในปอดทันที ซึ่งปกติแล้วร่างกายของเรานั้นจะพยายามที่จะซ่อมแซมความเสียหายที่ได้เกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่ามีการสูดดมเข้าไปมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับเซลล์มากขึ้น จนทำร่างกายนั้นทำการที่จะซ่อมแซมไม่ทัน กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ผิดปกติที่สามารถที่จะกลายเป็นมะเร็งบริเวณปอดได้นั้นเอง
-
ควันบุหรี่จากคนรอบข้าง หรือควันบุหรี่มือสอง
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม แต่การได้รับควันบุหรี่จากผู้คนรอบข้างที่สูบก็สามารถที่จะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ไม่แพ้กับการสูบบุหรี่โดยตรง เพราะการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นก็สามารถที่จะรับสารพิษ หรือสารก่อมะเร็งได้ด้วยวิธีเดียวกัน ได้มีผลการวิจัยออกมาว่า ผู้ที่ได้อาศัยอยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง 20 – 30 % เลย เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่
-
มลภาวะ และสารพิษต่าง ๆ
สารเคมี และสารพิษต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละวันนั้น ก็สามารถที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้สูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องประกอบอาชีพ หรือผู้ที่อยู่อาศัยใกล้ ๆ กับสารเคมี หรืออุตสาหกรรม
-
ก๊าซเรดอน
เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ทั่วไป อาจจะมาจากดิน หิน หรืออาจจะพบได้ในอาคารบางแห่ง หากได้สูดดมเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไปมาก ๆ อาจจะส่งผลให้ปอดนั้นได้รับความเสียหายได้ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนั้นเอง
การป้องกันโรคมะเร็งปอด
ไม่มีวิธีที่แน่นอนในการป้องกันโรคมะเร็งปอด แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้
- อย่าสูบบุหรี่ หากคุณไม่เคยสูบบุหรี่อย่าคิดที่จะเริ่ม พูดคุยกับบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับการไม่สูบบุหรี่เพื่อให้พวกเขาเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับมะเร็งปอด เริ่มการสนทนาเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่กับลูก ๆ ของคุณตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้วิธีตอบสนองต่อแรงกดดันจากคนรอบข้าง
- หยุดสูบบุหรี่ หยุดสูบบุหรี่ในขณะนี้ การเลิกบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด แม้ว่าคุณจะสูบบุหรี่มาหลายปีแล้วก็ตาม พูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับกลยุทธ์ และอุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่ที่สามารถช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ได้ ตัวเลือกต่าง ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทดแทนนิโคติน ยารักษาโรค และกลุ่มสนับสนุน
- หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง หากคุณอาศัย หรือทำงานกับผู้สูบบุหรี่ ให้กระตุ้นให้เขาเลิกสูบบุหรี่ อย่างน้อยที่สุดขอให้เขาสูบบุหรี่ข้างนอก หลีกเลี่ยงบริเวณที่ผู้คนสูบบุหรี่ เช่น บาร์และร้านอาหาร หรือหาที่ปลอดบุหรี่อยู่
- ทดสอบบ้านของคุณเพื่อหาเรดอน ให้ตรวจสอบระดับเรดอนในบ้านของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ทราบว่าเรดอนมีปัญหา ระดับเรดอนที่สูงสามารถแก้ไขได้เพื่อทำให้บ้านของคุณปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบเรดอน โปรดติดต่อแผนกสาธารณสุขในพื้นที่ของคุณ
- หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งในที่ทำงาน ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันตัวเองจากการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษในที่ทำงาน ปฏิบัติตามข้อควรระวังของนายจ้าง ตัวอย่างเช่น หากคุณได้รับหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกัน ให้สวมใส่เสมอ ถามแพทย์ของคุณว่าคุณสามารถทำอะไรได้อีกเพื่อป้องกันตัวเองในที่ทำงาน ความเสี่ยงที่ปอดจะถูกทำลายจากสารก่อมะเร็งในที่ทำงานจะเพิ่มขึ้นหากคุณสูบบุหรี่
- กินอาหารที่เต็มไปด้วยผัก และผลไม้ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่มีผัก และผลไม้หลากหลาย แหล่งอาหารของวิตามิน และสารอาหารที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินในปริมาณมากในรูปแบบเม็ด เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยที่หวังจะลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่หนักได้ให้อาหารเสริมเบต้าแคโรทีนแก่พวกเขา ผลการวิจัยพบว่าอาหารเสริมช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในผู้สูบบุหรี่ได้จริง
- ออกกำลังกายเกือบทุกวันในสัปดาห์ ถ้าคุณไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เริ่มอย่างช้า ๆ พยายามออกกำลังกายเกือบทุกวัน
บทความประกอบ: 9 เทรนด์ฟิตเนสในปี 2022 แนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายยอดฮิต
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยหลายประการอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด ปัจจัยเสี่ยงบางประการสามารถควบคุมได้ เช่น การเลิกบุหรี่ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด ได้แก่
-
สูบบุหรี่
ความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่คุณสูบบุหรี่ในแต่ละวัน และจำนวนปีที่สูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ในทุกช่วงอายุสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้อย่างมาก
-
การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง
แม้ว่าคุณจะไม่สูบบุหรี่ ความเสี่ยงของมะเร็งปอดจะเพิ่มขึ้นหากคุณได้รับควันบุหรี่มือสอง
-
การฉายรังสีครั้งก่อน
หากคุณเคยเข้ารับการฉายรังสีที่หน้าอกเพื่อหามะเร็งชนิดอื่น คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น
-
การสัมผัสกับก๊าซเรดอน
เรดอนเกิดจากการสลายตัวตามธรรมชาติของยูเรเนียมในดิน หิน และน้ำ ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอากาศที่คุณหายใจเข้าไป ระดับเรดอนที่ไม่ปลอดภัยสามารถสะสมในอาคารใด ๆ รวมถึงบ้านเรือน
-
การสัมผัสกับแร่ใยหินและสารก่อมะเร็งอื่น ๆ
การสัมผัสกับแร่ใยหิน และสารอื่น ๆ ที่ทราบว่าก่อให้เกิดมะเร็งในที่ทำงาน เช่น สารหนู โครเมียม และนิกเกิล สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณสูบบุหรี่
- ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
ผู้ที่เป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือเด็กที่เป็นมะเร็งปอดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น
บทความประกอบ: มะเร็งกระเพาะอาหาร เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งกระเพาะอาหาร
ภาวะแทรกซ้อน
อาการโรคมะเร็งปอด อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น
- หายใจถี่ ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดอาจมีอาการหายใจลำบากได้หากมะเร็งเติบโตจนไปปิดกั้นทางเดินหายใจหลัก มะเร็งปอดยังสามารถทำให้ของเหลวสะสมรอบปอด ทำให้ปอดที่ได้รับผลกระทบจะขยายตัวเต็มที่ได้ยากขึ้นเมื่อคุณหายใจเข้า
- ไอเป็นเลือด มะเร็งปอดอาจทำให้เลือดออกในทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้คุณไอเป็นเลือดได้ และบางครั้งอาจจะเลือดออกรุนแรงได้
- ความเจ็บปวด มะเร็งปอดระยะลุกลามที่แพร่กระจายไปยังเยื่อบุปอด หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก อาจทำให้เกิดอาการปวดได้ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการปวด เนื่องจากมีการรักษาหลายอย่างเพื่อควบคุมความเจ็บปวด
- ของเหลวในหน้าอก (เยื่อหุ้มปอด) มะเร็งปอดอาจทำให้ของเหลวสะสมในบริเวณรอบปอดที่ได้รับผลกระทบในช่องอก ของเหลวที่สะสมอยู่ในหน้าอกอาจทำให้หายใจถี่ได้ มีการรักษาเพื่อระบายของเหลวออกจากหน้าอกของคุณ และลดความเสี่ยงที่เยื่อหุ้มปอดจะไหลกลับมาอีก
- มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (การแพร่กระจาย) มะเร็งปอดมักจะแพร่กระจาย ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น สมอง และกระดูก มะเร็งที่ลุกลามอาจทำให้เกิดอาการปวด คลื่นไส้ ปวดหัว หรืออาการแสดงอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ เมื่อมะเร็งปอดลามไปไกลถึงปอดแล้ว โดยทั่วไปแล้วจะรักษาไม่หาย การรักษามีไว้เพื่อลดอาการ และช่วยให้คุณมีอายุยืนยาวขึ้นเท่านั้น
บทความประกอบ:โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?
การรักษามะเร็งปอด
การรักษามะเร็งปอด เมื่อได้รับผลการวินิจฉัยที่แน่นอนแล้วว่าเป็นมะเร็งปอดจริง ทางแพทย์จึงสามารถที่จะระบุถึงวิธีการรักษาได้ แต่ทั้งนี้แล้ว ยังต้องมีการดูอาการ หรือดูจากหลาย ๆ ปัจจัยประกอบด้วย เช่น ความรุนแรงของโรคว่าผู้ป่วยนั้นอยู่ในขั้นใดแล้ว วิธีการรักษามะเร็งปอดทางแพทย์จะต้องดูว่าวิธีไหนเหมาะสมกับผู้ป่วยจริง ๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นการผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออกไป หรือการผ่าตัดเอาปอดทั้งข้างออกเมื่อตรวจพบว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปทั่วทั้งปอด ทั้งนี้ทางแพทย์อาจจะมีการเลาะต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงออกด้วย หากเกิดการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปนังต่อมน้ำเหลือง วิธีนี้เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กนั้นเอง
การรักษาด้วยคีโม หรือเคมีบำบัด
การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือการรักษาด้วยคีโม เป็นการใช้ยาในหลายรูปแบบ เพื่อที่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก หรือทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายในช่วงระหว่างเวลาหนึ่ง โดยอาจจะใช้การรักษาก่อนการผ่าตัดเพื่อที่จะช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ง่ายยิ่งขึ้น ในบางรายอาจทำเคมีบำบัดอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวด หรืออาการอื่น ๆ ของมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้
การฉายแสง
การฉายแสงนั้นเป็นการใช้รังสีในปริมาณที่สูงฉายไปยังบริเวณที่เกิดมะเร็งปอดขึ้นโดยตรง เพื่อที่จะกำจัดเซลล์มะเร็ง การฉายแสงมักจะใช้ควบคู่กับวิธีรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด นั้นเอง
โรคมะเร็งปอดนั้นเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นสามารถที่จะเสียชีวิตได้เลย แต่ยังมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ หากว่าผู้ป่วยนั้นเข้ารักการรักษาในระยะต้น ๆ ของการเกิดโรคได้เร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้ส่งผลดีต่อผู้ป่วยมากเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ หรือระยะสุดท้ายจะรักษาไม่หายขาด นั้นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
โรคมะเร็งตับ เป็นอย่างไร อันตรายขนาดไหน มีวิธีรักษาอย่างไร
โรคมะเร็งผิวหนัง ภัยร้ายที่มากับแสงแดด อาการและสัญญาณเตือนที่ควรรู้
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mayoclinic , bumrungrad , pobpad