ตอนท้อง เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องร้าวไปถึงหลัง อันตรายไหม ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องข้างซ้ายล่าง เจ็บท้องด้านซ้าย อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ขณะตั้งครรภ์ แม้จะฟังดูน่ากังวลใจ แต่แท้จริงแล้ว กลับเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับคุณแม่ท้อง ถ้าหากไม่ได้ปวดมาก หรือมีอาการแค่ช่วงสั้น ๆ แค่เปลี่ยนท่าทาง หรือลุกไปเข้าห้องน้ำ ก็หาย เช่นนั้นแล้ว ก็ไม่ใช่อาการที่น่าวิตกแต่อย่างใด แต่หากรู้สึกปวดท้องรุนแรงเมื่อไหร่ แม่ท้องต้องรีบพบแพทย์ทันที เช่นเดียวกับการ ปวดท้องด้านซ้าย ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปวดหลัง ระหว่างตั้งครรภ์ เจ็บท้องน้อยด้านซ้าย ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปวดหลัง เจ็บท้องข้างซ้าย ปวดท้องข้างซ้าย จี๊ดๆ เป็นๆหายๆ  ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้

 

ปวดท้องข้างซ้ายร้าวไปหลัง จุกเสียดท้องด้านซ้าย จี๊ดๆ

 

1. เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย เจ็บปีกมดลูกข้างขวา อาจมีสาเหตุมาจาก มดลูกเอียง

การที่คนท้องรู้สึกปวดท้องทางด้านซ้าย อาจมีสาเหตุมาจากที่มดลูกของคุณเอียงไปทางด้านขวา ทำให้เอ็นที่ยึดมดลูกทางด้านซ้ายเกิดอาการตึง คุณแม่ จึงรู้สึกเจ็บปวดเป็นระยะ ๆ และจะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นตอนที่หัวเราะ หรือมีการเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ซึ่งบางครั้งอาการนี้ ก็จะลามไปยังบริเวณขาหนีบได้ โดยวิธีบรรเทาอาการเจ็บนี้ คุณแม่อาจต้องแก้ไขด้วยการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ หรือลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากคุณหมอ

 

2. ปวดท้องด้านซ้าย ปวดท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องข้างซ้าย จี๊ดๆ เป็นๆหายๆ ถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์รังไข่

หากรู้สึกปวดท้องด้านซ้ายล่าง ซึ่งเป็นตำแหน่งของรังไข่ คุณแม่อาจมีโอกาสเป็นซีสต์ที่รังไข่ได้ โดยสาเหตุก็เป็นเพราะว่า ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ถุงรังไข่ยังคงผลิตกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีชื่อว่า คอร์ปัส ลูทีล (Corpus Luteum) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และสร้างเอสโตรเจน การเกิดซีสต์รังไข่ เกิดขึ้นจากการสะสมของของเหลวภายในคอร์ปัส ลูทีล ในบางรายก็สามารถหายได้เอง โดยปราศจากการรักษา ในขณะที่บางราย หากซีสต์มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  ก็อาจจะสร้างปัญหาให้ในภายหลังได้ ในกรณีของแม่ท้อง หากซีสต์ซ่อนอยู่หลังมดลูก ก็อาจทำให้ตรวจพบได้ยาก และถ้าถุงน้ำรังไข่นี้โตขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้คุณแม่คลอดยาก เพราะถุงน้ำไปขวางช่องคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์รังไข่ มีดังนี้

  • ปวดท้อง
  • ปวดท้องด้านซ้าย
  • ปวดท้องข้างซ้าย จี๊ดๆ เป็นๆหายๆ
  • ปวดท้องข้างซ้ายร้าวไปหลัง
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • ปวดท้องบริเวณส่วนล่าง และปวดหลัง
  • มีเลือดออกผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง ตรวจเจอซีสต์ตอนท้อง ผ่าพร้อมลูกได้หรือเปล่า

 

3. อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ระบบทางเดินอาหาร

ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทั้งการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และอาการท้องผูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องด้านซ้ายได้

อย่างไรก็ตาม การปวดท้องด้านซ้าย ก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีความเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ หรือนิ่ว เป็นต้น โดยโรคตับอ่อนอักเสบ จะทำให้รู้สึกว่าปวดท้องบริเวณกลางท้อง หรือค่อนไปทางด้านซ้าย และมักจะแสดงอาการหลังจากที่คุณแม่กินอาหารที่มีความมันมาก ๆ หรือเวลาที่นอนหงาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เจ็บท้องข้างซ้าย จุกเสียดท้องด้านซ้าย ปวดท้องข้างซ้าย จี๊ดๆ เป็นๆหายๆ ท้องนอกมดลูก

เจ็บท้องน้อยด้านซ้าย การตั้งครรภ์นอกมดลูก ก็เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปวดท้องทางด้านซ้าย โดยอาการนี้ จะไม่แสดงออกมาในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ สาเหตุที่เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ก็มาจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมอยู่นอกโพรงมดลูก ส่วนใหญ่มักจะไปฝังตัวที่ท่อนำไข่ และหากปล่อยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนท่อนำไข่แตก คุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อการตกเลือด และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะให้ยุติการตั้งครรภ์ เพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่ไว้

 

ภาวะท้องนอกมดลูก มีอาการที่พบได้ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาการเจ็บที่ท้อง หรือท้องน้อย ลักษณะแบบบีบรัดเป็นช่วง ๆ
  • มีการปวดร้าวไปที่หัวไหล่ เจ็บหน้าอก
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • บางคนมีอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลมด้วย

 

 

ปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่างจี๊ดๆตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

  • อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปวดเกร็งอย่างรุนแรงภายในช่องท้อง

อาการปวดเกร็งภายในช่องท้อง ที่มีความรุนแรง ยาวนานหลายชั่วโมงบางรายมีเลือดออกร่วมด้วย ในขณะที่บางรายก็ไม่มี อาจเป็นสัญญาณของภาวะการสูญเสียบุตร หรือการแท้ง และภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

 

  • เจ็บท้องคล้ายจะคลอด หรือปวดเกร็งเป็นประจำ

อาการเจ็บท้องเหมือนจะคลอดเป็นประจำในช่วงเวลาก่อน 37 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

 

    • มีของเหลวสีใส หรือสีชมพูออกมาทางช่องคลอด
    • มีตกขาวเพิ่มขึ้นมาก
    • อาการปวดหลังที่ผิดปกติ
    • อาการปวดเกร็งคล้ายกับการปวดท้องประจำเดือนรุนแรง
    • รู้สึกเจ็บเหมือนถูกกดที่บริเวณท้องช่วงล่าง หรืออุ้งเชิงกราน

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ็บท้องเตือน รู้สึกแบบไหน ต่างจากเจ็บท้องใกล้คลอดจริงอย่างไร

 

  • ปวดบริเวณท้องด้านบนใต้ชายโครง

ความเจ็บปวดบริเวณใต้ซี่โครง มักจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากลูกน้อยเติบโตขึ้นมาก และดันมดลูกขึ้นไปอยู่บริเวณใต้ชายโครง แต่หากอาการปวดนี้มีความรุนแรง ต่อเนื่อง และรู้สึกเจ็บปวดมากโดยเฉพาะทางด้านขวา อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) โดยแม่ท้องสามารถสังเกตอาการอื่น ๆ ต่อไปนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
    • มีอาการบวมที่ใบหน้า มือ และเท้า
    • ปวดหัวอย่างรุนแรง
    • สายตาพร่าเบลอ มองเห็นแสงกะพริบ
    • อาเจียน

ภาวะครรภ์เป็นพิษมักเกิดขึ้นในช่วงท้ายของไตรมาสที่ 2 หรือราว ๆ สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร

 

  • ปวดท้องช่วงล่าง หรือปวดหลัง

ลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่ หากมี อาจเป็นสัญญาณของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งไม่ฉุกเฉินร้ายแรงมาก แต่อาจส่งผลกระทบในภายหลังได้ อาการมีดังนี้

 

    • ปัสสาวะลำบาก หรือไม่สุด
    • ปัสสาวะบ่อย (ในการตั้งครรภ์ การปัสสาวะบ่อยเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว)
    • มีไข้สูงกว่า 37.5 องศา
    • ปัสสาวะมีกลิ่น หรือมีเลือดออก
    • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน

 

  • อาการเจ็บท้องเตือน

อาการที่มดลูกบีบตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 จนถึงใกล้คลอด แม่ท้องจะรู้สึกไม่สบายตัว มากกว่าที่จะเป็นความเจ็บปวด หากอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นถี่หรือเกิดขึ้นเป็นประจำก็ไม่เป็นอันตรายใด ๆ

 

 

ปวดท้องร่วมกับอาการเหล่านี้ ต้องพบแพทย์ด่วน

เมื่อคุณแม่รู้สึกปวดท้อง แน่นอนว่าจะต้องมีความกังวลว่า จะเกิดการสูญเสียบุตรหรือไม่ โดยปกติแล้ว การปวดท้องที่ไม่ได้รุนแรงมาก อันเนื่องมาจากการขยายตัวของมดลูก และเอ็นมดลูก อาการท้องผูก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดเกร็งคล้าย ๆ กับตอนมีประจำเดือน ก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับแม่ท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 12 สัปดาห์แรก

 

ไม่เป็นไรเลย หากแม่ท้องจะรู้สึกกังวล และอยากจะปรึกษาแพทย์ เป็นการดีเสียอีก ที่จะทำให้คุณแม่คลายความเครียดลงได้ อย่างไรก็ตาม แม่ท้องก็ต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากรู้สึกผิดปกติ เช่น มีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ต้องปรึกษาแพทย์ทันที

 

  • มีเลือดออก
  • มีอาการปวดเกร็ง หรือปวดบีบเป็นประจำ
  • ตกขาวผิดไปจากปกติ เช่น มีปริมาณมาก หรือมีสีผิดปกติ เป็นต้น
  • มีอาการปวดหลังช่วงล่างมาก
  • รู้สึกปวด หรือเจ็บแสบขณะปัสสาวะ
  • อาการปวดบ่อย และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • นอนพักเป็นเวลา 30 – 60 นาทีแล้ว อาการปวดยังไม่หาย

 

 

ที่มา livestrong , tommys.org

บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

อาการปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ เป็นตอนตั้งครรภ์กี่สัปดาห์

ปวดท้องด้านซ้ายระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุ อันตรายไหม?

บทความโดย

Khunsiri