เพีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยให้ลูกอยู่บ้านเดียว และตัวเองจะต้องออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือไปทำงานตั้งแต่เช้าจะต้องทำอย่างไร ในความเป็นจริงแล้วสามารถทิ้งลูกน้อยให้อยู่บ้านคนเดียวได้หรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะว่า การปล่อยให้ลูก “อยู่คนเดียว” นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่พวกเขาอายุกี่ขวบ และการกระทำเช่นนั้นมีผลเสียอะไรต่อเด็กบ้าง
ปล่อยให้ลูก “อยู่คนเดียว” ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
นอกจากอันตรายและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณปล่อยให้ลูกน้อยของคุณอยู่เพียงลำพังแล้ว การให้พวกเขาอยู่คนเดียวส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ อีกมากมาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
เด็กจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง
เรื่องปกติที่คุณอาจพบได้ หากคุณมีการปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพัง พวกเขาสามารถเกิดอารมณ์และความคิดต่าง ๆ ได้มากมายขณะที่พวกเขาอยู่เพียงลำพัง อาทิ ความกลัว ความเครียด ความเหงา ภาวะซึมเศร้า และความน่าเบื่อหน่าย เป็นต้น ทั้งนี้อาจรวมถึงหากพวกเขาอยู่เพียงลำพังนอกบ้านนั้นเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอุบัติเหตุ และตกเป็นเหยื่อของคนแปลกหน้า พี่น้อง และเพื่อนฝูง ที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของการละเมิดทางเพศอีกด้วย
-
ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตราย
เด็กที่ถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือนอกบ้านก็ตาม พวกเขามีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมที่นำไปสู่ความเป็นอันตราย ได้แก่ การดื่มของมึนเมาโดยที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ การใช้สารเสพติด การติดเกมและไม่เข้าสังคม เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงการกระทำความผิดอื่น ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ปกครองก็เป็นได้
บทความที่น่าสนใจ : ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็ก มีอาการอย่างไร เด็กก็เศร้าเป็น
เด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะอยู่คนเดียวได้ ?
การตัดสินใจที่จะปล่อยให้ลูกอยู่บ้านเพียงลำพังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้ง่ายนักสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แม้แต่กับลูกน้อยของคุณอาจถึงวัยบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม มันเลี่ยงไม่ได้ที่พวกคุณจะเป็นห่วงพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งคุณอาจแยกจากลูกน้อยเพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น เรามาดูกันดีกว่าว่าเด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะอยู่บ้านคนเดียวได้
-
เด็กอายุน้อยกว่า 7 ขวบ
เป็นช่วงวัยที่พวกคุณไม่ควรทิ้งให้พวกเขาอยู่บ้านเพียงลำพังเป็นอันขาด ไม่ว่าจะช่วงเวลาใดก็ตาม ซึ่งรวมถึงการทิ้งพวกเขาไว้ในรถ สนามเด็กเล่น และบริเวณรอบบ้านที่ไม่มีใครดูแล เพราะว่าเด็กในช่วงวัยดังกล่าวยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ยังไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างเด็ดขาด และอาจถูกหลอกล่อ ล่อลวงได้ง่าย
บทความที่น่าสนใจ : พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทัน!!
-
เด็กประถมตอนต้น 8-10 ปี
นอกจากการที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของคุณครูแล้ว คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอยู่คนเดียวตามลำพังนานกว่า 1-2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างการรอรับกลับบ้าน หรือในช่วงหัวค่ำเท่านั้น
-
เด็กอายุ 11-12 ปี
เด็กที่กำลังเข้าสู่วัยซนและการต่อต้าน คุณไม่ควรทิ้งให้เขาอยู่เพียงลำพัง หรือห่างกับพวกเขาเกิน 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน หรือในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และพื้นที่ที่คุณสั่งห้ามพวกเขาเด็ดขาด อาทิ ร้านเกม สนามเด็กเล่น และบ้านเพื่อน เป็นต้น
-
เด็ก อายุ 13-15 ปี
วัยที่พวกเขาจะเริ่มเข้าสังคม มีสังคมที่เปลี่ยนไปจากช่วงวัยประถม เขาจะพบกับเพื่อนที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น คุณไม่ควรให้เขาอยู่คนเดียวโดยไม่มีผู้ดูแลในเวลาค่ำคืน หรือไม่ควรทิ้งให้พวกเขาอยู่บ้านเพียงลำพังแบบข้ามวันนั่นเอง
-
เด็กอายุ 16-17 ปี
เด็กที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอย่างเต็มตัว ถึงแม้ว่าร่างกายของพวกเขาจะเจริญเติบโตเกือบจะเต็มที่แล้วแต่ก็ถือว่ายังเป็นเด็กอยู่ เขาอาจจะช่วยเหลือเรื่องสิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันของตัวเองได้ แต่คุณก็ไม่ควรทิ้งให้เขาอยู่เพียงลำพังเกิน 2 คืน
ทั้งนี้ความพร้อมของเด็กแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เด็กบางคนอาจพร้อมที่จะอยู่เพียงลำพัง และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่สำหรับเด็กบางคนอาจทำไม่ได้ ดังนั้นคุณควรที่จะสังเกตลูกน้อยของคุณว่าพวกเขาพร้อมแล้วหรือยัง แต่ทั้งนี้ หากไม่มีความจำเป็น หรือเหตุฉุกเฉิน พยายามอย่าทิ้งให้พวกเขาอยู่เพียงลำพังจะดีที่สุด
เคล็ดลับ! ทำอย่างไรให้ลูกอยู่คนเดียวอย่างปลอดภัย
สุดท้ายแล้วหากคุณมีเหตุจำเป็นที่จะต้องทิ้งลูกน้อยของคุณให้อยู่บ้านเพียงลำพังจริง ๆ คุณอาจจะต้องเตรียมตัวและของบางอย่างให้พร้อม เพื่อที่พวกเขาจะสามารถใช้ชีวิตได้โดยที่ไม่มีคุณอยู่ด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ให้ลูกน้อยของคุณจดชื่อ-นามสกุล ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์และเก็บไว้กับตัวตลอดเวลา
- เตรียมรายการหมายเลขฉุกเฉิน และเบอร์ฉุกเฉินทั้งหมดให้กับลูกพกติดตัวไว้
- หมั่นโทรเช็กกับลูกของคุณให้บ่อยครั้ง เมื่อจะต้องห่างกับพวกเขา
- สอนเด็กถึงวิธีการล็อกประตู หน้าต่างภายในบ้านอย่างถี่ถ้วน และให้พวกเขาคอยเช็กตลอดว่าการล็อกนั้นสมบูรณ์และคนนอกไม่สามารถเข้ามาได้
- สอนลูกน้อยของคุณว่า หากไม่มีเหตุฉุกเฉิน ห้ามออกนอกบ้านเด็ดขาด แม้แต่บ้านเพื่อนก็ห้าม นอกจากเขาจะได้รับอนุญาตจากคุณ
- กำหนดขอบเขตภายในบ้านให้กับลูก สอนพวกเขาว่าตรงไหนที่จะเป็นอันตราย และไม่ควรเข้าใกล้ หรือทำในสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อตัวเขา และบอกพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ปลอดภัย หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
- บางครั้งคุณอาจจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับบริการพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อทำให้ลูกน้อยของคุณจะต้องไม่อยู่บ้านเพียงลำพัง และมีผู้ใหญ่คอยดูแล
ทั้งนี้หากคุณมีเพื่อนที่บ้านที่สามารถไว้ใจได้ และน่าเชื่อถือคุณสามารถบอกพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องของลูกน้อยของคุณที่จะต้องอยู่เพียงลำพังได้ เพราะถ้าหากเกิดเหตุอันตราย หรือฉุกเฉิน พวกเขาจะได้เข้าช่วยเหลือลูกน้อยของคุณได้อย่างทันท่วงที
บทความที่น่าสนใจ : วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน ลูกเล็ก เด็กวัยซน ห้ามลูกเล่นไม่ได้! พ่อแม่ต้องปกป้องลูก
ก่อนปล่อยให้ลูกบ้านเพียงลำพัง ควรทำอย่างไรบ้าง?
เมื่อสุดท้ายแล้วคุณตัดสินใจที่จะปล่อยลูกน้อยของคุณอยู่บ้านเพียงลำพัง คุณควรที่จะรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมสำหรับการอยู่ของพวกเขา อาทิ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือสื่อสาร และกฎข้อบังคับในสิ่งที่พวกเขาจะต้องประพฤติตามเมื่อคุณไม่อยู่ ซึ่งจำเป็นจะต้องตรวจเช็กให้แน่ใจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ไม่เปิดประตูรับคนแปลกหน้า หรือบุคคลที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ทั้งนี้จะต้องกำชับเป็นอย่างดีว่าหากจะเปิดประตูให้กับใคร ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จักหรือไม่ก็ตามควรได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนทุกครั้ง
- ไม่ทิ้งหรือวางเครื่องมือสื่อสารไว้ห่างตัว และควรรับสายในทันทีเมื่อมีการโทรเข้าของผู้ปกครอง
- ย้ำให้ลูกไม่บอกใครว่าตนอยู่คนเดียว ถึงแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรู้จักก็ตาม
- หากเป็นเด็กเล็ก หรือเด็กวัยประถม ควรกั้นอาณาเขตอย่างชัดเจนว่าที่ไหนที่พวกเขาสามารถเข้าพื้นที่ได้บ้าง และห้ามเข้าห้องควรเด็ดขาด
- เช็กแก๊ส หน้าต่าง ประตูที่ไม่ใช่ทางเข้าหลัก และของมีคมในบ้านทั้งหมดว่าปิดดีแล้ว เพื่อไม่ให้ลูกของคุณจะไม่ได้รับอันตรายในขณะที่คุณไม่อยู่บ้าน
- ปิดกั้นการใช้งานบางแอปพลิเคชัน ที่อาจมีเนื้อหารุนแรงและไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก หรือรายการที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองขณะรับชม เพื่อไม่ให้พวกเขารับข่าวสารหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อเสียและวิธีปฏิบัติเมื่อลูกของคุณจำเป็นจะต้อง “อยู่คนเดียว” ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและความมั่นใจมากเลยใช่ไหมคะ ดังนั้นหากคุณไม่มีความจำเป็นก็อย่าทิ้งลูกน้อยของคุณให้อยู่บ้านเพียงลำพังเลยค่ะ หรือหากจำเป็นจะต้องทำจริง ๆ คุณควรวางแผนล่วงหน้าในการจัดหาพี่เลี้ยงเด็ก หรือพาลูกน้อยของคุณไปอยู่ในความดูแลของบุคคลที่คุณไว้ใจจะดีกว่าค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
กิจกรรมยามว่างสำหรับเด็ก อยู่บ้านว่างๆ ทำอะไรได้บ้าง?
ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?
ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ลูกเงียบ ลูกเครียด จนร้องไห้ สังเกตบ้างไหมว่าลูกเปลี่ยนไป
ที่มา : FindLaw, psychcentral, kidshealth, verywellfamily