ชวนเรียนรู้ และทำความเข้าใจโลกของเด็ก แอสเพอร์เกอร์

“แอสเพอร์เกอร์” เป็นหนึ่งในภาวะอาการที่อยู่ในกลุ่มของ “ออทิสติก” พ่อแม่หลายคน เมื่อได้ยินคำนี้มักรู้สึกกังวลใจ เนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบเกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่เป็นแอสเพอร์เกอร์สามารถดำเนินชีวิต และประสบความสำเร็จได้เหมือนคนปกติทั่วไป เพียงแต่ผู้เลี้ยงดูต้องมีความเข้าใจและให้การดูแลช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปิดโลก แอสเพอร์เกอร์ : เรียนรู้และเข้าใจ

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสังคมเกี่ยวกับอาการของเด็กและผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ โรงพยาบาลมนารมย์ได้จัดบรรยายในหัวข้อ “เปิดโลก แอสเพอร์เกอร์” ขึ้น โดยแพทย์หญิงกมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์

 

บรรยากาศการบรรยายหัวข้อ “เปิดโลก แอสเพอร์เกอร์” โรงพยาบาลมนารมย์

 

โลกที่เงียบเหงา : อาการและปัญหาของผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์

ปัญหาของผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์คือ การพัฒนาทักษะทางสังคม ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ช่วงเด็กเริ่มหัดพูด  “เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จะพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย มักมีการดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิม จะเกิดความเครียดขึ้นทันที” พญ. กมลชนกกล่าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เนื่องจากความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมร่วมกับมีพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น จึงให้โลกของเด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์ค่อนข้างเงียบเหงา   พวกเขามักไม่เข้าใจวิธีการมองโลกในมุมมองของคนอื่น ไม่รู้จัก “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” การใช้คำพูดและการกระทำอาจทำให้คนรอบข้างไม่พอใจ ประกอบกับไม่สามารถเข้าใจในมุขตลก รวมทั้งลักษณะการเล่นสนุกตามวัย จึงมักถูกเพื่อนรังแกบ่อย ๆ แต่แท้จริงแล้ว เด็กแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการเข้าสังคม อยากหัวเราะไปกับเรื่องตลกร่วมกับคนอื่น ๆ เหมือนกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โลกที่เงียบเหงาของเด็กแอสเพอร์เกอร์

 

เปิดโลกให้ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ : หาจุดเด่นลบจุดด้อย

“เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่ก็มีศักยภาพและความน่ารักอยู่ในตัว เขาจะให้อภัยคนง่าย มีความรับผิดชอบ ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่ลักขโมย ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคม พ่อแม่ควรที่จะต้องช่วยหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนและสังคมยอมรับ เพื่อช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยยังคงรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของเขาอยู่ด้วย การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ จะต้องสอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา ช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร นอกจากนี้ ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษาด้วย ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงประเด็น และต้องตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง” พญ. กมลชนกกล่าว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สรุป

พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างละเอียด เลิกคิดว่าลูกผิดปกติ แต่ควรมองหาว่าลูกมีจุดเด่นอะไร แล้วช่วยเขาพัฒนาให้ดีขึ้น มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อและแม่ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ต้องเสียสละ อดทน ไม่ว่าจะเจอปัญหาหนักเพียงใดก็จะสามารถแก้ไขและก้าวผ่านไปได้อย่างแน่นอน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
สุดสะเทือนใจ! 2 สาวออทิสติกถูกข่มขืน คนทำหนีลอยนวล
วิจัยเผย แพ้ท้องหนัก ลูกมีเกณฑ์เป็นโรคออทิสติก แพ้ท้องหนักอันตราย
ลูกไม่สบตา ไม่มองหน้า เพราะอะไร อันตรายมั้ย เป็นออทิสติกหรือเปล่า แก้ยังไงได้บ้าง