ทดลองวิทยาศาสตร์ อนุบาล ทำได้ง่าย ๆ จากของใกล้ตัวที่บ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คงจะดีไม่ใช่น้อย ถ้าเราจะชวนลูก ๆ มาเล่นสนุก แถมยังได้ความรู้แนววิทยาศาสตร์ไปในตัว เพราะนอกจากจะได้สนุก เรียนรู้ไปกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้ว ทดลองวิทยาศาสตร์ อนุบาล ด้วยของข้างกาย อาจจะทำให้เด็ก ๆ ร้องว้าว จนพร้อมเปิดโลกแห่งวิทยาศาสตร์ และจินตนาการ ไปพร้อม ๆ กัน

 

เปิดจินตนาการกับการ ทดลองวิทยาศาสตร์ อนุบาล จากของใกล้ตัว

 

 

การทดลองวิทยาศาสตร์ การวาดภาพด้วยเกลือ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ควบคู่กับศิลปะ และจินตนาการ ด้วยคุณสมบัติของการดูดความชื้นอย่าง "เกลือ"

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม :

  1. กระดาษปอนด์ หรือกระดาษแข็ง
  2. ดินสอ
  3. กาวลาเท็กซ์
  4. เกลือสมุทร
  5. สีน้ำ หรือสีผสมอาหาร
  6. ที่หยดสี หรือหลอดดูดน้ำ หรือพู่กัน

วิธีทำ :

  1. นำกระดาษปอนด์ หรือกระดาษแข็งที่เตรียมเอาไว้มาวาง จากนั้นใช้ดินวาดรูปที่ต้องการ อาจจะทำรูปง่าย ๆ เช่นตัวอักษร A, L, T เป็นต้น (หากคล่องแล้ว ค่อยปรับเป็นรูปแบบที่ยากขึ้นได้ ตามอัธยาศัย)
  2. ให้นำกาวลาเท็กซ์หยดลงตามเส้นที่ร่างเอาไว้
  3. ให้โรยเกลือผสมอาหาร หรือเกลือสมุทรที่เตรียมเอาไว้ ลงบนกาวที่เราทำการวาดลงก่อนหน้านี้
  4. จากนั้นให้เขย่า และเทเกลือที่เป็นส่วนเกินออกให้หมด
  5. ให้นำสีน้ำ หรือสีผสมอาหารที่เตรียมเอาไว้ ผสมกับน้ำเปล่า
  6. ใช้ที่หยดสี หรือหลอดดูดน้ำ หรือพู่กัน จุ่มลงดูดสีที่เตรียมเอาไว้ แล้วนำมาหยด หรือแตะลงบนเกลือที่ร่างเป็นรูปเอาไว้ก่อนหน้านี้
  7. เกลือจะดูดซึมสีเหล่านั้น และปรากฏสีที่แต่งเติม และขึ้นเป็นรูปร่างที่ร่างเอาไว้ก่อนหน้านี้

สิ่งที่ได้รับจากการทดลองนี้ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. การเรียนรู้คุณสมบัติการดูดความชื้นของเกลือ
  2. การเรียนรู้การผสมสีต่าง ๆ
  3. เรียนรู้การดูด การหยดสี ในตำแหน่งที่กำหนดเอาไว้
  4. ถามถึงจินตนาการ และฝึกวิธีการสังเกตของเด็กว่าสุดท้ายมองเห็นรูปบนกระดาษเป็นรูปอะไรบ้าง มีสีอะไรบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทดลองหน้านิ่ง – ทารกก็สามารถรับรู้และเข้าใจสีหน้าของคุณได้!

 

 

แข่งจรวดลูกโป่ง

เด็ก ๆ มักจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโลกรอบตัวของพวกเขา และเขาก็มักจะมีคำถามต่าง ๆ มากมายจากสิ่งเหล่านั้น และการแข่งจรวดลูกโป่ง ก็เป็นอีกหนึ่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้กฎการเคลื่อนที่ ด้วยจรวดบอลลูนที่ทำง่าย แถมยังสามารถเอามาแข่งขันกัน เพื่อให้เกิดความท้าทาย และสนุกสนานได้อีกด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ลูกโป่ง
  2. สก๊อตเทป
  3. เชือก
  4. กรรไกร
  5. หลอด
  6. ของตกแต่ง

วิธีทำ :

  1. เป่าลูกโป่งเตรียมเอาไว้ ให้พองในระดับหนึ่ง
  2. ตัดหลอดดูดน้ำที่เตรียมไว้ ให้มีความยาวประมาณ 8 ซม.
  3. ให้ร้อยเชือกเข้าไปในหลอดที่ตัด
  4. นำหลอดที่ร้อยเชือกเรียบร้อยแล้ว นำมาติดกับลูกโป่งด้วยสก๊อตเทป
  5. สามารถนำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งตามจินตนาการ
  6. สามารถทำแบบเดียวกันเอาไว้ 2 - 3 หรือมากกว่านั้น เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน และความท้าทาย
  7. ขึงเชือกให้ตึงทั้งสองฝั่ง โดยกำหนดให้ปลายของลูกโป่งอยู่ในทิศทางเดียวกัน
  8. จากนั้นให้ปล่อยลมของลูกโป่งออกพร้อม ๆ กัน แล้วสังเกตว่า ลูกโป่งสีไหน เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า

สิ่งที่ได้รับจากการทดลองนี้ :

  1. แรงผลักจากอากาศที่ปล่อยออกจากภายในลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
  2. ความเร็วในการเคลื่อนที่ ขึ้นอยู่กับแรงอัดอากาศที่ถูกปล่อยออกมา

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้เพศลูกในครรภ์ ทั้งแบบโบราณและวิทยาศาสตร์ ท้องนี้จะได้ลูกชายหรือลูกสาวกันนะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัส เพื่อสำรวจคุณสมบัติของไอเทมลึกลับ

การเรียนรู้การฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากไอเทมลึกลับที่เตรียม เพื่อให้เด็กสามารถใช้จินตนาการ บวกกับประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส ว่าไอเทมดังกล่าว คืออะไรกันนะ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม :

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้ สามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยหาจากสิ่งรอบข้างได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นขนม ผลไม้ หรือเป็นภาพเงา เพื่อให้เด็กจินตนาการว่า เงานั้น ๆ สามารถเป็นสิ่งของชิ้นไหนได้บ้างที่เด็กเคยเห็นมาก่อนหน้านี้แล้ว

วิธีทำ :

วิธีเล่นจะแตกต่างกันออกไป โดยจะมุ่งเน้นไปที่การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ปาก และการสัมผัส เช่น

  • ตา - สังเกต และคาดเดาจากรูปทรง หรือเงาที่ปรากฏว่าสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดได้บ้าง
  • หู - การได้ยินเสียงเช่นเสียงจากถุงกระดาษ ถุงขนม เป็นต้น
  • จมูก - การดมกลิ่นของอาหาร คุกกี้
  • ปาก - การลิ้มรสสัมผัสจากอาหารที่ทานเข้าไปว่าสิ่งที่ทานคืออะไร เช่น การแยกรสชาติของผลไม้แต่ละชนิด เป็นต้น
  • การสัมผัส - การสัมผัสรูปทรงของหรือวัตถุชิ้นนั้น ๆ เช่น กระดาษชำระแบบม้วน ผลแอปเปิล ดินน้ำมัน แก้วน้ำที่ใช้อยู่ประจำ

สิ่งที่ได้รับจากการทดลองนี้ :

เด็กได้เรียนรู้ คุณสมบัติเด่น ๆ ของวัตถุแต่ละประเภท และสามารถใช้จินตนาการในส่วนต่าง ๆ เชื่อมโยงต่อกัน จนเกิดเป็นภาพ และตอบออกมาได้อย่างชัดเจน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รวม 6 ศูนย์วิทยาศาสตร์ ในกรุงเทพ และใกล้กรุงเทพ สำหรับเด็ก ไปได้ทั้งบ้าน !

200 ชื่อลูกที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ตั้งชื่อลูกเป็นศัพท์วิทย์ เท่ ๆ ไม่เหมือนใคร

รอบรู้ทุกเรื่องของยอดคนสมองอัจฉริยะ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"

ที่มา : weareteachers

บทความโดย

Arunsri Karnmana