การออกเสียง : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

การออกเสียง หรือการพูด เป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ และใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเด็กเล็กนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การออกเสียง หรือการพูด เป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ และใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเด็กเล็กนั้น ยังไม่มีความสามารถที่จะสื่อสาร หรือพูดออกมาให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการจะบอก การสื่อสารของเด็กวัยนี้ จึงทำได้เพียง การออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องเรียก หรือเสียงงอแง นั่นคือสิ่งที่เด็กวัยนี้จะสามารถสื่อสารกับเราได้

พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 0 – 1 ขวบนั้น เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากเสียงรอบข้าง หรือเสียงที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารถึงเขาโดยตรง เด็กในวัยนี้ จะเกิดการเรียนรู้ที่เร็วหรือช้านั้น คุณพ่อคุณแม่คือผู้กำหนดนั่นเองค่ะ

 

  • เด็กอายุ 1 เดือน

เด็กในวัย 1 เดือน แม้จะไม่สามารถสื่อสารอะไรได้มาก แต่การออกเสียงในลักษณะของการส่งเสียงร้อง เป็นการสื่อสารเมื่อตัวเด็กรู้สึกหิว หรือรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้คุณพ่อคุณแม่จะต้องรีบพุ่งตัวเข้าไปหา เพื่อดูว่า ลูกน้อยต้องการอะไร

ซึ่งเด็กในวัยนี้จะสามารถตอบสนองต่อเสียงที่ดัง เช่นเกิดการสะดุ้งตัว หรือขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงรอบข้าง การพูดคุยกับลูกน้อย หรือการร้องเพลงกล่อม แม้ว่าเด็กยังไม่สามารถเข้าใจแต่ก็ประสาทสัมผัสจากคลื่นเสียงที่ส่งมา ก็สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กในวัยนี้ได้เช่นกัน

 

  • เด็กอายุ 2 – 3 เดือน

การรับรู้และได้ยินเสียงรอบข้างจะเริ่มชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเด็กในช่วงวัยนี้ จะเริ่มหันหาเสียงที่เกิดขึ้นอย่างสนใจใคร่รู้ และเกิดการเคลื่อนไหวตอบสนองเมื่อได้ยินเสียง ทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนเสียงเกิดขึ้น โดยเสียงที่ถูกสื่อสารออกในช่วงนี้จะเป็นเพียงเสียงอ้อแอ้ และก็จะเริ่มมีเรื่องของอารมณ์เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น เสียงอ้อแอ้เมื่อมีความพึงพอใจ หรืออ้อแอ้ในลักษณะไม่พอใจ หรือถูกขัดใจนั้นเอง

ช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกน้อยมีการตอบสนองจากเสียงที่เราพูดออกไปหรือไม่ เช่น มีปฏิกิริยาเมื่อได้ยินเสียงรอบข้าง เริ่มมีการสบตา และส่งเสียงอ้อแอ้ ตอบกลับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เด็กอายุ 5 – 6 เดือน

พัฒนาการทางการออกเสียง และการได้ยินจะเริ่มชัดเจน ทำให้รู้จักแยกทิศทางของเสียงได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น รู้จักที่จะหันศีรษะไปทิศทางที่เป็นต้นกำเนิดของเสียง ทำให้ช่วงวัยนี้ เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการ การออกเสียงที่แปลกแตกต่างจากเสียงอ้อแอ้ เราจะเริ่มได้ยินเสียงที่จะถูกเปล่งออกมาจากลำคอ เป็นเสียงต่าง ๆ มากกว่าเดิม

ช่วงเวลานี้ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพูดคุยกับเด็กให้มาก เพื่อลูกน้อยจะได้เกิดการจดจำการออกเสียง และฝึกโต้ตอบ แม้จะยังไม่สามารถพูดออกมาได้เป็นภาษาหรือเป็นคำก็ตาม โดยคุณพ่อคุณแม่ควรพูดให้ลูกฟัง แล้วหยุดรอฟังเมื่อเวลาเด็กออกเสียงโต้ตอบ แล้วจึงค่อยพูดกลับ จะทำให้เด็กรู้จักเรียนรู้ที่จะหยุดฟัง และพูดอย่างมีระบบ

การเปล่งเสียงของเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีการเปล่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เริ่มมีการเล่นเสียง (Vocal Play) แม้ว่าจะไม่มีความหมายใด ๆ แต่เป็นการเรียกร้องความสนใจ และบอกความต้องการบางอย่างได้มากขึ้นนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เด็กอายุ 9 เดือน

เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสาร สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น สวัสดี บ๊ายบาย ส่งจูบ หอมแก้ม หรือยิ้มหวาน เมื่อเด็กเริ่มเข้าใจคำสั่งที่เราสื่อสารออกไปแล้ว เด็กก็จะมีพัฒนาการการออกเสียงเพิ่มมากขึ้น เด็กจะสามารถพูดตามและเลียนเสียง ได้เป็นคำ ๆ และชัดเจนขึ้นกว่าเดิม

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพูดสื่อสารกับเด็กในลักษณะของการพูดคุยเหมือนผู้ใหญ่คุยกัน ออกเสียงให้ชัดเจน พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน หรืออาจจะเริ่มเล่านิทานสั้น ๆ ให้ลูกฟัง เพราะทำเสียงและท่าทางประกอบ จะทำให้เด็กสามารถฝึกการเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เด็กอายุ 10 – 12 เดือน

ช่วงนี้เด็กจะเริ่มพูดคำสั้น ๆ ที่มีความหมาย เพราะเด็กจะเริ่มเข้าใจกับคำพูดที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เริ่มรู้จักหันไปหา เมื่อถูกเรียก เริ่มใช้โทรเสียงและท่าทางเพื่อเรียกชื่อ หรือสื่อสารถึงสิ่งต่าง ๆ จะเริ่มตอบคำถามด้วยการใช้ท่าทางร่วมกันกับเสียงได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าการออกเสียงของลูกนั้น จะยังไม่ชัดเจนหรือสมบูรณ์ ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีการพัฒนาการที่ดี

การเล่านิทานพร้อมแสดงท่าทางประกอบ พร้อมทำเสียงหนัก เบา สูง และต่ำ ทำให้เกิดการเรียนรู้กับตัวเด็กได้มากยิ่งขึ้น ในช่วงวัย 1 ขวบนี้ จะเป็นช่วงพัฒนาของสมองอย่างไร้ขีดจำกัด เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ก็ตาม

 

 

 

เทคนิคช่วยพัฒนาภาษาลูก

การส่งเสียงอ้อแอ้ของเจ้าตัวน้อยในช่วงเดือนแรก ๆ คือการนำไปสู่การพัฒนาด้านการสื่อสาร และการพูดในเวลาต่อมา เกิดจากการสังเกต และเลียนแบบในสิ่งที่เห็นจากผู้ที่เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด เด็กที่สามารถออกเสียงสระคำเดี่ยว ๆ ได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน ก็จะสามารถออกเสียงคำ 2 พยางค์ได้หลายเสียงในช่วง 7 เดือน และเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ในช่วง 8 เดือน พอเข้าสู่ช่วงวัย 10 เดือน ก็จะเริ่มพูดคำแรกออกมาได้กแล้ว หลังจากนั้นก็จะพัฒนาเป็น 2 – 3 คำในวัยครบ 1 ปี

ถึงแม้ว่าหนทางในการพัฒนาทางด้านภาษาจะต้องใช้เวลายาวนาน แต่หากได้รับแรงเสริม หรือการสนับสนุนจากผู้เลี้ยงดู เจ้าตัวน้อยก็จะสามารถฝึกฝนการออกเสียงนั้นได้มาก และรวดเร็วยิ่งขึ้น จนกระทั่งสามารถเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ได้วัยกว่าเด็กคนอื่นที่ไม่ได้รับการฝึกฝน

เทคนิคการฝึกสำหรับเด็กวัย 0 – 6 เดือน

มาดูกันว่า สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้ เพื่อการพัฒนาภาษาลูกในวัยนี้มีอะไรบ้าง

  • ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ และความเชื่อมั่นในตนเอง โดยการแสดงความรัก ความต้องการ การให้ความอบอุ่น ขณะที่สัมผัส หรือโอบอุ้ม และพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่บ่งบอกถึงความนุ่มนวล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตในโลกด้วยความรัก และไว้ใจบุคคลรอบข้าง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองต่อไป
  • ส่งเสริมให้ลูกเลียนแบบเสียงต่าง ๆ โดยการเลียนแบบการเล่นเสียงของลูก เพื่อให้ลูกสนใจ และเลียนแบบเสียงของผู้อื่นบ้าง
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการฟัง โดยการเปิดเพลงให้ลูกฟัง หรือให้ลูกเล่นของเล่นที่มีเสียงต่าง ๆ ซึ่งอาจจะใช้รูปภาพที่น่าใจ หรือใช้ของเล่นที่มีเสียง และเคลื่อนไหวได้ เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกมอง และฟังเสียงมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้ลูกมองการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง กับการพูด เพื่อให้สามารถเลียนแบบการออกเสียงตามได้ โดยจัดให้ระดับหน้าของลูก อยู่ในระดับเดียวกับหน้าของพ่อแม่ ซึ่งอาจทำได้โดยให้ลูกนั่งเก้าอี้ของเด็ก ที่มีความสูงพอเหมาะ
  • ส่งเสริมการเรียนรู้การสัมผัสของเล่นต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับรู้ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ด้วยการสัมผัสในการนำไปใช้ผสมผสานกับการเรียนรู้ภาษาพูดได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เทคนิคการฝึกสำหรับเด็กวัย 6 – 12 เดือน

  • ส่งเสริมให้ลูกพูดคำแรกที่มีความหมาย โดยการพูดคำพูดง่าย ๆ และคุ้นเคย ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น แล้วให้โอกาสลูกพูดเลียนแบบ ถ้าลูกพูดไม่ชัด ไม่ควรไปแก้ไขการพูดไม่ชัด เพียงแค่พูดเป็นตัวอย่างให้ชัดเจน และไม่สนับสนุน ให้ทำท่าใบ้เพื่อบอกความต้องการของตัวเอง เพราะอาจทำให้ลูกไม่เห็นความสำคัญของการพูด
  • ส่งเสริมให้ลูกฟังเสียงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การฟังเพลง เสียงกริ่งโทรศัพท์ เสียงประตู เสียงน้ำไหล เป็นต้น เพื่อให้ลูกเรียนรู้การเชื่อมโยงเสียงต่าง ๆ กับวัตถุ เลียนแบบเสียงต่าง ๆ รวมทั้งฝึกให้รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ มีเสียงเฉพาะ
  • ส่งเสริมการพูดของลูก โดยพูดกับลูกในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำพูดที่ต้องการให้ลูกเข้าใจได้ เช่น ชื่อสิ่งของต่าง ๆ กริยาอาการต่าง ๆ เป็นต้น พูดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง แล้วเว้นช่วงเวลาเพื่อรอให้ลูกพูดตามสัก 2 – 3 วินาที แต่ไม่ควรคาดหวัง หรือบังคับให้ลูกพูดตามทุกคำ เพราะจะทำให้ลูกเกิดความคับข้องใจได้
  • ส่งเสริมให้ลูกพูดกับตัวเอง เป็นการให้เวลาลูกเล่นคนเดียว และหัดพูดกับของเล่น หรือพูดกับตนเอง โดยอาจใช้ของเล่นที่ส่งเสริมการพูด เช่น ตุ๊กตา รถ กระจกเงา เป็นต้น
  • ส่งเสริมการพูดด้วยการเล่นเกมส์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกมีวุฒิภาวะ ที่พร้อมในการที่จะพูด และพัฒนาคำศัพท์ต่าง ๆ เช่น เล่นเลียนเสียงสัตว์
  • ส่งเสริมให้ลูกรู้จัก และบอกชื่อเล่นของตัวเอง รวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือ สิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยการเรียกชื่อลูก และบอกชื่อต่าง ๆ รอบตัวลูก บ่อย ๆ

 

อาการแบบไหนจึงควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์

คุณพ่อและคุณแม่สามารถสังเกตลูกว่ามีพัฒนาการการสื่อสารเป็นไปตามวัยหรือไม่ โดยสังเกตว่าหากเราเรียกลูกแล้วลูกไม่สามารถหันมองตามเสียงเรียกได้ หรือไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ กับเสียงรอบข้าง ให้สันนิษฐานว่า อาจจะมีปัญหาจากระบบการได้ยิน ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาทางด้านการออกเสียง และการสื่อสารด้วยเช่นกัน หากมีอาการดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์โดยทันที เพราะการหาสิ่งผิดปกติในตัวลูกน้อยได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถเข้าถึงการดูแลรักษา และบำบัดได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น

 

ที่มา : (pobpad) , (parentsone) , (planforkids)

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย2เดือน มีพัฒนาการและสื่อสารอย่างไร

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana