ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ

เพียงไม่นาน ที่คุณแม่ต้องโพสต์คลิป "น้องจิกลัวหมูแดง" ก็ทำให้ชาวเน็ตแชร์กันทั่วโลกออนไลน์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง

ลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เปิดใจคุณแม่ต้อง เจ้าของไวรัล ลูกไม่กล้าจับมือถือ ซึ่งคุณแม่ต้องได้โพสต์คลิปพร้อมข้อความว่า สาเหตุที่น้องฟูจิ..ไม่จับมือถือ ไม่ดูยูทูปแล้ว เพราะแม่กับป๊าทำแบบนี้ แต่ก่อนติดมากต้องขอดูตลอด อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ได้ผล

ขอบคุณแม่ ๆ ที่ชื่นชอบนะคะ หวังว่าคงได้ไอเดียกัน และเป็นประโยชน์ต่อบ้านที่ลูกน้อยติดมือถือ
.
วิธีที่นำเสนออาจไม่ได้เป็นวิธีที่ถูกต้อง หรือแนะนำกับทุกบ้านนะคะ โปรดใช้วิจารณญาณก่อน เพราะบางบ้านใช้รูปที่น่ากลัว หลอกลูก อาจทำให้เค้าฝังใจและกลัวไปตลอดเลย ไม่กล้าจับมือถืออีกเลยก็ได้ค่ะ
.
สิ่งที่ต้องทำคือ พอแม่ต้องให้ลูกเลิกดู เลิกสนใจมือถือแล้ว ต้องก็เลิกบอกเค้าหรือไม่สร้างความกลัวให้เค้าอีก
.
อยากให้ใช้ความละเอียดอ่อนนะคะ ไม่อยากให้สร้างพฤติกรรมผิด ๆ

 

www.facebook.com/pimpawan.molee/videos/10215260344364698/

 

คำถาม : ทำไมคุณแม่ต้องถึงคิดวิธีนี้ขึ้นมาได้

ลูกไปห้าง เจอหมูแดงตัวนี้ทีไร บอกว่ากลัว ๆ ให้อุ้มทุกทีค่ะ

ช่วงนี้น้องฟูจิ 2 ขวบ เริ่มพูดได้ บอกอยากได้อะไร ไม่อยากได้อะไร เรื่องมือถือจะชอบมาขอดู YouTube (เพลงเด็กทั่วไป) ตอนแม่นั่งทำงานที่บ้านเปิดทำคอมพ์ทั้งวัน บางทีเค้าร้องกวน ขอดู YouTube ก็ให้ดูค่ะ

เพราะคิดว่ามันก็ไม่ได้มีข้อเสียทั้งหมด เลือกให้ดูบางเพลง เช่น A B C

แต่เด็กก็คงเหมือนเรา ติดมือถือง่ายมาก ว่าง ๆ แป๊บ ๆ ก็มาขอดู YouTube ของเล่นเต็มบ้านก็เล่นแป๊บ ๆ บางทีแม่เผลอไม่มีเวลา พอได้ดูก็ดูยาวค่ะ (1 ชั่วโมง)

ก็เลยนึกถึงหมูแดงตัวนี้ที่เค้ากลัวขึ้นมา พอลูกบอกว่า tube หน่อย ๆ ก็แกล้งเปิดรูปหมูแดงขึ้นมา เค้าตกใจ ร้องเลย และไม่กล้ามาดู แม่ก็บอกว่า มีหมูแดงอยู่ในนั้นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนนี้เค้าไม่ได้จับมือถือมาสามวันละ แม้ว่าเห็นคุณแม่เล่น เค้าบอกว่ามีหมูแดง

แต่เค้าแยกแยะได้นะคะ คุณยายโทรมาก็รับโทรศัพท์ปกติ ไม่ได้กลัว แต่พอมาจะเปิด YouTube เค้าก็บอกเองว่า มีหมูแดง ไม่ดูค่ะ สุดท้ายป๊าก็ตั้งเป็นภาพหน้าจอไปเลย

ตอนนี้คลิปแชร์เยอะเลย ถ้ามีผลเสียยังไงก็แชร์กันได้นะคะ มีแม่ ๆ มาขอรูปหมูแดงกันเยอะมาก ก็ส่งให้ไปค่ะ บางท่านก็บอกได้ผล บางคนก็ไม่ได้ผล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำถาม : อยากให้คุณแม่บอกถึงข้อเสียของลูกติดจอหน่อยค่ะ

จริง ๆ ไม่ถึงกับซีเรียสมากค่ะ เพราะผู้ใหญ่เองยังติดเลย ทุกวันนี้อยู่กับคอมพ์ กับมือถือ ทั้งใช้ทำงานและส่วนตัว เด็กสมัยนี้เลยซึมซับไว จับมือถือปุ๊บ กด สไลด์ เป็นเลย ข้อเสียจากประสบการณ์นะคะ

  1. สมาธิสั้น สังเกตจากบางทีลูกดูไม่จบ กดเปลี่ยนไปเรื่อย เหมือนคงไม่รู้ความหมาย
  2. สายตาเสีย
  3. ขาดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ไม่สนใจคนรอบ ๆ พอได้ดู
  4. สร้างเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่ดี เช่น กินข้าวแล้วจะได้ดูมือถือ
  5. เด็กจะไม่ทำอะไรเลย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ

 

ต้องขอขอบคุณคุณแม่ต้องมาก ๆ เลยนะคะ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์กับเรา มาดูข้อมูลเพิ่มเติมลูกติดยูทูป ลูกติดมือถือแก้ยังไง ต่อในหน้าถัดไป

6 ผลกระทบ จากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป

  1. ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
  2. ผลการเรียนย่ำแย่ลง
  3. สมรรถภาพทางกายลดลง
  4. สายตาแย่ลง
  5. พัฒนาการทางสมองช้าลง
  6. ความสามารถในการสื่อสารลดลง

ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ทำให้สายตาเสีย, นอนหลับไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม แพทย์ญี่ปุ่นเตือน ให้ลูกเล่นมือถือ ส่งผลเสียทุกด้าน

 

ลูกติดโทรศัพท์ส่งผลสมาธิสั้น

สาเหตุที่ทำให้ลูกสมาธิสั้น เพราะลูกเล่นมือถือ ติดหน้าจอนานเกินวันละหลายชั่วโมง เมื่อได้จดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป การเคลื่อนไหวในสื่อบนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง หากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการสมาธิสั้น

 

วิธีลดความเสี่ยงพฤติกรรมลูกติดโทรศัพท์

เพื่อไม่ให้ลูกสมาธิสั้น ต้องกำหนดเวลาในการเล่นแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟนหรือมือถือ ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง

พาลูกออกไปเที่ยวบอกบ้านหรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกับลูกให้มากขึ้น เพื่อให้ลูกใส่ใจคนรอบข้าง สนอกสนใจกับสิ่งรอบตัวเสียบ้าง

พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ คอยดูแล สอดส่องพฤติกรรมของลูก แนะนำให้ดูพวกสื่อที่มีคุณภาพ

พ่อแม่ต้องคอยนั่งดูกับเขาด้วย อย่าปล่อยให้ดูเพียงคนเดียว และไม่ควรนำมาให้ลูกเล่นเพียงเพราะว่าอยากให้เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ร้องไห้งองแง หรือทำให้เขาสงบลง

 

ที่มา : board.postjung.com, voathai และ ผู้จัดการ mainichi

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แก้ปัญหาลดภาวะเสี่ยง “เด็กติดจอ” อย่างไรดี

สอนลูกอ่านหนังสือ วิธีฝึกให้ลูกรักการอ่าน ตั้งแต่ยังเป็นทารก

6 วีธีฝึกนิสัย สร้างวินัยการออมให้ลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya