เมื่อลูกคนโตกลายเป็นพี่ ลูกที่น่ารัก ... กลายเป็น "ลูกขี้อิจฉา"

ในช่วงเริ่มต้นของชีวิตลูก การเพิ่มจำนวนคนด้วยการมีน้องใหม่มาร่วมบ้าน เป็นสถานการณ์ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวต้องเตรียมการรับมือกันอย่างมากมาย บางบ้านก็ผ่านไปได้สบาย บางบ้านก็มีปัญหาเรื่องอิจฉากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกคนโตกลายเป็นพี่ ลูกที่น่ารัก … กลายเป็น “ลูกขี้อิจฉา”

เมื่อลูกคนโตกลายเป็นพี่ ลูกที่น่ารัก … กลายเป็น “ลูกขี้อิจฉา”

หลายครอบครัวก็สามารถผ่านสถานการณ์ “พี่ … อิจฉาน้อง” มาได้อย่างสบาย ๆ แต่อีกเหตุการณ์ที่หลายครอบครัวต้องมาเผชิญในวัยที่ลูกเริ่มโตขึ้น สื่อสารได้ และบอกความต้องการเป็น ก็คือ ลูกที่เคยน่ารัก มีท่าทีเชื่อฟัง กลับกลายมาเป็น “เด็กขี้อิจฉา” ทั้ง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ก็คิดว่า “เรารักลูกอย่างเท่าเทียมกันแล้ว” ลองมาทบทวนพฤติกรรมบางอย่างของเราซึ่งเป็นพ่อแม่ ที่ส่งผลต่อการแสดงออกของลูกจนกลายเป็น “ความขี้อิจฉา” กันดูดีมั๊ยค่ะ

1. เมื่อลูกคนใดคนหนึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา อาทิ ซนมาก โยเยมาก ดื้อมาก ฯลฯ เราซึ่งเป็นพ่อแม่จำเป็นที่ต้องเรียกชื่อลูกคนนั้น และมีการเข้าไปจัดการพฤติกรรมเหล่านั้นบ่อย ๆ เราอาจจะคิดว่าลูกมีปัญหา เราก็ต้องรีบแก้ไข แต่บางครั้งบางจังหวะ มีผลกระทบทำให้ลูกอีกคนต้องหยุดกิจกรรมที่ตัวเองกำลังให้ความสนใจบางอย่างลง และหากเราไม่ได้รู้ทันความรู้สึกของลูกที่ต้องรอและรออยู่บ่อย ๆ ครั้ง เด็กบางคนจะเข้าใจไปเองตามสัญชาตญานว่า “พ่อแม่กำลังละเลยตัวเขา และให้ความสนใจพี่หรือน้องอยู่”

ลูกที่เคยน่ารัก มีท่าทีเชื่อฟัง กลับกลายมาเป็น “เด็กขี้อิจฉา”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เมื่อลูกคนใดคนหนึ่งมีภาวะที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อาทิ มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง มีภาวะพิเศษด้านต่าง ๆ ฯลฯ พ่อแม่โดยส่วนใหญ่มักมีการการให้ความดูแลทางกายภาพสำหรับลูกพิเศษมากกว่าลูกที่มีภาวะปกติอยู่แล้ว แต่ที่แอบซ่อนอยู่ภายใต้การดูแลที่แตกต่างกันนั้นคือ การเอาใจ…ไปใส่ไว้ในลูกที่มีภาวะพิเศษมาก จนละเลยที่จะดูแลจิตใจลูกปกติ จนลูกปกติบางบ้านมีประโยคเด็กมาคุยกับพ่อแม่ว่า “พี่สาวหนูเป็นเด็กพิเศษเรื่องอ่านไม่ค่อยออก…แล้วหนูพิเศษอะไรดีน้อ?” ประโยคนี้สะท้อนให้เห็นว่า ลูกทุกคนต่างก็อยากเป็น “คนพิเศษ” ของพ่อแม่ด้วยกันทั้งนั้น

ทำบ่อยครั้งเข้า ๆ จนวันหนึ่ง ลูกก็ไม่แสดงความพยายาม เพื่อมาบอกเรา ด้วยคำพูด

3. เมื่อลูกคนหนึ่งพยายามจะบอกอะไรบางอย่างกับเรา …ในขณะที่ลูกอีกคนกำลังสร้างปัญหา แต่เราปฏิเสธที่จะรับฟังลูกคนแรก หรือใช้ประโยคเด็ดบวกอาการหงุดหงิดอีกนิดหน่อยบอกลูกว่า “เดี๋ยวนะลูกเห็นไหมว่าน้อง / พี่กำลังวุ่นวายอยู่เลย?” และท้ายที่สุดก็ไม่กลับมารับฟังลูกหรือถามถึงเรื่องนั้นอีกเลย ทำบ่อยครั้งเข้า ๆ จนวันหนึ่งลูกก็ไม่แสดงความพยายามเพื่อมาบอกเราด้วยคำพูด แต่เป็นการกระทำที่เป็นปัญหาด้วยรูปแบบเดียวกับที่พี่หรือน้องของเขากระทำเอาไว้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อันตพาลในบ้าน…เมื่อพี่น้องทำมากกว่าทะเลาะ

ทำให้ลูกไม่อิจฉา พี่หรือน้อง

การแสดงออกถึงความรักของพ่อแม่ต่อลูกแต่ละคนที่เรากระทำออกมา ไม่ได้แปลว่าลูกทุกคนจะเกิดความเข้าใจในปัญหาของพี่ – น้อง หรือแม้กระทั่งปัญหาของพ่อและแม่ได้ด้วยตนเองทุกคนนะคะ เพราะถ้าเป็นการสื่อสารที่ไม่ได้ recheck ไปถึงความเข้าใจของลูก  เราจะไม่ทราบเลยว่าจริง ๆ แล้วลูกรู้สึกอย่างไร หลายครั้งเด็กคิดและตีความเอาเองโดยไม่ได้บอกเรา จนกลายเป็นความเข้าใจผิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับการคลี่คลายความคิดนี้ สามารถทำได้โดยการเปิดพื้นที่ในการ “รับฟังลูกอย่างแท้จริง” ที่จะช่วยให้พ่อแม่ได้เข้าใจอาการที่ลูกแสดงออกว่า “ลูกรู้สึกอย่างไร?”  “ทำไมถึงรู้สึกเช่นนั้น?” และ “ถ้าเป็นลูกหนูจะทำอย่างไร?” การตั้งคำถามง่าย ๆ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และรับฟังลูกด้วยความเมตตา ในช่วงเวลาที่ลูกต้องการเราเข้าใจเขา เป็นการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับทราบถึงต้นตอของพฤติกรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกที่จะเป็น “ผู้ฟัง” และต้องเป็นผู้ฟังที่ใช้ “หัวใจฟัง” ไม่ไปหยุด เบรค พูดแทรก หรือมีสีหน้าอาการที่ไม่พอใจในคำตอบลูก แล้วท่านจะพบว่า ลูกกำลังบอกอะไรเราผ่านการแสดงออกที่เราเคยตัดสินลูกว่า “เขาเป็นเด็กขี้อิจฉา” นะคะ ^_^

โดย ครูป๋วยกินนมแม่

ลูกกำลังบอกอะไรเราผ่านการแสดงออกที่เราเคยตัดสินลูกว่า “เขาเป็นเด็กขี้อิจฉา”

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Healthy Children.org – How to Prepare Your Older Children for a New Baby

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีสอนลูก ให้คิดเป็น แม่เก่ง คุณแม่ที่ไปเรียนมา หลายศาสตร์ เพื่อสอนวิธิคิดให้ลูก

7 วิธี สอนมารยาท ในโรงหนัง ที่ผู้ปกครอง ควรสอนให้เด็ก ๆ

เรียนรู้ นิสัยของเด็กวัย 2 ขวบ รู้ก่อนรับมือได้ทัน แก้ไขและสอนลูก อย่างถูกวิธี

บทความโดย

ป๋วย