เด็กหลอดแก้วเสี่ยงแท้ง จริงหรือ?
The Telegraph รายงานว่า จากการเก็บสถิติการคลอดบุตร 3 แสนราย ทั่วออสเตรเลียใต้ ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมาของ ทีมวิจัยจาก University of Adelaide พบว่า มีเด็กที่เกิดจาก กระบวนการรักษาผู้มีบุตรยาก 4,300 ราย ทารกที่เกิดจาก กระบวนการผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว หรือวิธีอื่น เพื่อรักษาผู้มีบุตรยาก มีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่าต่อการแท้ง เด็กมีความผิดปกติ หรือ เสียชีวิตภายใน 28 วันหลังจากเกิด เมื่อเทียบกับเด็กที่ปฏิสนธิตามธรรมชาติ
ทารกที่ผ่านกระบวนการ IVF มีแนวโน้มว่าจะแท้ง และ คลอดก่อนกำหนดถึง 2 เท่า มีน้ำหนักตัว น้อยกว่าปกติ 3 เท่า และ มีความเสี่ยงที่อาจเสียชีวิต ในเดือนแรกที่ลืมตาดูโลกเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตามผลการวิจัยยังพบอีกว่าผู้หญิงที่มีบุตรยากอยู่แล้วแต่สามารถปฏิสนธิได้เองโดยไม่ต้องพึ่งกระบวนการรักษาผู้มีบุตรยากนั้นกลับมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ใช้วิธีการผสมเทียม ทารกในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงถึง 7 เท่าต่อการคลอดก่อนกำหนดและการเสียชีวิตภายใน 28 วันแรกหลังคลอด
ด้านนายแพทย์ Dagan Wells ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดให้ความเห็นว่า ผลการวิจัยนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แต่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความผิดปกติด้านระบบสืบพันธุ์ของผู้ป่วยเองก็เป็นได้ พร้อมทั้งให้กำลังใจผู้ที่มีบุตรยาก แต่ต้องการมีทายาทไว้สืบสกุลว่าอย่าสิ้นหวังกับการทำเด็กหลอดแก้ว
นายแพทย์ Dagan กล่าวเพิ่มเติมว่า “บางครั้งผลการวิจัยที่ออกมา อาจจะเป็นอัตราของการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวทารกแรกเกิดน้อยกว่าปกติ และ การตายของทารกหลังคลอดดูจะเป็นความเสี่ยงของคู่สามีภรรยาอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับวิธีที่ใช้รักษา สำหรับผู้ที่มีบุตรยากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF กลับเป็น วิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ เมื่อเทียบกับการปฏิสนธิแบบธรรมชาติของผู้มีบุตรยาก”
ศาสตราจารย์ Michael Davies หัวหน้าทีมวิจัยแห่ง University of Adelaide กล่าวว่า “การศึกษาวิธีการรักษาผู้มีบุตรยากในรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีไหนที่เพิ่มความเสี่ยงดังที่กล่าวมาบ้าง”
วิธีการรักษาผู้มีบุตรยาก
ประกอบไปด้วยการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก การทำอิ๊กซี่ การปฏิสนธินอกร่างกาย การกระตุ้นให้ไข่ตก และการแช่แข็งตัวอ่อน
ส่วนศาสตราจารย์ Alison Murdoch ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากแห่ง Newcastle University กล่าวว่า “ความเสี่ยงนั้นมีน้อยมาก เพราะ หลังจากตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติได้ 20 สัปดาห์ โอกาสรอดของทารก มีมากถึงร้อยละ 99.5 เมื่อคลอดออกมาแล้ว ทารกมีโอกาสรอดถึงร้อยละ 98.9 เลยทีเดียว”
เธอให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “ข้อมูลต่าง ๆ ควรนำมาวิเคราะห์ให้มากขึ้น ก่อนที่จะสามารถหาข้อสรุป ไม่แน่ อาจจะได้ข้อสรุปใหม่ หรือคำแนะนำใหม่ แก่ผู้ที่มีบุตรยากก็เป็นได้”
ด้าน Sheena Lewis ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากแห่ง Queen’s University ของประเทศไอร์แลนด์กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นเรื่องปกติที่ผลของการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่จู่ ๆ เกิดตั้งครรภ์หลังจากพยายามมีลูกมานาน นี่ก็พอจะชี้ได้ว่า เกิดจากความผิดปกติของผู้ที่มีบุตรยากไม่ใช่วิธีรักษาผู้มีบุตรยาก”
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารออนไลน์ Public Library of Science ONE
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัว ไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ศูนย์เด็กหลอดแก้ว ใช้สเปิร์มผิดอาจทำหญิงท้องนับสิบ มีลูกกับคนที่ไม่ใช่สามี
ผลการวิจัยพบ “เชื้อชาติ” มีผลต่อความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว
หลังจากที่ แท้งจากที่แท้ง แล้วคุณควรจะทำอย่างไรต่อไปดี ทำให้ตัวเองลุกขึ้นได้ง