IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำ IVF (In – Vitro Fertilization) หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)  เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

 

การทำ IVF , ICSI (อิ๊กซี่) เหมาะกับใครบ้าง

  • คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย
  • คู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ ได้แก่ มีจำนวนอสุจิน้อย อสุจิเคลื่อนที่ได้ไม่ดี
  • คู่สมรสที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก และพยายามมีบุตรมามากกว่า 3 ปี
  • คู่สมรสที่ได้ใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intrauterine Insemination: IUI) มาแล้วแต่ยังไม่ตั้งครรภ์

ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนต่างเริ่มให้ความสนใจเทคโนโลยี IVF และ ICSI กันมากขึ้น ซึ่งเป็นกระแสใหม่ในการมีลูก ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่มีบุตรยากบางคนคาดหวังอยากได้ลูกแฝด บางคนอายุ 45 ปีแล้ว แต่ก็ยังอยากมีลูก บางคนฝากไข่ไว้ แล้วพร้อมจะมีลูก หรือแม้แต่ ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้เด็กที่คลอดออกมา สมบูรณ์แข็งแรง

 

หลักการทำ IVF , ICSI (อิ๊กซี่) หลักการของการทำเด็กหลอดแก้วเป็นดังนี้

  1. การใช้ยากระตุ้นให้มีการตกไข่หลาย ๆ ใบ และให้ไข่สุกพร้อม ๆ กัน
  2. เก็บไข่ที่ได้รับการกระตุ้นแล้วออกมา เพื่อรอการผสม
  3. การคัดแยกตัวอสุจิ ออกจากน้ำอสุจิ เพื่อรอสำหรับการผสมกับไข่
  4. ไข่กับอสุจิผสมกันในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ตัวอ่อน ซึ่งในกระบวนนี้แตกต่างกัน ระหว่าง IVF และ ICSI คือ IVF จะให้ไข่กับอสุจิ ผสมกันอย่างอิสระในหลอดทดลอง แต่ ICSI จะใช้เข็มช่วยในการฉีดอสุจิ เข้าผสมกับไข่
  5. เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จนถึงระยะที่ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้
  6. ย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่มดลูก
  7. แช่แข็งตัวอ่อนส่วนที่เหลือจากการย้ายตัวอ่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขั้นตอนในการทำ IVF , ICSI (อิ๊กซี่)

1. การกระตุ้นไข่

เริ่มจากการพบแพทย์ ตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน และทำอัลตราซาวนด์พร้อมกับฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน จากนั้นแพทย์จะนัดอัลตราซาวนด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ โดยจะใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 8 – 10 วัน

 

2. การเก็บไข่

หลังจากมีการกระตุ้นไข่ด้วยฮอร์โมนจนไข่เจริญเติบโตจนได้ขนาดตามต้องการ แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด และใช้อัลตราซาวนด์ช่วยบอกทิศทาง แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกระยะสั้นทางหลอดเลือด หรือวางยาสลบ เพื่อป้องกันความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำใช้เวลาเก็บไข่ ไม่เกิน 20 – 30 นาที

ในขณะเดียวกัน ฝ่ายชายจะต้องเก็บอสุจิใส่ภาชนะที่แพทย์เตรียมให้ เพื่อนำมาคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์นำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง และตรวจดูการปฏิสนธิต่อไป กรณีที่ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อน้อย หรือคุณภาพของอสุจิน้อยกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ไข่จะไม่ได้รับการผสม ควรใช้วิธีการคัดเลือกอสุจิเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปในไข่ โดยไม่ต้องรอให้ปฏิสนธิกันเองเรียกวิธีนี้ว่า อิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic Sperm injection)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อเกิดการปฏิสนธิไข่กับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการต่อจนเจริญเติบโต แบ่งเซลล์เป็น 6 – 8 เซลล์ ใช้เวลาประมาณ 3 วันหลังปฏิสนธิ และเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะบลาสโตซีสต์ ใช้เวลาประมาณ 5 วันหลังปฏิสนธิ

 

4. การย้ายตัวอ่อน หรือการฉีดตัวอ่อน

คือการนำตัวอ่อนย้ายเข้าโพรงมดลูกด้วยการใส่เครื่องมือทางช่องคลอดเหมือนการตรวจภายใน ขั้นตอนนี้ไม่ต้องให้ยาระงับปวด หรือยานอนหลับ  

อย่างไรก็ดี ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เพราะต้องเตรียมร่างกายของคุณแม่ ในด้านต่างๆ เพื่อให้ผนังมดลูก รองรับกับการฝังตัวอ่อน (ดูในหัวข้อถัดไป)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

การย้ายตัวอ่อนสามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst transfer) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในการช่วยเหลือคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกร่างกายจนตัวอ่อนเจริญเติบโตถึงระยะพร้อมฝังตัว (ใช้ระยะเวลา 5 วันหลังการผสม) ที่เรียกว่าบลาสโตซิสต์ (blastocyst) แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ตัวอ่อนพร้อมฝังตัว เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
  • การย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 หลังการผสม (day 3 transfer)เป็นวิธีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายจนตัวอ่อนมีการแบ่งเซลล์เป็น 6-8 เซลล์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 วันหลังการผสม แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก

ช่วงเตรียมตัว รองรับการกับย้ายตัวอ่อน (ฉีดตัวอ่อน)

ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ คุณหมอจะมีการเตรียมร่างกาย เตรียมผนังมดลูก และตรวจสอบค่าต่างๆ ให้พร้อมรองรับตัวอ่อน ช่วงเวลานี้ มีแนะนำให้ฉีดยา ฉีดฮอร์โมน ทานอาหารเสริมต่างๆ เพื่อเตรียมผนังมดลูก ก่อนนัดวันเพื่อรับการฉีดตัวอ่อน

หลังจากฉีดตัวอ่อนไปแล้วนั้น คำแนะนำพิเศษของคุณหมอส่วนใหญ่ ให้เลี่ยงอะไรก็ตามที่มีผลต่อการทำให้ตัวอ่อนหลุด การเกร็งกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกาย การยกของหนัก การมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การป้องกัน การท้องผูก หรือท้องเสีย ซึ่งอาจกระทบไปถึงผลลัพธ์จากขบวนการฝังตัวอ่อน

ดังนั้น การเตรียมตัวของคุณแม่ให้ดี ก่อนที่จะรับการฉีดตัวอ่อน ยิ่งช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานยา อาหารเสริม (หรือฉีดยา) ตามที่คุณหมอจัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ดูแลสุขภาพ อย่าให้เจ็บป่วย เป็นไข้ ทำร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกระทบ เช่นอาหารที่ทำให้ท้องเสียง่าย หรือแอลกอฮอล์
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ป้องกัน อย่าให้ท้องผูก ท้องเสีย

Lactis ตัวช่วยดีๆ จากประเทศญี่ปุ่น ที่คุณแม่ท้องชาวญี่ปุ่นรู้จักและทานกันมานานกว่า 30 ปี และสมาคมสุขภาพคนท้องในประเทศญี่ปุ่นให้การรับรองแนะนำ เป็นอีกทางเลือกนึง ที่คุณแม่ๆ IVF, ICSI หลายคน

ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF

การทำ IVF (In Vitro Fertilization) เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากแต่ละขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุของผู้ป่วย
  • ความรุนแรงของความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์
  • ความทันสมัยของเครื่องมือแพทย์ในคลินิกและห้องปฏิบัติการแต่ละแห่ง
  • ทางเลือกต่างๆ ในขั้นตอนการทำ IVF

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำ IVF ในประเทศไทย มีให้บริการทั้งในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลและคลินิกเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนมากจะคิดเหมารวมเป็นแพ็กเกจที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่

  • การให้คำปรึกษา
  • การตรวจฮอร์โมนในเลือด
  • การให้ยากระตุ้นรังไข่
  • การเก็บไข่และปฏิสนธิ (ส่วนมากใช้เทคนิค ICSI)
  • การเลี้ยงเอ็มบริโอในห้องปฏิบัติการและนำเข้าสู่มดลูก
  • การติดตามการตั้งครรภ์

โดยค่าใช้จ่ายต่อการทำ IVF 1 รอบ จะอยู่ที่ประมาณ 70,000 - 150,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ การเก็บแช่แข็งไข่และเอ็มบริโอ หรือการเจาะเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะ จะมีราคาเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 25,000 - 100,000 บาท

 

รายละเอียดค่าใช้จ่ายสำหรับการทำ IVF 1 รอบ

กระบวนการ ค่าใช้จ่าย (บาท) หมายเหตุ
การให้คำปรึกษา การตรวจฮอร์โมนในเลือด และตรวจคุณภาพอสุจิ 1,500 – 2,500
การตรวจความผิดปกติในโพรงมดลูก โดยการส่องกล้อง 15,000 – 20,000 กรณีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติในมดลูก
การฉีดยากระตุ้น เพื่อให้พร้อมต่อการเก็บไข่ 30,000 – 55,000 ขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้ยา
การตรวจอัลตราซาวนด์ 800 – 1,500
การเก็บไข่ ปฏิสนธิไข่ (ICSI) และเลี้ยงเอ็มบริโอในห้องปฏิบัติการ 50,000 – 60,000
การนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก 15,000 – 30,000 ราคาต่อครั้ง
การเจาะเก็บอสุจิจากอัณฑะ 25,000 – 30,000 ไม่จำเป็น หากผู้ชายหลั่งอสุจิได้ปกติ
การเก็บแช่แข็งไข่หรือเอ็มบริโอ 5,000 – 7,000 สำหรับคนที่ต้องการเก็บเอ็มบริโอไว้ใช้ในอนาคต
การนำเอ็มบริโอแช่แข็งกลับมาใช้ 10,000 – 15,000
การตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อน (PGS) 80,000 – 120,000 ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน และราคาขึ้นอยู่กับจำนวนเอ็มบริโอที่ต้องการตรวจ
การตรวจครรภ์และเตรียมก่อนฝากครรภ์ 2,500 – 4,500
รวม 70,000 – 270,000

 

จากตารางค่าใช้จ่าย จะเห็นได้ว่าราคาในการทำ IVF แต่ละรอบอยู่ในช่วงที่กว้างมาก เนื่องจากมีบางขั้นตอนที่อาจไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกคน เช่น การตรวจ PGS หรือการเจาะเก็บอสุจิจากอัณฑะ ดังนั้น หากต้องการทราบค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน ให้ปรึกษารายละเอียดกับทางโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ต้องการเข้ารับการทำ IVF โดยตรง

และเพื่อให้การทำ IVF ประสบผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก คุณผู้หญิงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และให้ความสำคัญกับการดูแลระบบขับถ่ายมากเป็นพิเศษ หากท่านใดกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย หรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถคลิกได้ ที่นี่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กหลอดแก้ว กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลเอกชน มีราคาเท่าไหร่ ให้เราแนะนำ

เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลรัฐ แต่ละรพ.มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง ?

ที่มา : phyathai-sriracha , bumrungrad , paolohospital

บทความโดย

ammy