คลายข้อข้องใจคุณแม่ ยากระตุ้นคลอด มีผลต่อทารกหรือไม่

เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 9 ซึ่งเป็นไตรมาสที่สามและเป็นเดือนสุดท้ายแล้วก่อนที่ทารกน้อยจะลืมตาดูโลก ในช่วงนี้คุณแม่คงมีหลายอารมณ์ที่ปะปนกัน ทั้งดีใจที่จะพบหน้าลูกน้อย และหวั่นเกรงกับการคลอดที่อาจได้ยินได้ฟังมาจากคนโน้นบอก คนนี่เล่า โดยเฉพาะเรื่องยากระตุ้นคลอด ว่าเราต้องใช้หรือไม่ มาไขข้อข้องใจเรื่องยากระตุ้นคลอดกันดีกว่าค่ะ ว่ายาตัวนี้จะมีผลต่อทารกน้อยหรือไม่ กรณีไหนถึงต้องใช้ยาเร่งคลอด ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลายข้อข้องใจคุณแม่ ยากระตุ้นคลอด มีผลต่อทารกหรือไม่

คลายข้อข้องใจคุณแม่ ยากระตุ้นคลอด มีผลต่อทารกหรือไม่

ยากระตุ้นคลอด คืออะไร

รศ.พญ.ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์ กล่าวถึงยากระตุ้นคลอดไว้ว่า  เป็นยาที่มีคุณสมบัติช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ ไม่ใช้เวลานานในการคลอด  มักใช้ในกรณีที่ไม่เจ็บท้องคลอด แต่เนื่องจากการตั้งครรภ์มีปัญหา ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อแม่และทารกได้   การใช้ยาเร่งคลอด จะทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องมากกว่าการคลอดตามธรรมดา เพราะยานี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น

วิธีการกระตุ้นคลอด  มีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำหรือการกวาดปากมดลูก (Membrane stripping, Membrane sweeping) ถือเป็นวิธีการเร่งคลอดอีกวิธีที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้ผลดี สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด

2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy) ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากเพียงพอแล้วแต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก หมอจะเจาะถุงน้ำคร่ำให้เมื่อปากมดลูกเปิดได้ประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำนี้ไม่ทำให้คุณแม่เจ็บปวดแต่อย่างใดนะคะ เพื่อให้มดลูกเกิดการหดตัว

3. ยาเร่งคลอด (ฮอร์โมนออกซีโตซิน – Oxytocin) เป็นยาที่มีคุณสมบัติช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติไม่ใช้เวลานานมากนัก

4. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) นับเป็นวิธีล่าสุดที่ใช้ในการเร่งคลอด ยาที่ใช้มีทั้งรูปแบบของเจลและแบบที่เป็นยาเหน็บช่องคลอด โดยสอดเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งตัวยาจะฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มลงและเปิดขยาย รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยากระตุ้นคลอดมีผลต่อทารกหรือไม่

นพ.วิริยะ เล็กประเสริฐ  สูตินรีแพทย์  โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  กล่าวถึงผลกระทบของยากระตุ้นคลอด ดังนี้

ผลต่อทารก

- การใช้ยากระตุ้นเพื่อเร่งคลอดจะช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการบีบตัว  เมื่อมดลูกบีบตัวจะส่งผลให้รูปากมดลูกค่อย ๆ เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

- ในขณะเดียวกันกับที่มดลูกบีบตัวหลอดเลือดขนาดต่าง ๆ ในตัวมดลูก ทำการไหลเวียนเลือดจากมดลูกและรกไปสู่ทารกในครรภ์ลดน้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

- ดังนั้น  ส่งผลให้เลือด  สารอาหาร และออกซิเจนสำรองต่อทารกหรือที่ทารกมีอยู่เองค่อนข้างน้อยในช่วงขณะนั้นอาจเกิดอาการของภาวะขาดเลือด  สารอาหารและออกซิเจนได้

- อาการแสดงที่จะสังเกตได้จากกราฟหรือการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์  จะพบว่าหัวใจของทารกเต้นช้าลง  ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือโดยรีบด่วน

ผลต่อคุณแม่

- ผลกระทบต่อคุณแม่ จะมีในเรื่องของการหดรัดตัวมีมากขึ้น  ทำให้เกิดการเจ็บท้องมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

- อาจส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

- การหดรัดตัวของมดลูกมีมากอาจทำให้เกิดการติดขัดในกระบวนการคลอด  เช่น  ทารกตัวใหญ่ไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานของคุณแม่  กรณีเช่นนี้อาจต้องผ่าตัดคลอดแทน

เมื่อไรถึงต้องใช้ยาเร่งคลอด : เรามีโอกาสหรือไม่????

1. คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ (Postterm pregnancy) เป็นกรณีที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้รกจะเสื่อมได้

2. คุณแม่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก เพราะถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาโรงพยาบาลอาจเกรงว่าจะไม่ทันกาล ซึ่งอาจทำให้มีการคลอดระหว่างทางได้

3. ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membranes) หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ เพราะถ้าปล่อยให้ตั้งท้องไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเด็กมีความพิการแต่กำเนิดได้

4. ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย ในกรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อนำเด็กออกมาเลี้ยงนอกจะปลอดภัยกว่า

5. คุณแม่เกิดการอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis)

ข้อห้ามใช้ยาเร่ง

1. เคยผ่าคลอดมาก่อน หรือมีแผลบริเวณมดลูก ไม่ควรใช้ยาเร่งคลอด เพราะอาจเสี่ยงสภาวะมดลูกแตกได้

2. สภาวะรกเกาะต่ำ ควรพิจารณาให้ผ่าตัดคลอดแทน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ทารกตัวใหญ่กว่าอุ้งเชิงกรานคุณแม่

4. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น ฯลฯ

คุณหมอฝากบอก

หากแม่ท้องมีการตั้งครรภ์ที่เป็นไปอย่างปกติดีทุกประการ คุณแม่ควรรอให้การมีการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะการใช้ยาเร่งคลอดอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือมดลูกอาจแตกจากการเร่งคลอดที่รุนแรงเกินไป และยังมีโอกาสที่จะถูกผ่าตัดคลอดได้สูงหากเร่งคลอดไม่สำเร็จอีกด้วย

อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรดูแลครรภ์ของตนเองให้ปลอดภัย  สังเกตอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น  มีเลือดออก หรือมีอาการปวดท้องคลอดก่อนกำหนด ควรรีบพบคุณหมอโดยด่วน  สำหรับการใช้ยานั้น ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ในแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไปนะคะ

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

อ้างอิงข้อมูลจาก :

https://haamor.com

https://www.med.cmu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

คนท้องกังวล ปวดขาหนีบ เป็นสัญญาณการคลอดหรือไม่?

การคลอดแบบธรรมชาติ ดีกว่าผ่าคลอดจริงหรือไม่?

คุณพ่อจ๋า ต้องอ่าน 9 การดูแลภรรยาหลังคลอด วิธีดูแลภรรยาหลังคลอด ให้แม่ดีใจ!