ติ่งเนื้อปากมดลูก อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร รักษาได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ติ่งเนื้อปากมดลูก ความผิดปกติที่พบบ่อยในผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากมีเลือดกะปริดกะปรอยคล้ายรอบเดือนมาไม่ปกติ บางรายมีอาการตกขาวปนเลือดหรือมีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หากเกิดอาการเช่นนี้บ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกได้

 

ติ่งเนื้อปากมดลูก เกิดขึ้นได้อย่างไร

อาการ ติ่งเนื้อปากมดลูก (Cervical Polyps) คือถุงน้ำที่เกิดจากการอักเสบ หรือ เกิดขึ้นจากเนื้องอกของเนื้อเยื่อบุปากมดลูก เมื่อผู้หญิงพบมีติ่งเนื้อบริเวณปากมดลูกหรือช่องคลอด ซึ่งติ่งเนื้อนี้จะมีสีจากสีแดงก่ำไปจนถึงสีม่วงปนแดงบางครั้งมีสีขาวปนเทา ส่วนขนาดอาจจะมีตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไปแตกต่างกันไปและไม่เป็นอันตราย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

 

1. อาการอักเสบของปากมดลูก

ในผู้หญิงตั้งครรภ์หากพบว่ามีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์กับสามี ก็อาจพบติ่งมดลูกเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอาการอักเสบที่เรื้อรัง และนิ่งนอนใจกับการมีเลือดออก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. หลอดเลือดตีบตัน

ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือไม่ได้ตั้งครรภ์ หากปรากฏว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันบริเวณปากมดลูกหรือในโพรงมดลูก ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ จึงการอุดตันกลายเป็นก้อนเนื้อหรือติ่งโผล่ออกมา

 

3. ฮอร์โมนในร่างกาย

เกิดจากความผิดปกติจากการตอบสนองฮอร์โมนเอาโตรเจนในผู้หญิงจึงเกิดติ่งห้อยออกมาบริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ส่วนเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนจะไม่ค่อยพบอาการดังกล่าวโดยประเภทของ ติ่งเนื้อปากมดลูกมี 2 ประเภท

  • ติ่งเนื้อปากมดลูกภายนอก (Ectocervical polyps) เป็นติ่งเนื้อที่เติบโตในเซลล์พื้นผิวบริเวณคอมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
  • ติ่งเนื้อปากมดลูกภายใน (Endocervical polyps) ติ่งเนื้อประเภทนี้มักจะเติบโตจากต่อมต่างๆ ภายในโพรงมดลูก ซึ่งเป็นอาการที่ผู้หญิงเป็นกันมากทั้งในผู้หญิงปกติและผู้หญิงตั้งครรภ์ และพบมากในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน

บทความที่น่าสนใจ : ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปัจจัยเสี่ยงของผู้หญิงตั้งครรภ์กับ ติ่งเนื้อปากมดลูก

อย่างที่ทราบกันว่า ไม่ว่าจะเป็นว่าที่คุณแม่หรือผู้หญิงทั่วไปที่มีประจำเดือนย่อมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดติ่งหรือเนื้องอกต่างๆ บริเวณมดลูก เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีตลอดเวลาโดยฮอร์โมนของผู้หญิงเอง จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคติ่งเนื้อปากมดลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยิ่งช่วงตั้งครรภ์ระดับของฮอร์โมนจะมีค่าสูงที่สุดทั้งนี้ยังสามารถพบฮอร์โมนนี้ได้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น สารซีโนเอสโตรเจน (Xenoestrogens) ในเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนม และพบได้ในอาหารที่อยู่ภาชนะพลาสติก โดยเฉพาะเมื่อได้รับความร้อนจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับฮอร์โมนนี้เข้าสู่ร่างกายในชีวิตประจำวันอย่างมาก จนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงก่อให้เกิดติ่งเนื้อขึ้นในที่สุด

 

2. การติดเชื้อจนทำให้มดลูกอักเสบ

ที่ควรระวังที่สุดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์จนเกิดอาการอักเสบ ซึ่งทำให้ปากมดลูกติดเชื้อและระคายเคือง จนเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะปากมดลูกติดเชื้อแบคทีเรีย อาจส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพเพิ่มเติมได้ เช่น การเกิดหูด การแท้งบุตร โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

 

การวินิจฉัยเมื่อเกิดติ่งเนื้ออย่างละเอียด

ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงปกติทั่วไป หากผู้ป่วยอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่กล่าวข้างต้น แพทย์อาจจะต้องทำการทดสอบ เช่น การตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) จากนั้นแพทย์จะนำตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อของติ่งเนื้อบางส่วน ไปทดสอบในห้องปฏิบัติการว่าเป็นชิ้นเนื้องอกปกติหรือ เสี่ยงต่อการเป็นเนื้อร้ายหรือไม่

 

การรักษาอาการติ่งเนื้อปากมดลูกที่ถูกวิธี

ในการรักษาอาการติ่งเนื้อปากมดลูก ในบางกรณีนั้น ติ่งเนื้ออาจหายไปได้เองหรือหลุดออกจากปากมดลูกหรือโพรงมดลูกผ่านการมีประจำเดือนหรือมีเพศสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ยังมีติ่งเนื้อส่วนใหญ่จำเป็นต้องกำจัดออกไปให้เรียบร้อย เพื่อรักษาเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกและเพื่อความปลอดภัยของคุณผู้หญิง

 

1. การผ่าตัดเอาติ่งเนื้อออก

คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าปากคีบติ่งเนื้อ คีบและดึงออกอย่างเบาๆ ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะวิธีนี้จะไม่มีเลือดออกมาก แต่อาจจะต้องใช้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรงร่วมกับการรักษาด้วย เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) และยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดอาการเจ็บปวด หลังจากสะกิดติ่งออกแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการชาและเกิดตะคริวเล็กน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การตรวจชิ้นติ่งเนื้ออย่างละเอียด

ชิ้นส่วนที่คุณหมอดึงออกมาจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หากมีคุณหมอจะให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) แต่หากโชคร้ายติ่งเนื้อเกิดเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีแผนการรักษาต่อไปซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้หากติ่งเนื้อขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดโดยใช้ยาชา (Anesthesias) การตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอได้รับการแนะนำเพื่อช่วยตรวจจับและรักษาติ่งเนื้อแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตามการรักษายังมีอีกหลายวิธีเช่น

  • บิดส่วนโคนตรงรากของติ่งเนื้อออก
  • คุณหมอจะผูกสายผ่าตัดรอบโคนติ่งเนื้อและตัดออก
  • ใช้ปากคีบรูปวงแหวนเพื่อดึงติ่งเนื้อออก
  • คุณหมออาจจะใช้ไนโตรเจนเหลวเพื่อลดความเจ็บปวด
  • มีวิธีการจี้ด้วยไฟฟ้า โดยการใช้เข็มจี้ที่ทำให้ร้อนด้วยไฟฟ้า
  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ซึ่งวิธีนี้แผลจะหายเร็วและไม่ทิ้งร่องรอย

บทความที่เกี่ยวข้อง: ท้องพร้อมเนื้องอก! แม่ท้องมีเนื้องอกมดลูกเกือบ30ซม. เบียดทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

 

คนท้องมีติ่งเนื้อปากมดลูกอันตรายหรือไม่

จริงๆ แล้วไม่เกิดอันตรายถ้าติ่งเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย และสามารถตัดออกได้ตอนคลอดบุตร ซึ่งแพทย์มักจะรักษาติ่งเนื้อปากมดลูกโดยการตัดติ่งเนื้อนั้นออก ยกเว้นติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้องมีการผูกที่ขั้วของติ่งเนื้อหรือต้องจี้ด้วยไฟฟ้าที่ขั้วติ่งเนื้อก่อนตัดและหลังตัดติ่งเนื้อเพื่อหยุดเลือดออก ซึ่งคุณแม่ท้อง แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและเลือกการรักษาที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัยที่อาจเสี่ยงแท้งบุตรได้

 

ผลข้างเคียงของภาวะติ่งเนื้อปากมดลูก

ผู้หญิงทั่วไปที่เกิดติ่งเนื้อบริเวณปากมดลูกหรือโพรงมดลูกบ่อยๆ จะเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากติ่งเนื้อในโพรงมดลูกเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากที่พบได้บ่อยครั้ง เพราะเจ้าก้อนเนื้อเล็กๆ นั้นไปขัดขวางการฝังตัวและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในโพรงมดลูก ส่งผลทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรง่ายขึ้น และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดการแท้งบุตรได้เพราะอาจส่งผลให้ไข่ฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้ไม่สมบูรณ์

 

 

 

วิธีดูแลร่างกายระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่ท้องได้อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ ไม่ว่าจะเรื่องติ่งเนื้อหรือการมีเพศสัมพันธ์ เพียงแค่หมั่นตรวจร่างกายบ่อยๆ ในช่วงตั้งครรภ์ สังเกตว่ามีเลือดออกบริเวณปากมดลูกหรือไม่ และตอนคลอด ก็ขอให้คุณหมอเช็คอย่างละเอียดทันที อย่างไรก็ตาม อย่าลืมดูแลตัวเองให้ลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรดังนี้

 

1. เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

อาหารที่ดีของคุณแม่ต้องอุดมด้วยธาตุเหล็กและโฟเลต เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย

 

2. ดื่มน้ำสะอาดให้มาก

ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม คนเราควรดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ยิ่งคุณแม่ท้องควรดื่มน้ำวันละ 10-12 แก้ว เพื่อให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น แบ่งดื่มได้ทั้งวัน อย่าดื่มรวดเดียว เพราะน้ำนั้นจะนำสารอาหารจากแม่ไปสู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ควรมีขวดน้ำไว้ใกล้ตัวเสมอจะได้ไม่ต้องลุกเดินไปดื่มน้ำบ่อยๆ

 

3. รับประทานยาและวิตามิน

ปกติแพทย์จะตรวจร่างกายของคุณแม่ว่า ขาดสารอาหาร วิตามินแร่ธาตุอะไรบ้าง หมั่นรับประทานตามแพทย์สั่งให้ครบ โดยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญมาก คือ กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และแคลเซียม จะช่วยบำรุงคุณแม่และคุณลูก ต้านทานโรคและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

 

 

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เช้าๆ คุณแม่ลองเดินออกกำลังกายช้าๆ รอบบ้าน หาเวลาว่างไปว่ายน้ำ ซึ่งว่ากันว่าจะทำให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น หรือลองแกว่งแขนไปมาเช้า กลางวัน เย็น แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์แฝด ลองปรึกษาคุณหมอว่าสามารถออกกำลังกายด้วยวิธีใดได้บ้างจะได้ปลอดภัย

 

5. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่

พยายามอย่าติดโซเชียล ดูซีรีส์แก้เหงาจนเพลินค่ะ ยิ่งคุณแม่นอนมากเท่าไร ร่างกายก็จะแข็งแรงมากขึ้น และระหว่างวันพยายามหากิจกรรมทำที่ผ่อนคลาย เพื่อให้นอนหลับได้สนิท ชวนคุณพ่อเล่นเกมบอร์ดสนุกๆ หรือฟังเพลงเพลินๆ พร้อมกับอ่านหนังสือดีๆ สักเล่มค่ะ

 

6. คุณแม่ท้องห้ามเครียด

เตือนไว้เสมอว่า ความเครียดเป็นอันตรายกับลูกในท้อง หากคุณแม่ท้องกังวลหรือเครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและรกเกิดการหดตัว ตรงนี้แหละที่อาจทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลงได้

 

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ท้องหรือผู้หญิงไม่ว่าจะวัยใด ควรใส่ใจเรื่องปากมดลูกเป็นสำคัญ เนื่องจากฮอร์โมนของผู้หญิงสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ทุกเดือน ขณะมีประจำเดือน บางคนเลือดออกมาก ออกน้อย ก็ยังขึ้นอยู่กับความเครียดที่สะสมจนส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ยิ่งกับผู้หญิงตั้งครรภ์ด้วยแล้ว การเปลี่ยนแปลงในร่างกายนั้นเกิดแทบทุกวันขณะที่อุ้มท้อง ซึ่งอยากให้คุณแม่หมั่นดูแลสุขภาพ และสังเกตร่างกายตนเองทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ ช่องคลอด เพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติ และคอยบันทึกไว้ หากต้องหาหมอ คุณแม่จะได้นำบันทึกนั้น ให้คุณหมอดูเพื่อประกอบการวินิจฉัยค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?

สัญญาณเตือนการเป็น มะเร็งปากมดลูก

วิธีทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว หลังคลอดมดลูกเข้าอู่กี่วัน

ที่มา : hellokhunmor , Amarinbabyandkids , becomemom

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan