วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดีอย่างไร ใครบ้างที่ควรฉีด และต้องฉีดบ่อยแค่ไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนึ่งในโรคที่มาพร้อมกับฝน ฟ้า อากาศที่แปรปรวน คงจะหนี้ไม่พ้น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่เป็นกันอยู่ทุกปี อยู่กับมันจนชิน แต่สามารถป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีน วันนี้เราจะพาไปดู สาระดี ๆ เกี่ยวกับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ว่าดีอย่างไร ใครบ้างที่ควรฉีด และต้องฉีดบ่อยแค่ไหน

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว ซึ่งจะผ่านกระบวนการผลิต ที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และลดความรุนแรงของโรค เมื่อผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อ แต่แม้จะเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังคงมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มี่กีชนิด ?

ปัจจุบัน วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้

  1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์
  2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

วัคซีนชนิด ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนที่ป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้มากกว่า และครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ได้ทั้ง H1N1 และ H1N3 ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการป้องกัน และลดความรุนแรง ของเชื้อไวรัสได้ ช่วยลดความเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : Thonburi Hospital channel

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ดีอย่างไร ?

  1. ช่วยกระตุ้น พร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย
  2. ช่วยลดความเสี่ยง การเกิดภาวะแทรกซ้อน เมื่อเป็นโรค
  3. ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต จากโรคไข้หวัดใหญ่
  4. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการรักษา หรือ นอนโรงพยาบาล
  5. ช่วยปกป้องผู้ป่วยจากความเสี่ยงโรคติดเชื้อ
  6. ช่วยป้องกัน และ ลดการแพร่กระจายของโรค

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึง 3 ปี
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้พิการทางสมอง
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีโรคอ้วน หรือ น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์
  • ผู้ป่วยโรคร้ายแรง ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคหอบหืด โรคปอดอุดตันเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง เป็นต้น

 

เด็กเล็กที่มีอายุ 6 เดือน เป็นต้นไป ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผู้ที่ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ไข่ไก่ หรือ ไก่ อย่างรุนแรง
  • ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้มาก่อน
  • ผู้ที่มีไข้ หรือ ป่วยเฉียบพลัน

 

ควรฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูฝน และฤดูหนาว เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ จะเกิดการระบาดในช่วงดังกล่าว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ต้องฉีดซ้ำหรือไม่ ?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดซ้ำในทุก ๆ ปี เพื่อการป้องกันอย่างต่อเนื่อง และสำหรับเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 9 ปี ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในปีแรก 2 เข็ม โดยให้เว้นระยะเวลา จากเข็มที่ 1 กับ เข็มที่ 2 เป็นเวลา 1 เดือน

 

อาการข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาจมีผลข้างเคียงได้ ดังนี้

  • ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  • มีไข้อ่อน ๆ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • มีอาการไอ
  • มีน้ำมูกไหล
  • มีอาการเจ็บคอ

ในบางรายอาจพบอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น หายใจไม่คล่อง หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการร้ายแรง ควรพบแพทย์โดยด่วน หากมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด ให้ทำการประคบเย็น หากมีไข้ ให้รับประทายาลดไข้ได้ แต่หากมีอาการที่รุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

 

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีการระบาดทุกปี ในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง และลดความรุนแรงของโรค เราจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในทุก ๆ ปี เป็นประจำ นอกจากจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค ยังสามารถช่วยลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรค ได้อีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่เป็นไข้หวัดใหญ่ ให้นมลูก ได้ไหม กินยาต้านไวรัสตัวไหน ไม่อันตราย

ไซนัสอักเสบ อาการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้เป็นอย่างไร โรคภูมิแพ้สามารถรักษาได้อย่างไร สาเหตุของโรคภูมิแพ้คืออะไร?

ที่มา : thonburihospital,sikarin

บทความโดย

Waristha Chaithongdee