เด็กทารกช่วงอายุ 7 ถึง 9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยช่วง 7-9 เดือน ลูกน้อยจะให้ความสนใจกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งของที่เขาไม่ควรเข้าใกล้ การนำลูกให้ออกห่างจากสิ่งอันตรายจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคุณ เด็กในวัยนี้จะเริ่มอยากรู้อยากเห็นและพัฒนาความชอบที่มีต่อสิ่งของ เช่น ของเล่นหรืออาหารต่าง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกช่วงอายุ 7 ถึง 9 เดือน

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยมีอายุครบ 7 เดือน ลูกจะเริ่มหยิบจับของและโยนทิ้ง เด็กจะกระตือรือร้น ว่องไวมากขึ้นและต้องการพื้นที่มากขึ้นเพื่อเล่นและเคลื่อนตัวไปมา นั่นหมายถึงว่าจะมีงานหนักรอคุณอยู่ ในช่วงนี้การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในบ้านจะเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นแบบรวดเร็ว เด็ก ๆ จะคลานและเริ่มเรียนรู้ศัพท์คำว่า “ไม่”

การป้อนอาหารลูก

คุณอาจเริ่มให้ลูกทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ และถึงตอนนี้ลูกก็พร้อมที่จะลองอาหารที่มีรสชาติบ้างแล้ว รสชาติต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กสนใจในอาหารขึ้น ช่วงวัยนี้เด็กพร้อมที่จะทานอาหารในแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้เขาพัฒนาทักษะการเคี้ยว คุณอาจให้ลูกทานนมตามเพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารไปด้วยในตัว

เพื่อส่งเสริมนิสัยการทานที่ดี ควรทำให้แต่ละมื้ออาหารกลายเป็นกิจวัตร เช่น ให้ลูกนั่งบนเก้าอี้ส่วนตัวของเขาเอง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมลูกน้อยได้ที่นี่

ดูภาษาท่าทางที่ลูกน้อยใช้สื่อสาร อย่างเช่น ลูกกำลังบอกคุณว่าพวกเขาต้องการทานด้วยการใช้มือป้อนอาหารด้วยตัวเอง และนี่คือเวลาที่เหมาะที่คุณจะให้ลูกเริ่มใช้มือทานอาหารเพื่อช่วยให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อในช่องปากด้วย และข้อดีที่ให้ลูกทานด้วยตัวเองคือ ลูกอาจทานได้มากขึ้นหากใช้วิธีนี้แม้ว่าเด็ก ๆ อาจจะทานเลอะเทอะก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

พัฒนาการลูกน้อย 7-9 เดือน

เตรียมพร้อมสำหรับการเล่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการลูกน้อยในช่วงอายุ 7-9 เดือนนี้ ลูกคุณจะสนใจกับทุกสิ่งรอบตัว แต่ไม่ต้องกังวลหากลูกจะไม่ค่อยคลานแต่จะเคลื่อนที่โดยใช้ก้นไถไปรอบ ๆ แทน

เปลี่ยนบ้านให้เป็นสนามเด็กเล่นที่น่าตื่นเต้น อย่าลืมใช้ที่กันกระแทกเพื่อให้เด็ก ๆ ได้คลานและเคลื่อนตัวไปมาได้รอบ ๆ บ้าน สิ่งนี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเด็กแข็งแรงทั้งยังช่วยส่งเสริมธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย

ในตอนนี้ลูกน้อยสามารถรับน้ำหนักบนขาได้มากขึ้น ลูกจะดีดตัวขึ้นลงบนหน้าตักคุณ ส่วนหนึ่งของสมองลูกน้อยเริ่มสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวหรือการประสานงานของการเคลื่อนไหวร่างกายได้แล้ว เด็ก ๆ สามารถพัฒนาการควบคุมร่างกายส่วนคอ ไหล่ หน้าอก และร่างกายช่วงล่าง ดังนั้นช่วงนี้ก็เป็นการพัฒนาการของร่างกายช่วงล่าง มือและเท้า

ร่างกายท่อนบนของทารกช่วงนี้แข็งแรงมากพอที่จะนั่งได้เองโดยที่คุณไม่ต้องช่วย ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณสามารถให้ลูกนั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก เพื่อร่วมทานอาหารกับครอบครัวได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำให้ลูกไม่โยนของ

การประสานงานและการรับรู้

อย่ากังวลไปหากลูกคุณเริ่มที่จะชอบทำของหล่นหรือโยนของไปทั่วห้อง เด็กทารกวัยนี้กำลังเรียนรู้ที่จะปล่อยของให้หลุดจากมือและกำลังสนุกกับการฝึกความสามารถใหม่ที่เพิ่งได้มา

ในช่วงนี้เด็กอาจจะเริ่มมีความรู้สึกเล็กน้อยเกี่ยวกับ “ความวิตกกังวลจากการแยกจาก”  เด็กจะเริ่มกลัวและติดคุณแจเมื่อคุณทำท่าทีว่ากำลังจะไป ถึงแม้ว่าคุณอาจจะแวบออกจากห้องไปแค่ช่วงสั้น ๆ ก็ตาม

การทำตามชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ จะช่วยให้ลูกคลายความกลัวนี้ได้ ไม่ว่าจะให้เด็กได้ดูดนมจากขวดขณะเดินเล่นหรือการเตรียมของว่างในช่วงนอนพัก การทำให้สิ่งต่าง  ๆ ดูควบคุมและคาดการณ์ได้จะทำให้เด็กรับรู้สึกถึงความมั่นคง ปลอดภัย

การเล่นซ่อนหากับลูกอาจช่วยเรื่อง “ความวิตกกังวลจากการแยกจาก” ได้ เด็ก ๆ ไม่มีวันเบื่อเกมซ่อนหา ถึงแม้ว่าคุณจะเบื่อไปแล้วก็ตาม ลองนำของเล่นที่ลูกชอบที่สุดไปแอบ แล้วให้ลูกได้ลองหาดูสิ

พูดไม่เป็นคำและคำพูดหลาย ๆ คำ

ทารกวัยนี้จะเริ่มจำชื่อตัวเองได้ และจะหันมาเมื่อคุณเรียกถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังพูดไม่ได้ คำพูดอ้อแอ้ที่เด็ก ๆ พูดจะเริ่มออกเสียงฟังคล้ายคำพูดเมื่อเด็กพูดซ้ำ ๆ จากเสียงที่เขาได้ยินบ่อย ๆ

ในตอนนี้หากลูกเริ่มพูด “มามา” หรือ ”ดาดา” นั่นคือเด็กกำลังพูดถึงสองคนพิเศษในชีวิตของเขา แม้จะเหมือนว่าลูกพูดไปเรื่อยก็ตาม เด็กไม่อายที่จะให้คุณรู้ว่าเขาคิดอะไร เด็กจะพูดอ้อแอ้ หัวเราะ ร้องเสียงแหลม หรือ กรีดร้อง เด็กยังเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่” แม้ว่าจะไม่ทำตามก็เหอะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก

การเรียนรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกคุณจะเริ่มมีส่วนร่วมในเวลาที่คุณอ่านให้ลูกฟัง อยากจะเปลี่ยนหน้า ฟังเสียงคุณใกล้ ๆ และตั้งใจดูสีสันของภาพ แต่อาจต้องใช้เวลาซักพักลูกถึงสามารถเชื่อมโยงรูปภาพให้เข้ากับคำบรรยายที่คุณอ่านให้ฟัง หนังสือเกี่ยวกับสัตว์นั้นเหมาะกับเด็กในวัยนี้มาก และยังช่วยให้เด็กสนใจที่เรียนรู้เสียงใหม่ ๆ อีกด้วย

ในช่วงเวลานี้ สิ่งแวดล้อมที่ธรรมดา ๆ ในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือในร่มก็สามารถสร้างความตื่นเต้นให้ลูกน้อยได้ การคลานใต้โต๊ะ เปิดและปิดประตู การมองออกนอกหน้าต่างและเรียกชื่อสิ่งของที่คุณเห็นจะช่วยส่งเสริมธรรมชาติการเรียนรู้ให้ลูกได้

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team