ใครที่ชอบ กินไอศกรีม เป็นประจำต้องร้องว้าว เมื่อมีอยู่ ๆ ก็มีวิจัยบอกว่ากินไอศกรีมในช่วงเช้าจะทำให้ตื่นตัว อารมณ์ดี แถมยังช่วยให้ฉลาดขึ้นอีกด้วย หลาย ๆ คนอาจสงสัยและต้องการหาคำตอบ วันนี้เราได้รวบรวมทุกข้อสงสัยมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย !
กินไอศกรีม ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวอารมณ์ดีจริงหรือ ?
โยชิฮิโกะ โคกะ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคียวริน (Kyorin) ได้ทดลองในหัว ทำไมคนเราต้องกินไอศกรีมทันทีหลังจากที่ตื่นนอนตอนเช้า โดยเขาได้ทำแบบสอบถามในระบบอินเทอร์เน็ต แล้วพบว่า กลุ่มอาสาสมัครของอาจารย์โคกะ ที่กินไอศกรีมแล้วมีการตอบสนองต่อความสามารถ
ซึ่งจากการวัดจากคลื่นสมองของอาสาสมัครผู้ทดลองกินไอศกรีมในมื้อเช้าพบว่า คลื่นความถี่อัลฟามีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มระดับของความตื่นตัว และยังช่วยทำให้ใจเย็นได้อีกด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า ผลของการทดสอบดังกล่าวไม่ได้เป็นผลจากที่สมองถูกดึงให้ตื่นตัวจากการกินไอศกรีมเท่านั้น ศาสตราจารย์โคกะ จึงได้เริ่มทำการทดลองอีกครั้ง ซึ่งทำซ้ำกับกลุ่มตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนจากไอศกรีมมาเป็นน้ำเย็นแทน
ผลออกมาว่า หลังจากที่กินน้ำก็มีการตื่นตัวขึ้น และอารมณ์ดีขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบกับไอศกรีมแล้ว ศักยภาพโดยรวมของคนที่กินน้ำเย็นตอนเช้าก็ยังต่ำกว่าคนที่กินไอศกรีมตอนเช้าอยู่ดี
ไฮกรีมมีผลทางอารมณ์ได้อย่างไร ?
ศาสตราจารย์โยชิฮิโกะ เป็นอีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญด้านจิตสรีรวิทยา จากผลการศึกษาของเขาส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักไปที่เรื่องของการเชื่อมโยงประเภทอาหารและการช่วยลดความเครียด นอกจากนี้โคกะยังศึกษาเรื่องอาหารหลากหลายที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ถึงจะยังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน แต่งานวิจัยอื่น ๆ ก็กล่าวกันว่า ไอศกรีมช่วยปลดล็อกอารมณ์ในทางที่ดี และช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกายรู้สึกดีได้
เคที บาร์ฟุต นักวิจัยเอกจิตวิทยาโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง ได้กล่าวว่า ผลวิจัยที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ของการที่จะทำให้ร่างกายนั้นตื่นตัวและกระฉับกระเฉง นั่นก็คือการกินอาหารเช้า และไม่กินมากจนเกินไป เนื่องจากสมองของเราต้องการกลูโคสเพื่อใช้ในการทำงาน อาหารที่มีกลูโคสสูงก็จะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมองที่ขาดอาหาร
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไอศกรีม ช่วยบรรเทาปวดแผลหลังคลอดได้ยังไงนะ
ทำไมเวลากินไอศกรีมแล้วช่วยให้รู้สึกดี ?
เช่นเดียวกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางแห่ง ที่มีการศึกษาว่า ไอศกรีมส่งผลดีต่ออารมณ์ทำให้รู้สึกดี เมื่อได้กินไอศกรีมรสหวานเย็นฉ่ำ ซึ่งไอศกรีมที่ทำให้สมองเปิดจุดของความสุข นั่นก็คือไอศกรีมรสวานิลลา เนื่องจากมีรสชาติที่หวานละมุน และให้ความสดชื่น
10 ประโยชน์ของไอศกรีม ที่เห็นแล้วต้องร้องว้าว !
- ช่วยลดอาการปวดศีรษะ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดี อารมณ์ดีตลอดเวลา เนื่องจากไอศกรีมมีฤทธิ์กระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองผ่อนคลาย
- ช่วยลดความเครียด ป้องกันภาวะตึงเครียด กระตุ้นให้การทำงานของสมอง ค่อย ๆ ลดระดับความเครียดลง ทำให้สมองค่อย ๆ ผ่อนคลาย และรู้สึกดีขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมได้ บำรุงกระดูกและฟันได้ เนื่องจากในไอศกรีมประกอบด้วยนมเป็นส่วนใหญ่ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
- เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย เนื่องจากไอศกรีมเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกาย เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย หรือไม่มีแรง ไอศกรีมช่วยได้
- ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด เนื่องจากไอศกรีมอุดมไปด้วยวิตามินเค
- ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในไอศกรีม มี lactoferrin และ cytokines เป็นตัวที่ช่วยให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค ไวรัส รวมถึงไข้หวัดใหญ่ได้
- กระตุ้นให้มีบุตรง่าย เนื่องจากการกินไอศกรีม จะช่วยลดความเสี่ยงของการมีบุตรยากมากถึง 38 %
- ช่วยลดความดันโลหิต เพราะในไอศกรีมมีโพแทสเซียมอยู่
- ซ่อมแซมร่างกาย ส่วนที่สึกหรอ เนื่องจากไอศกรีมอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ
หากเจอสารเคมีเหล่านี้ในไอศกรีมไม่ควรกินเด็ดขาด !
- ไดเอตทิลกลูคอล : สารเคมีที่ใช้สำหรับตีไขมันให้กระจายแทนการใช้ไข่ ส่วนใหญ่จะใช้ในน้ำยากัดสี และเป็นสารที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้น้ำแข็งละลายเร็ว
- อัลดีไฮด์ – ซี 71 : เป็นสารเคมีที่ไม่ค่อยพบในประเทศไทยเท่าไหร่นัก แต่สารชนิดนี้ช่วยในเรื่องของการสร้างกลิ่น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำไปใช้ทำสีอะนิลีน พวกพลาสติกและยาง
- ไปเปอร์โอรัล : ในการทำไอศกรีมจะนำเอาสารตัวนี้ มาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ไอศกรีมมีกลิ่นวานิลลา แต่สารเคมีชนิดนี้เป็นสารเคมีที่ใช้ในการใช้ฆ่าเหา และเห็บหมัด
- เอตทิลอะซีเอต : สารเคมีที่ใช้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผ้า หนัง โดยสารนี้จะให้กลิ่นเหมือนสับปะรด และสารชนิดนี้ ยังอันตรายและมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคปอดเรื้อรัง และหัวใจเต้นผิดปกติได้
- บิวทีรัลดีไฮด์ : สารตัวนี้จะช่วยทำให้ไอศกรีมมีกลิ่นของพืชเมล็ดเปลือกแข็ง หรือมีกลิ่น ถั่วต่าง ๆ โดยสารชนิดนี้นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม ใช้ทำกาวยาว
- แอนิลอะซีเตต : สารตัวนี้จะทำให้ไอศกรีมมีกลิ่นคล้ายกล้วยหอม ซึ่งความจริงแล้วนิยมใช้สารตัวนี้สำหรับทำลายล้างไขมัน
- เบนซิลอะซีเตต : สารที่ทำให้ไอศกรีมมีกลิ่นของสตรอว์เบอร์รี เป็นสารที่ทำให้เกิดความอยากอาหารตลอดเวลา
- สารให้ความหวาน น้ำตาลเทียม : สารแซกคารีน ถ้าใช้สารตัวนี้ปริมาณมากจะทำให้ผู้บริโภคเกิดโรคมะเร็งได้
แต่ทั้งนี้ ควรรับประทานไอศกรีมในปริมาณที่เหมาะสม ไม่งั้นอาจจะส่งผลเสียแก่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ และควรเลือกไอศกรีมที่มีส่วนผสมของผลไม้ และนมแท้ ถึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าไอศกรีมที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัว เพราะไขมันอิ่มตัวสูงจะมีความอันตราย และเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
รวม 10 ร้านไอศกรีมโฮมเมดในกรุงเทพ ร้านเด็ด คลายร้อน
10 ร้านไอศกรีม เดลิเวอรี่ ร้อน ๆ แบบนี้ กินไอศกรีมให้ชื่นใจ กันเถอะ !
ไอศกรีม กินแล้วดียังไง? ประโยชน์ใกล้ตัวที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
ที่มา : sukkaphap-d themomentum